ข่าว
แถลงการณ์เครือข่ายเว็บไซต์ประชามติ "ขอยึดมั่นในหลักเสรีภาพการแสดงออก และการมีส่วนร่วมของประชาชน" หลังทหารและตำรวจกดดันหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ให้ยกเลิกใช้พื้นที่จัดกิจกรรมเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญสองกิจกรรม ต้องย้ายสถานที่จัดงาน อย่างไรก็ดีเว็บไซต์ประชามติยืนยันจะเดินหน้าทำกิจกรรมเพื่อสร้างบทสนทนาเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญที่เปิดกว้างสำหรับทุกฝ่ายต่อไป
แม้ว่ากิจกรรมเวทีเสวนาสาธารณะ "รัฐธรรมนูญใหม่เอายังไงดีจ๊ะ" จะไม่ได้จัด แต่ทางเว็บไซต์ประชามติก็ย้ายสถานที่และรูปแบบงานเป็นการบันทึกเทปรายการเวทีสาธารณะ ซึ่งเนื้อหาสาระก็เป็นความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญและบรรยากาศในการร่างรัฐธรรมนูญที่ยากต่อการจะมีส่วนร่วมและทั้งหมดทั้งมวลอาจจะมีผลต่อการลงประชามติ
ประกาศผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายกิจกรรม "PechaKucha รัฐธรรมนูญ" ทั้ง 11 คน/ทีม พร้อมคอนเซปต์ แรงบันดาลใจในการนำเสนอคร่าวๆ ก่อนนำเสนอผลงานในวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2559
เว็บไซต์ประชามติ (prachamati.org) เปิดให้ผู้ใช้เฟซบุ๊กโหวตว่า “รัฐธรรมนูญยังจำเป็นหรือไม่?” ผลปรากฏว่า จากผู้ร่วมโหวตทั้งหมด 3,234 คน มีคนเห็นว่ารัฐธรรมนูญยังจำเป็นอยู่ 2,881 คน หรือ คิดเป็น 89% ของผู้โหวตทั้งหมด และมีผู้ที่เห็นว่าไม่จำเป็น 353 คน หรือ 11% จากทั้งหมด
ตามที่เฟซบุ๊กเฟจประชามติ จัดกิจกรรมให้ผู้ใช้เฟซบุ๊กช่วยกันตั้งชื่อเล่นร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 กติกาคือให้ส่งชื่อเล่นโดยการคอมเม้นต์ใต้ภาพกิจกรรมที่เฟซบุ๊กประชามติ กิจกรรมนี้มีผู้ร่วมกว่า 145 คอมเม้นต์ ยังไม่รวมส่วนที่ถูกแชร์ต่อกันไปและคอมเม้นต์กันตามเพจอื่นๆ อีกไม่น้อยชื่อเล่นที่คอมเม้นต์เข้ามาและได้ยอดไลค์สูงสุด คือ รัฐธรรมนูญฉบับ "มึน จน โฮ"
หลังจากเราได้เสนอเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยใน ภาค ๑ รัฐธรรมนูญต่างประเทศ ไปแล้ว หลายคนอาจจะอึ้ง หลายคนอาจจะเฉยๆ เพราะเป็นเรื่องที่รู้อยู่แล้ว เราลองมาดูอีกสิบข้อใน ภาค ๒ ซึ่งเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญไทยกันดูบ้าง น่าจะเป็นเรื่องคุ้นเคยและรู้ดีกว่ารัฐธรรมนูญต่างประเทศ แต่คุณแน่ใจหรือ ว่ารู้จักรัฐธรรมนูญไทยดีแล้ว เราท้าให้คุณอ่านสิบข้อนี้เสียก่อน แล้วมาบอกเราว่าคุณรู้อยู่แล้วกี่ข้อ
เว็บไซต์ประชามติ ขอนำสาระความรู้คัดสรรที่ทีมเรามั่นใจว่าหลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน ประเดิมด้วยสิบข้อใน 'ภาค 1 รัฐธรรมนูญต่างประเทศ' ซึ่งจะนำทุกท่านไปสำรวจความเป็นไปของรัฐธรรมนูญในอารยประเทศอื่นว่ามีความดีงามหรือแตกต่างกันอย่างไร ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันว่าในสิบข้อแรกนั้นคุณรู้มาก่อนแล้วกี่ข้อ
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2559 ร่างแรกถูกเผยแพร่ให้สาธารณะชนได้รับทราบ จากนี้หากไม่เกิดอุบัติเหตุทางการเมืองแบบไม่คาดฝัน เส้นทางของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะจบลงที่การออกเสียงประชามติ นอกจากนี้ระหว่างทางเดินสู่ประชามติยังมีประเด็นสำคัญ คือ แรงกดดันให้แก้ไขหลักเกณฑ์การทำประชามติ และคำถามที่ว่าหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติจะทำอย่างไรต่อไป
เว็บไซต์ประชามติ (Prachamati.org) ได้เปิดให้คนร่วมโหวตผ่านทางเฟซบุ๊กว่า 'ภายใต้รัฐบาล คสช. คุณมีความสุขดีไหม?' โดยการกดไลค์รูปภาพหน้ายิ้มและหน้าบึ้งเพื่อแสดงความเห็นว่า มีความสุขหรือไม่ แล้วพบว่า มีผู้เข้าร่วมโหวต 5,787 คน แบ่งเป็น คนที่กดไลค์ที่รูปหน้าบึ้งจำนวน 5,266 คน คิดเป็น 91 เปอร์เซ็นจากทั้งหมด และมีคนที่กดไลค์ที่รูปหน้ายิ้ม เป็นจำนวน 521 คน คิดเป็น 9 เปอร์เซ็นจากทั้งหมด เท่ากับว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กส่วนใหญ่ไม่มีความสุขภายใต้รัฐบาล คสช.
เราพูดคุยกับ สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ 'บ.ก.ลายจุด' เพื่อให้เขาช่วยมองการทำงานของเว็บไซต์ประชามติ (prachamati.org) และสะท้อนภาพรวมของสังคมไทยปัจจุบัน นอกจากนี้เรายังชวนคุยถึงการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะเกิดขึ้นกลางปีนี้ ว่าจะเอายังไงดี?