นิรโทษกรรมคณะรัฐประหาร เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 801 คน
เห็นด้วย 147ไม่เห็นด้วย 654
ในขณะที่ทำการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ยังคงมีบทบัญญัติที่กำหนดให้รัฐประหารเป็นความผิดและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น ภายหลังจากที่ยึดอำนาจแล้ว คณะรัฐประหารจึงต้องเขียนบทบัญญัติเพื่อยกเว้นความผิดของการกระทำรัฐประหาร พร้อมกับรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายของประกาศหรือคำสั่งของคณะรัฐประหารด้วย ดังเช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 มาตรา 47 และ มาตรา 48 และในร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่เพิ่งเผยแพร่ ก็ได้มีการบัญญัติเรื่องนิรโทษกรรมคณะรัฐประหาร และรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายของประกาศหรือคำสั่งของคณะรัฐประหารไว้ในมาตรา 285 ซึ่งเป็นมาตราสุดท้ายของรัฐธรรมนูญ
 
"มาตรา 285 บรรดาการใดๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้
 
บรรดาประกาศและคำสั่งของ คสช. หรือหัวหน้า คสช. ที่มีผลบังคับใช้ก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ไม่ว่ามีผลบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ทางนิติบัญญัติ ทางบริหาร หรือทางตุลาการ ให้ประกาศหรือคำสั่งตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศและคำสั่งนั้น ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญและเป็นที่สุด และมีผลบังคับใช้บังคับด้วยรัฐธรรมนูญนี้ต่อไป  การยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงประกาศหรือคำสั่งดังกล่าว ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ  การตราพระราชบัญญัติตามมาตรานี้ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติงานซึ่งได้กระทำตามประกาศและคำสั่งดังกล่าว และให้บุคคลนั้นได้รับความคุ้มครองจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องในทางใดมิได้"
สถานะการเปิดให้โหวต: 
เปิดให้โหวต

แสดงความเห็น

ประเด็นสนับสนุน

ดังที่รัฐธรรมนูญมาตรา 285 กำหนดให้บุคคลผู้ปฏิบัติงานซึ่งได้กระทำตามของคำสั่งของ คสช. หรือหัวหน้า คสช. ที่มีผลบังคับใช้ก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ได้รับความคุ้มครองจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องในทางใดมิได้

Votes: ไม่มีคะแนน 0 ความเห็น

เมื่อรัฐประหารสำเร็จ คณะรัฐประหารจึงมีฐานะเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ในระบบกฎหมายไทย มีคำพิพากษาศาลฎีกาหลายฉบับยอมรับการดำรงอยู่ของคณะรัฐประหาร และยอมรับว่าคำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหารมีสถานะเป็นกฎหมาย เช่นคำพิพากษาฎีกาที่ 45/2496, คำพิพากษาฎีกาที่ 1662/2505, คำพิพากษาฎีกาที่ 1234/2523

Votes: ไม่มีคะแนน 0 ความเห็น

ประเด็นคัดค้าน

ร่างบทบัญญัตินิรโทษกรรมมีขอบเขตกว้างและไม่ชัดเจน เพราะนอกจากยกเว้นความผิดของการกระทำรัฐประหารแล้ว ยังรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายของประกาศหรือคำสั่งของคณะรัฐประหารทั้งหมดด้วย นอกจากนั้น ยังรับรองการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับการใดๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติม “ไม่ว่าก่อนหรือหลัง” วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 1 2 ความเห็น

เพราะเมื่อทำรัฐประหารแล้ว ก็จะได้รับการนิรโทษกรรม ไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 ซึ่งบัญญัติว่า ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ (1) ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ  (2) ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการแห่งรัฐธรรมนูญหรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ หรือ  (3) แบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครองในส่วนหนึ่งส่วนใดแห่งราชอาณาจักร  ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต

Votes: ไม่มีคะแนน 1 ความเห็น