ทหารและพลเรือนควรต้องยึดโยงซึ่งกันและกัน เพื่อไม่ให้ทหารกับประชาชนขัดแย้งกันเอง

ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยเรามีอำนาจสามฝ่ายถ่วงดุลกันคือ อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ และกระบวนการเหล่านี้จะตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน แต่ทว่าในสังคมไทย "ทหาร" พยายามเป็นขั้วอำนาจที่สี่ และมีอำนาจตุลาการอยู่ในมือของตัวเอง ไม่ได้ขึ้นตรงอยู่กับฝ่ายบริหาร ปัญหาที่ตามมาก็คือ "ทหาร" พยายามจะมีบทบาทในการบริหารประเทศแข่งกับรัฐบาลพลเรือน ทำให้การบริหารประเทศขาดความเป็นเอกภาพ 

ทั้งนี้ ภัควดี วีระภาสพงษ์ หนึ่งในผู้รณรงค์ให้ปฏิรูปกองทัพ เสนอว่า ทหารต้องยอมรับอำนาจสูงสุดในการกำหนดนโยบายแห่งชาติจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง กองทัพควรเลิกใช้แนวคิดแบบยุคสงครามต่อต้านคอมมิวนิสต์ เลิกหวาดระแวงประชาชน อย่ามองประชาชนเป็นศัตรู อย่ามองประชาชนเป็นเพียงผู้อยู่ใต้อาณัติที่กองทัพต้องคอยชี้ซ้ายชี้ขวา  กองทัพควรเข้าใจแนวคิดของ “รัฐประชาชาติ”  รัฐที่คนทุกคนร่วมกันเป็นเจ้าของ ไม่ว่าคนคนนั้นจะยากดีมีจนแค่ไหน ทุกคนต้องได้เป็นเจ้าของประเทศร่วมกัน มีสิทธิ์มีเสียงมีอำนาจในการกำหนดชะตากรรมตัวเองร่วมกัน กองทัพไม่ควรกีดกันประชาชนจากความเป็นเจ้าของประเทศ ไม่ควรหวงประเทศจากประชาชนของตัวเอง

ที่มา : ประชาไท http://www.prachatai.com/journal/2015/05/59480

เห็นด้วย

แสดงความเห็น