ข่าว
เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันร่างรัฐธรรมนูญได้ผ่านการทำประชามติแล้ว เหลือเพียงรอการประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เว็บไซต์ประชามติจึงขอยุติบทบาท การเป็นพื้นที่หนึ่งให้ประชาชนสามารถติดตามข่าวสารและแสดงความคิดเห็น ด้วยการจัดกิจกรรมในพื้นที่ออนไลน์และออฟไลน์ลง หลังจากนี้ยังมีกฎหมายลูกอีกหลายฉบับและการจัดตั้งกลไกต่างๆ อีกหลายประการที่จะเกิดขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ ทางเครือข่ายเว็บไซต์ประชามติยังขอเชิญชวนให้ประชาชนทุกคนร่วมกันติดตามและแสดงความคิดเห็นเพื่อใช้สิทธิที่จะมีส่วนร่วมในฐานะประชาชนต่อไป
พอคำถามพ่วงผ่าน ปัญหาที่ตามมาคือ การตีความคำถามพ่วงโดยสนช. ว่า ท้ายที่สุดแล้ว คำว่าให้ความเห็นชอบนั้น จะถือว่า ส.ว. มีอำนาจเสนอชื่อนายกฯ ด้วยหรือไม่ หรือควรถูกจำกัดไว้แค่การพิจารณาให้ความเห็นชอบจากบุคคลที่ ส.ส. เป็นคนเลือกมา โดยก็มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยแตกต่างกันไป ซึ่งความชัดเจนในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญที่เพิ่งผ่านการออกเสียงประชามติของประชาชนยังต้องคอยดู
24 ก.ค. 2559 ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการจัดงาน "ใส่ใจประชามติรัฐธรรมนูญ กับอนาคตประชาชน" ตัวแทนเครือข่ายเพื่อรัฐสวัสดิการ-สมัชชคนจน-ตัวแทนเครือข่ายสลัม 4 ภาค-เกษตรกรรมทางเลือก และการศึกษาทางเลือก ประกาศ “ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญ นำเสนอมุมมองปัญหาอันหลากหลายของแต่ละกลุ่ม พุ่งตรงปมปัญหาในร่างมีชัย
เครือข่ายเกษตรกรรมเชื่อถ้าร่างรัฐธรรมนูญผ่าน ทำปัญหาที่ดินอยู่ในวังวนเดิมๆ ไร้หลักประกันการกระจายและถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม ซ้ำนโยบายยังเปิดทางทุน แต่ลดอำนาจเกษตรกร
สิทธิคนพิการถูกตัด จากสิทธิเหลือเพียงผู้ได้รับการสงเคราะห์จากรัฐ การใช้บริการสาธารณะถูกตัด หวั่นร่าง รธน. ผ่าน ภาคประชาสังคมและคนพิการต้องทำงานหนัก
เอฟทีเอวอชท์ระบุ ร่างรัฐธรรมนูญตัดการมีส่วนร่วมประชาชน-รัฐสภา ไม่เปิดเผยข้อมูล ลดการเยียวยาผลกระทบ ไม่ต้องทำกรอบการเจรจา หวั่นรัฐตามไม่ทันเนื้อหาสัญญาที่ก้าวร้าวมากขึ้น เชื่อเป็นกระบวนการที่ล้าหลังที่สุดเท่าที่เคยมีมา
สิทธิชุมชนถูกย้ายหมวด ถูกลดทอน เหลือเป็นแค่หน้าที่ของรัฐ ไม่ใช่สิทธิของชุมชน หวั่นรัฐจะทำหรือไม่ทำให้เกิดสิทธิชุมชนก็ได้
อีกสองวันก็จะถึงวันลงประชามติ 7 สิงหาคมแล้ว หลายๆ คน คงมีคำตอบในใจแล้วว่าจะกาช่องไหนในการกำหนดอนาคตของประเทศครั้งนี้ แม้ขั้นตอนการลงประชามติจะดูเหมือน แค่เข้าไปกากบาทในช่องที่ 'ใช่' แต่เพจประชามติก็ได้รับคำถามจากผู้ใช้เฟซบุ๊กหลายๆ คนว่า จะกากบาทอย่างไรไม่ให้เป็นบัตรเสีย วันนี้ เพจประชามติ จึงประมวลภาพ บัตรดี-บัตรเสีย เพื่อให้หลายๆ คน เข้าคูหาได้อย่างมั่นใจไม่ต้องกลัวเสียงของตัวเองจะสูญเปล่า
สิระ เจนจาคะ ไม่รับรองให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นฉบับที่ดีที่สุด และไม่รับคำถามพ่วง ถ้าหากร่างใหม่ต้องกำหนดให้ผู้ร่างมีความหลากหลายมากกว่านี้ และต้องออกไปรับฟังความเห็นประชาชนด้วย
หนึ่งในประเด็นที่ถูกยกมาถกเถียง ตั้งแต่ร่างรัฐธรรมนูญฯ ยังอยู่ระหว่างการจัดทำโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ก็คือเรื่องการ “สืบทอดอำนาจ” ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คำถามก็คือ เนื้อหาส่วนไหนของร่างรัฐธรรมนูญฯ ที่จะเป็นการสืบทอดอำนาจ คสช. อย่างที่บางฝ่ายเข้าใจ