มติรัฐธรรมนูญ

ให้มี คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 791 คน
เห็นด้วย 186ไม่เห็นด้วย 605

กมธ.ยกร่างรธน.กำหนดให้มี "คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ" จำนวน 23 คน มีที่มา 3 ส่วน คือ หนึ่ง มาจากประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา นายกฯ ประธานศาลฎีกา และผู้บัญชาการทหารทุกเหล่าทัพ กับตำรวจ สอง มาจากผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา นายกฯ ประธานศาลฎีกา เลือกกันเอง สาม ผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน 11 คน จากมติรัฐสภา มีอำนาจพิเศษสั่งการ ระงับยับยั้ง หรือกระทำการใดๆ ได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติหรือในทางบริหาร ฝ่ายสนับสนุนมองนี้จะช่วยแก้ปัญหามาเกิดวิกฤตรัฐบาล ฝ่ายคัดค้านการแก้วิกฤตต้องให้ประชาชนตัดสิน

ครม.ชุดปัจจุบัน เลือก ส.ว.ชุดแรก เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 503 คน
เห็นด้วย 81ไม่เห็นด้วย 422

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดมีประเด็นสำคัญคือ บทเฉพาะกาลเรื่องการกำหนดที่มาให้ ส.ว.สรรหา ชุดแรก จำนวน 123 คน มาจากการคัดเลือกของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นโดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดปัจจุบัน โดย “ฝ่ายสนับสนุน” เห็นว่าการให้อำนาจ ครม.ชุดปัจจุบันเป็นผู้สรรหา จะช่วยสนับสนุนภารกิจของรัฐบาลในการปฏิรูปประเทศ ร่วมกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ ขณะที่ “ฝ่ายคัดค้าน” เห็นว่าน่าจะเป็นการสืบทอดอำนาจโดยไม่มีข้อห้ามให้ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดำรงตำแหน่ง

นิรโทษกรรมคณะรัฐประหาร เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 801 คน
เห็นด้วย 147ไม่เห็นด้วย 654

ภายหลังการยึดอำนาจ คณะรัฐประหารจะเขียนบทบัญญัติเพื่อยกเว้นความผิดของการรัฐประหารและรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายของประกาศหรือคำสั่งของคณะรัฐประหารด้วย การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ก็เช่นกัน โดยมีการบัญญัติไว้ในมาตรา 285 ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด ที่เพิ่งเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ อย่างไรก็ตาม ผู้คัดค้านเห็นว่า การนิรโทษกรรมคณะรัฐประหารเป็นเรื่องผิดหลักการประชาธิปไตย และจะเป็นตัวอย่างให้มีผู้ทำรัฐประหารอีกในอนาคต ขณะที่ผู้สนับสนุนเห็นว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะต้องป้องกันการถูกฟ้องร้องในภายหลัง

ให้มีรัฐบาลปรองดองแห่งชาติ เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 520 คน
เห็นด้วย 105ไม่เห็นด้วย 415

มีข้อเสนอจากกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญให้ “รัฐบาลปรองดองแห่งชาติ” เป็นคำถามสำหรับการทำประชามติ ควบคู่กับการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในคราวเดียวกัน หากเรื่องรัฐบาลปรองดองผ่านการเห็นชอบจากประชาชน จะมีการกำหนดในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญให้จัดตั้ง “รัฐบาลปรองดองแห่งชาติ” โดยต้องใช้เสียง ส.ส. สนับสนุน 4 ใน 5 จาก 450 คน หรือ ต้องใช้เสียง 360 คน ส่วนที่เหลือเป็นฝ่ายค้าน และจะบริหารประเทศในช่วงเวลาประมาณ 4-5 ปี เพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปและการปรองดองร่วมกัน

การจัดเก็บ “ภาษีบาป” เพื่ออุดหนุนกิจการเฉพาะ (Earmarked Tax) เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 335 คน
เห็นด้วย 141ไม่เห็นด้วย 194

การจัดเก็บภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (Earmarked Tax) คือ การจัดเก็บภาษีเป็นการพิเศษ เพื่อนำไปใช้สำหรับวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งเป็นการเฉพาะ ในประเทศไทย มีหน่วยงานที่ได้รับเงินอุดหนุนจากการจัดเก็บ Earmarked Tax ที่โดดเด่นอยู่ 2 องค์กร จนได้รับฉายาว่าเป็นหน่วยงานที่ได้รับรายได้จาก “ภาษีบาป” ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถานีโทรทัศน์ ThaiPBS ในการร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังดำเนินอยู่ เคยมีผู้เสนอว่า จะให้มีบทบัญญัติห้ามการจัดเก็บ Earmarked Tax อย่างเด็ดขาด และสำหรับ 2 องค์กรข้างต้น ก็จะให้ดำเนินการต่อไปได้อีก 4 ปีเท่านั้น

คสช. เลื่อน #roadmap2 เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 550 คน
เห็นด้วย 171ไม่เห็นด้วย 379

