ให้มีรัฐบาลปรองดองแห่งชาติ เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 520 คน
เห็นด้วย 105ไม่เห็นด้วย 415

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และเอนก เหล่าธรรมทัศน์ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ  ได้เสนอให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญมีข้อเสนอถึงสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ลงมติให้ “รัฐบาลปรองดองแห่งชาติ” เป็นคำถามสำหรับการทำประชามติ ควบคู่กับการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในคราวเดียวกัน ทั้งนี้หากคำถามเรื่องรัฐบาลปรองดองแห่งชาติผ่านความเห็นชอบจากประชาชนในการทำประชามติ จะมีการกำหนดในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญให้จัดตั้ง “รัฐบาลปรองดองแห่งชาติ” โดยต้องใช้เสียง ส.ส. สนับสนุน 4 ใน 5 จาก 450 คน หรือ ต้องใช้เสียง 360 คน ส่วนที่เหลือเป็นฝ่ายค้าน และจะบริหารประเทศในช่วงเวลาประมาณ 4-5 ปี เพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปและการปรองดองร่วมกัน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2558 บัญญัติว่า ในการทำประชามติ สภาปฏิรูปแห่งชาติหรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะมีมติเสนอประเด็นอื่นใดที่สมควรให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพิ่มเติมพร้อมไปในคราวเดียวกันด้วย สภาละไม่เกินหนึ่งประเด็น หลังจากนั้นให้ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติหรือประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเสนอประเด็นดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา หากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบกับประเด็นใด ให้แจ้งคณะกรรมการการเลือกตั้งทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับมติของสภาปฏิรูปแห่งชาติหรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยในการลงมติของสภาปฏิรูปแห่งชาติในเรื่องดังกล่าวให้กระทําในวันเดียวกับการมีมติให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ในส่วนของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้มีมติภายในสามวันนับแต่วันที่สภาปฏิรูปแห่งชาติมีมติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ

 

สถานะการเปิดให้โหวต: 
ปิดการโหวต

แสดงความเห็น

ประเด็นสนับสนุน

เปิดทางให้เอาคนที่ไม่ใช่คู่ขัดแย้งมาทำงานร่วมกันมากขึ้น หลีกเลี่ยงการเอาคนที่มุ่งแต่จะเผชิญหน้าหรือสร้างความขัดแย้งมาจัดตั้งรัฐบาล และส่งเสริมให้มีการชวนเอา “คนดี” จากทุกฝ่ายมาร่วมกันทำงานเพื่อชาติ

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 0 0 ความเห็น

ตัวอย่างเช่น ในประเทศอังกฤษ ช่วงสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างที่รบกับเยอรมัน ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลก็ร่วมกันตั้งรัฐบาลฉุกเฉินขึ้น ในเยอรมันปัจจุบันก็มีการนำพรรคใหญ่สองฝ่ายมาร่วมกันจัดตั้งเป็นรัฐบาล เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ในประเทศมาเลเซีย ทุกรัฐบาลจะต้องมีพรรคที่ประกอบด้วยชนชาติใหญ่ๆ ทั้งสามชนชาติ คือ มาเลย์ อินเดีย และจีน

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 0 0 ความเห็น

เพื่อให้รัฐบาลสามารถทำงานขับเคลื่อนการปฏิรูปได้ ดังนั้น ทั้งสองขั้วต้องประนีประนอมและปรองดองให้ได้ การมีรัฐบาลปรองดองแห่งชาติ เป็นทางเลือกที่ดีกว่าให้ฝ่ายหนึ่ง ขั้วหนึ่งมาเป็นรัฐบาล และอีกฝ่ายเคลื่อนไหวในท้องถนนในกลุ่มของฝ่ายค้านดังที่เกิดขึ้นในอดีต

Votes: ชอบ 0 ไม่ชอบ 1 0 ความเห็น

เพื่อให้ได้รัฐบาลที่เป็นพอใจและยอมรับจากคนในชาติในช่วงเปลี่ยนผ่านประมาณ 4-5 ปี ไม่ให้เกิดความขัดแย้ง แตกหัก นองเลือด เกิดความเสียหายใหญ่หลวงแก่บ้านเมือง จึงสมควรให้มีรัฐบาลปรองดองห่งชาติ

Votes: ไม่มีคะแนน 0 ความเห็น

ประเด็นคัดค้าน

หากสมมติว่าทั้งสองพรรคยินยอมร่วมกันจัดตั้ง “รัฐบาลปรองดองแห่งชาติ” สุดท้ายจะเลือกหัวหน้าพรรคใดเป็นนายกรัฐมนตรี ถึงที่สุดอาจจะนำไปสู่การที่มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ได้นายกรัฐมนตรีที่เป็นคนนอก

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 0 0 ความเห็น

ฝ่ายค้านมีจำนวนเพียง 1 ใน 5 จากจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ย่อมส่งผลให้การตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพ ในที่สุดอาจเปิดช่องให้มีการฮั้ว สมประโยชน์ เกิดการทุจริตร่วมกันทุกฝ่าย

Votes: ไม่มีคะแนน 0 ความเห็น

ตัวอย่างของ ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ที่ว่า หากในการทำประชามติ มีคนเห็นชอบเรื่องรัฐบาลปรองดอง 16 ล้านคน แต่หลังการเลือกตั้งมีพรรคใหญ่สองพรรค พรรค A ได้คะแนนเสียง 10 ล้านเสียง ส่วนพรรค B ได้ 8 ล้านคะแนน สองพรรคใหญ่รวมกัน 18 ล้าน ซึ่งตอนนี้จุดยืนของสองพรรคใหญ่คือ ไม่ต้องการรัฐบาลปรองดอง คำถามคือจะมีการนำเอาเสียงประชามติมาบังคับสองพรรคใหญ่ให้ร่วมเป็นรัฐบาลได้อย่างไร

Votes: ไม่มีคะแนน 0 ความเห็น