กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

บัณฑูร เศรษฐศิโรจน์: รัฐธรรมนูญไม่ผ่าน ครั้งต่อไปต้องไม่เหมือนเดิม

เว็บไซต์ประชามติเข้าพูดคุยกับ บัณฑูร เศรษฐศิโรจน์ อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ถึงสถานการณ์การมีส่วนร่วมของประชาชนบนโลกออนไลน์ปี 2558 อนาคตของร่างรัฐธรรมนูญและการออกเสียงประชามติ รวมทั้งทางออกหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องคว่ำไปอีกรอบ

ให้มีรัฐบาลปรองดองแห่งชาติ เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 520 คน
เห็นด้วย 105ไม่เห็นด้วย 415

มีข้อเสนอจากกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญให้ “รัฐบาลปรองดองแห่งชาติ” เป็นคำถามสำหรับการทำประชามติ ควบคู่กับการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในคราวเดียวกัน หากเรื่องรัฐบาลปรองดองผ่านการเห็นชอบจากประชาชน จะมีการกำหนดในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญให้จัดตั้ง “รัฐบาลปรองดองแห่งชาติ” โดยต้องใช้เสียง ส.ส. สนับสนุน 4 ใน 5 จาก 450 คน หรือ ต้องใช้เสียง 360 คน ส่วนที่เหลือเป็นฝ่ายค้าน และจะบริหารประเทศในช่วงเวลาประมาณ 4-5 ปี เพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปและการปรองดองร่วมกัน

บวรศักดิ์ เผย ขยายเวลาการทำงาน กมธ.ยกร่างฯ อีก 1 เดือน เป็นไปได้สูง

บวรศักดิ์ เผยภาพรวมการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญได้ข้อยุติหลายเรื่อง พร้อมยืนยันการตัดสิทธิ์ใบแดงของ กกต. พิจารณาดีแล้ว พร้อมชี้ควรขยายเวลาการทำงาน กมธ.ฯ อีก 30 วัน เพื่อความรอบคอบ

มอนิเตอร์แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ประจำสัปดาห์ที่ 6-10 ก.ค. 58

ความคืบหน้าในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ 6-10 ก.ค.2558 มีการแก้ไขการกำหนดให้มี ส.ว. ไม่เกิน 200 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจังหวัดละ 77 คน โดยไม่ต้องผ่านการคัดกรอง ส่วนอีก 123 คนยังคงมาจากการเลือกกันเองและการสรรหา พร้อมตัดอำนาจ ส.ว. ในเรื่องการเสนอกฎหมาย และการถอดถอนนักการเมืองออก ขณะที่เลือกตั้ง ส.ส. กำหนดให้ตัดการเลือกตั้งแบบ Open list และจัดทำระบบบัญชีรายชื่อเขตเดียวทั้งประเทศ จำนวน ส.ส. 450-470 คน

'บวรศักดิ์' ยอมถอย ทบทวนร่าง รธน.ใหม่

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ  ปาฐาถกฐาเรื่อง "รู้ลึก รู้ชัด กับอนาคตรัฐธรรมนูญ" กล่าว จะทบทวนร่างรัฐธรรมนูญใหม่ อาทิ การปรับจำนวน ส.ส. จากเดิม 250 คน อาจปรับเป็นส.ส.เขต 300 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 150 คน  และมีแนวโน้มว่าการคิด ส.ส.บัญชีรายชื่อ 6 ภาค อาจปรับเป็นแบบเดิมโดยใช้เป็นเขตประเทศ  เรื่องกลุ่มการเมืองก็มีแนวโน้มสูงที่จะเอาออก แต่จะให้มีการตั้งพรรคการเมืองง่ายขึ้น ส่วนหน้าที่ ส.ว.คิดว่าจะปรับในส่วนของการเสนอกฎหมายออกไป เป็นต้น

กมธ.ยกร่างรธน.เชื่อจะทบทวนที่มา กต.ศาลยุติธรรม

หลังจากผู้พิพากษา 1,380 คนยื่นจดหมายเปิดผนึกคัดค้านกรณีกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญอาจแก้ไขให้เพิ่มสัดส่วนกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจากคนนอกไม่น้อยกว่า 1 ใน 3  ล่าสุดไพบูลย์ นิติตะวัน  กรรมาธิการยกร่างฯ กล่าวว่าพร้อมจะนำความเห็นไปพิจารณา ทั้งนี้จากการพูดคุยกับกรรมาธิการฯ อย่างไม่เป็นทางการ เชื่อว่าน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เพราะส่วนใหญ่เห็นด้วยกับผู้พิพากษา

 
 

กมธ.ยกร่างฯ ชี้จำเป็นต้องมีกฎหมายคุมค่ายา-ค่ารักษาแพงเกินจริง ยอมรับมี สปช.เสนอตัดออก

สุภัทรา นาคะผิว กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงปัญหา รพ.เอกชน เก็บค่ารักษาแพงเกินจริง  จึงมีความจำเป็นที่ต้องให้มีกฎหมายเข้าไปแทรกแซง เช่น วงเล็บ 4 ในมาตรา 294 ของร่างรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามตอนนี้อยู่ระหว่างการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ มีหลายฝ่ายเสนอความเห็นให้ตัดวงเล็บ 4 ออก

เปิดตัวเว็บ “Citizen Forum” พลเมืองเห็นตรงกันรัฐธรรมนูญขาดการมีส่วนร่วม

เครือข่ายพลเมืองเสวนา เปิดตัวเว็บไซต์ www.citizenforum.in.th เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ และสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน ทั้งในรูปแบบ “ออนไลน์” และ “ออฟไลน์” โดยในงานมีตัวแทนจากภาคหลายภาคส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นกระบวนการมีส่วนร่วมในร่างรัฐธรรมนูญ  

คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ: แม่น้ำสายที่ห้าสู่รัฐธรรมนูญใหม่

วิษณุ เครืองาม เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญดั่งแม่น้ำ 5 สาย ซึ่งขณะนี้รัฐธรรมนูญให้กำเนิดแม่น้ำไปแล้ว 4 สาย  แต่ยังเหลือสายสุดท้ายคือ "กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ" โดยบทความชิ้นนี้จะเล่าถึงที่มาของกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ และขั้นตอนการร่างรัฐธรรมนูญ

ดาวน์โหลดร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2558

ดาวน์โหลดร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและสรุปเจตนารมณ์รายมาตราของร่างรัฐธรรมนูญฯ จากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฯ (อัพเดตเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2558) ได้ดังนี้

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 

Subscribe to RSS - กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