ข่าว

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ ได้เพิ่มเติมบทเฉพาะกาล กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในวาระเริ่มแรกมี 250 คน มาจาการคัดลือกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเกือบทั้งหมด และมี ส.ว.โดยตำแหน่งที่เป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ 6 คน ด้วยเหตุว่าจะเข้ามาประคับประคองประเทศไทยในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี
หนึ่งในข้อถกเถียงต่อร่างรัฐธรรมนูญที่สังคมสนใจ คือ การเปิดช่องให้มีนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หรือ 'นายกฯ คนนอก' ซึ่งเป็นประเด็นที่สัมพันธ์กับประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองของไทย สุดท้ายร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จะนำไปลงประชามติก็เปิดทางให้รัฐสภาตั้ง 'นายกฯ คนนอก' ได้อีกครั้ง สำหรับการเลือกตั้งครั้งที่จะถึงครั้งเดียว 
สนช. ตัดสินใจเลือก "คำถามพ่วง" ที่จะถามประชาชนควบคู่ไปกับการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญแล้ว โดยจะถามว่า "เห็นชอบหรือไม่ ให้รัฐสภาโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ในช่วง 5 ปีแรก" ซึ่งทำให้ส.ว. 250 คนแรกที่มาจากการแต่งตั้งจะมาเลือกนายกฯ ด้วย และไม่ใช่คนเดียวแต่อาจได้เลือกนายกฯ อย่างน้อยสองคน
หลังการเว็บไซต์ประชามติสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผ่านเฟซบุ๊กประชามติ ว่าอยากจะตั้งคำถามอะไรเพิ่มเติม ในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ปรากฏว่าคำถามที่รับคะแนนโหวตมากที่สุดคือ ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านให้รัฐบาล คสช.ลาออกทั้งหมดหรือไม่?
มาแล้ว!!! ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ 
เปิดวงถกปัญหาประชามติ ‘องอาจ-พงศ์เทพ’ เห็นร่วม คสช.ต้องระบุให้ชัดประชามติไม่ผ่านจะทำอย่างไร ‘สมบัติ ธำรงธัญวงศ์’ ชี้ คนไทยยังไม่เข้าใจร่างรัฐธรรมนูญ แต่กลับเจอปัญหาการปิดกั้นการกระจายความรู้ สุดท้ายการออกเสียงอาจเป็นแค่ พิธีกรรม
ร่าง พ.ร.บ.ประชามติที่จะกำหนดกติกาการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีข้อน่าสนใจ เช่น การกำหนดโทษหนักถึง 10 ปีสำหรับการโพสต์ปลุกระดมหรือผิดจากข้อเท็จจริง ก่อนการทำประชามติ 7 วัน ห้ามเปิดเผยโพลที่เกี่ยวกับการออกเสียง กำหนดอายุผู้มีสิทธิออกเสียงไว้ที่ 18 ปี ส่วนแสดงความคิดเห็นหรือการรณรงค์สามารถทำได้ แต่ต้องเป็นไปตาม กกต. กำหนด
เปิดผลโหวตคำถามว่า “คุณจะไปออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญของ คสช.หรือไม่?” ชาวเน็ตส่วนใหญ่จำนวน 3,828 คน หรือ 85% จะ "ไป" ใช้สิทธิออกเสียงประชามติ ขณะที่ประชาชนจำนวนอีก 656 คน หรือ 15% จะ "ไม่ไป" ออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
ผลของการลงประชามติครั้งนี้จะวัดกันที่จำนวนคนที่ลงคะแนน "เห็นชอบ" กับ "ไม่เห็นชอบ" ว่าฝั่งไหนเยอะกว่าเท่านั้น ส่วนคนที่กาช่อง "งดออกเสียง" หรือ ทำบัตรเสีย จะไม่นับรวมด้วย แม้ว่าเมื่อรวมจำนวนเสียงที่โหวต "ไม่เห็นชอบ" "งดออกเสียง" และ "บัตรเสีย" แล้วจะได้มากกว่าจำนวนเสียงที่ "เห็นชอบ" ก็ถือว่าเป็นการลงประชามติที่ "ผ่าน" อยู่ดี
ลำดับเหตุการณ์ความพยายามปิดกั้น - แทรกแซง กิจกรรมของเครือข่ายเว็บไซต์ประชามติ จนนำมาสู่การย้ายสถานที่จากหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สู่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์

Pages