คสช. และ ครม. มีข้อสรุปว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ด้วยกัน 7 ประเด็น ซึ่งส่งผลให้ road map เดิมของ คสช.ต้องเปลี่ยนไป เช่น ขยายเวลาให้กรรมาธิการยกร่างฯแก้ไขเพิ่มแต่ไม่เกิน 30 วัน เมื่อ สปช.ได้ลงมติในร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ไม่ว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบก็ตาม ถือว่าภารกิจเสร็จสิ้นลงแล้ว และให้ตั้ง สภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศขึ้นมาแทนซึงอาจจะเป็นตัวแทนจากสภาปฎิรูป และไม่ว่า กมธ.ยกร่างฯจะสิ้นสุดด้วยกรณีใด (สปช.ไม่เห็นชอบ-ลงประชามติไม่ผ่าน) นายกรัฐมนตรีจะตั้ง 'คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ' จำนวน 21 คน ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ โดยคณะกรรมการชุดนี้จะมีเวลาร่างรัฐธรรมนูญใหม่จำนวน 180 วัน ก่อนไปลงประชามติใหม่

ให้มี คณะกรรมการดำเนินการแต่งตั้งข้าราชการโดยระบบคุณธรรม เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 763 คน
เห็นด้วย 184ไม่เห็นด้วย 579

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กำหนดให้มี “คณะกรรมการดำเนินการแต่งตั้งข้าราชการโดยระบบคุณธรรม” จำนวน 7 คน ขึ้นมา เพื่อพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในระดับปลัดกระทรวง หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่าปลัดกระทรวง กลายเป็นประเด็นร้อนที่ก่อให้เกิดการถกเถียงกันอย่างมาก เพราะเท่ากับเป็นการ “ตัดอำนาจ” ในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูงซึ่งเดิมเป็นอำนาจเต็มของฝ่ายบริการที่มีที่มาจากการเลือกตั้ง

 

ร่างรัฐธรรมนูญสร้างกลไกกำกับนโยบายของรัฐบาล เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 516 คน
เห็นด้วย 151ไม่เห็นด้วย 365

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2558 ได้ออกแบบกลไกใหม่ๆ ขึ้นมากำกับหรือตีกรอบการกำหนดนโยบายของรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี โดยกำหนดห้ามใช้นโยบายประชานิยม กำหนดกรอบการปฏิรูป 15 ด้าน ไว้ในหมวด 4 และกำหนดให้รัฐบาลต้องทำตามข้อเสนอของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ ด้านหนึ่งก็เป็นป้องกันการใช้นโยบายประชานิยมที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศ และเป็นการสานต่อแนวทางการปฏิรูปประเทศให้มีความต่อเนื่อง อีกด้านหนึ่งอาจมองได้ว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะขาดอิสระในการดำเนินนโยบาย และองค์กรที่มากำกับนโยบายก็ไม่ยึดโยงกับประชาชน

ให้มีศาลปกครองแผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณ คุณเห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 1002 คน
เห็นด้วย 327ไม่เห็นด้วย 675

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กำหนดให้ศาลปกครองจัดตั้ง “แผนกคดีวินัยการคลังและการงบประมาณ” ขึ้นมา เพื่อตรวจสอบและยับยั้งการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่งบประมาณหรือเงินของแผ่นดิน โดยเบื้องต้นผู้ที่มีสิทธิในการส่งฟ้องคดี จะมีทั้ง คตง. ป.ป.ช. และประชาชนทั่วไป ซึ่งด้านหนึ่งก็มีเสียงชื่นชมว่าจะช่วยแก้ปัญหาฝ่ายการเมืองที่มักจะใช้นโยบายประชานิยมที่ส่งผลเสียต่องบประมาณประเทศและทำให้การตรวจสอบทุจริตครอบคลุมมากขึ้น แต่อีกด้านก็มีเสียงวิจารณ์ว่า จะทำให้ฝ่ายตุลาการมีอำนาจเหนือฝ่ายบริหาร และทำให้รัฐบาลทำงานยากลำบากมากขึ้น ไม่มีใครกล้าคิดนโยบายที่ต้องใช้เงินช่วยเหลือประชาชน

ตั้งคณะกรรมการเสริมสร้างความปรองดอง เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 977 คน
เห็นด้วย 278ไม่เห็นด้วย 699

ตามเจตนารมณ์ข้อที่ 4 ของการร่างรัฐธรรมนูญคือการนำชาติสู่สันติสุข ได้กำหนดเนื้อหาในภาค 4 หมวด 3 ให้มีคณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติ ประกอบด้วยกรรมการไม่เกิน 15 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่เป็นฝักฝ่ายทางการเมืองหรือความขัดแย้ง และผู้ซึ่งเป็นผู้นำความขัดแย้ง ขึ้นมาทำหน้าที่หาสาเหตุแห่งความขัดแย้ง และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไข เป็นคนกลางในการประสานความขัดแย้ง รวมถึง เสนอให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษแก่บุคคลซึ่งให้ความจริงอันเป็นประโยชน์และได้แสดงความสำนึกผิดต่อคณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติ เป็นต้น

Pages