ข่าว
1 สิงหาคม 2559 ที่ห้องประชุมเว็บไซต์ประชาไทมีการแถลงข่าวเปิด “เครือข่ายสังเกตการณ์ประชามติ” ซึ่งเป็นการรวมตัวกันเฉพาะกิจขององค์กรสังเกตการณ์การเลือกตั้ง องค์กรสิทธิมนุษยชน และสื่อทางเลือก เพื่อร่วมกันจับตาการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่จะมีขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม นี้ โดยเปิดรับข้อมูลจากประชาชนและเครือข่ายทั่วประเทศ พร้อมรายงานข้อมูลสู่สาธารณะ
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติได้ตัดบทบัญญัติรับรองสิทธิการดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีทิ้งไป และไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติมาตราอื่นใดที่พอจะตีความเทียบเคียงได้ จึงถือเป็นจุดอ่อนอีกประการหนึ่งของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เมื่อเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญฯ 2550 และเป็นเสมือนการพรากเอาไปซึ่งสิทธิของประชาชนประการสำคัญอันได้รับการรับรองคุ้มครองสืบต่อเนื่องมาในรัฐธรรมนูญ
‘ด้นถอยหลัง’ เป็นวิธีการเย็บผ้ารูปแบบหนึ่งที่นิยมมาก เนื่องจากทำได้ง่าย สร้างความแน่นหนาได้เป็นอย่างดี โดยลักษณะสำคัญของการเย็บรูปแบบนี้ คือการแทงเข็มขึ้นและย้อนกลับถอยไปข้างหลัง แล้วค่อยสนฝีเข็มขึ้นถัดจากรอยจรดเดิมเล็กน้อย ที่แม้จะได้ระยะทาง ไปข้างหน้าทีละนิด ( เพราะต้องด้นกลับไปซ้ำด้านหลังให้แน่น) แต่ก็มั่นใจได้ว่าหากทำด้วยความปราณีตอุตสาหะ ย่อมได้รอยตะเข็บที่สวยคงทน ไม่แพ้รอยเย็บจากฝีจักรอย่างแน่นอน
วันที่ 7 สิงหาคม 2559 เป็นวันออกเสียงประชามติ หลายคนคงรู้ว่าเรื่องที่เราต้องไปออกเสียงในวันนั้นคือคำถามว่า "เห็นชอบ หรือ ไม่เห็นชอบ กับร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ" แต่ไม่แน่ใจว่า ทุกคนรู้หรือยังว่าในบัตรออกเสียงใบเดียวกันยังมีคำถามที่สอง คือ เห็นชอบให้ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้ง ร่วมกับ ส.ส.เลือกนายกฯ หรือไม่
สรุปรวมเนื้อหาสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ ในหลากหลายประเด็น รวมทั้งคำถามพ่วง เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงประชามติ ในวันที่ 7
รัฐธรรมนูญทุกฉบับต้องอาศัยกฎหมายลูก อย่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ มาขยายความในรายละเอียด ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2559 กำหนดให้ร่างกฎหมายลูกอีกอย่างน้อย 10 ฉบับ และถ้าร่างผ่านประชามติ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ จะอยู่ยาวอีกแปดเดือนเพื่อร่างกฎหมายลูกเองทั้งหมด เนื้อหาจะเป็นยังไงตอนนี้ยังไม่เห็นทิศทาง
ประเด็นการกระจายอำนาจเป็นสิ่งที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 ถึงรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นต้นมา ปัจจุบัน การกระจายอำนาจสู่ระดับท้องถิ่นต้องหยุดชะงักลงอย่างไม่มีกำหนด เมื่อ คสช.รัฐประหาร
ก่อนหน้านี้ ถ้ารัฐบาลจะลงนามในข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีผลต่อเศรษฐกิจและสังคม ต้องให้ข้อมูลประชาชนและจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนประก่อนการดำเนินการ แต่ตามร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ ไม่มีขั้นตอนนี้คอยบังคับรัฐบาลแล้ว เขียนแค่ว่าให้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ แต่ยังไม่มีรายละเอียด
มีชัย ฤชุพันธุ์ เคยออกมาย้ำกับสังคมในทำนองว่า การที่องค์กรอิสระไม่ยึดโยงกับประชาชนไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ตรวจสอบจึงต้องเป็นอิสระ พิจารณาผิดถูกตามหลักฐานวิชาการ ไม่ใช่เป็นเรื่องของการลงคะแนนเอาเสียงข้างมาก แต่ใครเลยจะรู้ว่า คณะกรรมการสรรหาผู้ที่จะมาทำหน้าที่ในองค์กรอิสระแท้จริงแล้วประกอบไปด้วยข้าราชการเป็นส่วนใหญ่ไม่ใช่คนที่มีฐานะเป็นตัวแทนประชาชน
มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ให้ฉายาร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างมากับมือว่า “รัฐธรรมนูญ ฉบับปราบโกง” เหตุผลที่ทำให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องเน้นปราบโกง เพราะที่ผ่านมา มีการโกงกันมากจนประเทศชาติเสียหาย ส่งผลกระทบทั้งต่อเศรษฐกิจและสังคม และนี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ผู้สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ใช้ในการเชิญชวนประชาชนให้ไปรับร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 สิงหาคม