ข่าว

21 ตุลาคม 2558 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเสวนาทางวิชาการ ในหัวข้อ “รัฐธรรมนูญไทย : มองไปข้างหน้า” โดยมีนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ด้านรัฐศาสตร์ และด้านกฎหมายเข้าร่วมเสวนา นักวิชาการชี้แก้ปัญหาอำนาจนิยมและคอร์รัปชั่นต้องทำให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น ขณะทีอดีตกรรมาธิการยกร่างแม้ที่มาคนร่างปัจจุบันไม่ชอบธรรมแต่มีประชามติ
จากกิจกรรมที่เว็บไซต์ประชามติชวนประชาชนแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ “รัฐธรรมนูญแบบไหนไม่เอาแล้ว?” พร้อมกับติดแฮชแท็ก #ไม่เอาแล้ว เมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม 2558 จากการรวบรวมความเห็นของประชาชนประมาณ 300 ความเห็น ส่วนใหญ่เห็นไปในทางเดียวกันว่าไม่เอารัฐธรรมนูญที่มาจากการร่างของคนกลุ่ม เล็กๆ กลุ่มเดียวโดยที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วม และเบื่อหน่ายกับการร่างรัฐธรรมนูญแล้วถูกฉีกซ้ำๆ
กระแสรัฐธรรมนูญกลับมาอีกครั้ง หลังได้กรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ ล่าสุดมีการจัดงานเสวนาหัวข้อ "รัฐธรรมนูญของปวงชนจากหลากหลายมิติ" โดยเชิญนักวิชาการจากหลายสาขามาสะท้อนมุมเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกับเว็บไซต์ "ประชามติ-Prachamati.org" ก็มีแคมเปญเชิญชวนประชาชนติดแฮชแท็ก #ไม่เอาแล้ว เพื่อร่วมกันบอกว่ารัฐธรรมนูญแบบไหนที่ไม่เอาแล้ว?
เบื่อมั้ย "การร่างรัฐธรรมนูญ" กว่า 19 ฉบับ แต่เราก็ยังวนเวียนกับการ "รัฐประหาร" เย็นวันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม 2558 หกโมงเย็นเป็นต้นไป ทุกช่องทางโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น Facebook Twitter Instagram Google Plus ฯลฯ พร้อมติดแฮชแท็ก ‪#‎ไม่เอาแล้ว‬ แล้วตั้งค่า status เป็นสาธารณะ
เปิดรายชื่อ อดีต สปช. ในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ 62 ที่นั่ง พบคนไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ได้ตำแหน่ง 42 คน ส่วนคนเห็นชอบ ได้ตำแหน่ง 19 คน งดออกเสียง ได้ตำแหน่ง 1 คน
ประวัติและเส้นทางการทำงานของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ทั้ง 21 คน โดยมี 'มีชัย ฤชุพันธุ์' สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธาน โดยมีผู้เชี่ยวชาญกฎหมาย 11 ราย ต่างประเทศ 2 ราย รัฐศาสตร์ 3 ราย ความมั่นคง 4 ราย สื่อสารมวลชน 1 ราย ในจำนวน 21 คน มีมือร่างรัฐธรรมนูญ 2550 2 ราย - อดีต สปช. 3 ราย
หลังจากที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ถูกยุบไป ตามรัฐธรรมนูญชั่คราว 2557 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ตั้งสภาขับเคลือนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ขึ้นมาสานงานด้านปฏิรูปต่อจาก สปช. โดยมีสมาชิกไม่เกิน 200 คน มาจากการแต่งตั้งของนายกรัฐมนตรีทั้งหมด ทั้งนี้ สปท. จะไม่มีหน้าที่ในการลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเหมือน สปช.
ประวัติศาสตร์ฉบับย่อ เกี่ยวกับคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 3 ชุด และการร่างรัฐธรรมนูญในรอบ 20 ปี น่าจะช่วยเราตอบคำถามว่า ผู้ร่างรัฐธรรมนูญที่พึงปรารถนาควรมีที่มาอย่างไร? ประกอบด้วยกลุ่มบุคคลแบบใด? และเราจะยังวนเวียนอยู่กับนักร่างรัฐธรรมนูญหน้าเก่าต่อไปอีกหรือ?
รายการ "รัฐธรรมนูญไทย 101" กับ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ตอนสอง ที่มาของรัฐธรรมนูญจากบริบทโลกถึงบริบทไทยๆ โดยตอนที่ 1 ก่อนหน้านี้เป็นการตอบคำถามเรื่องสำคัญว่าทำไมจึงต้องเรียนรู้เรื่องรัฐ ธรรมนูญ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลง การฉีกรัฐธรรมนูญครั้งแล้วครั้งเล่า 
พอดิบพอดีกับวาระ 9 ก่อน 10 ปี ของการครบรอบการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งเราขอใช้เป็นหมุดหมายเริ่มต้น ของข้อเรียกร้อง ‘การปฏิรูป’ ที่มีใจกลางปัญหาอยู่ที่ ‘คุณภาพ’ ของ ‘ประชาธิปไตย’ 'ประชาไท' สัมภาษณ์ 'ผศ.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์' แห่งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทบทวนการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ทบทวนการปฏิรูปในสังคมไทย ‘วาทกรรม’ หรือวาระที่จำเป็น? อะไรคือเงื่อนไขขั้นต่ำ พร้อมสรุปบทเรียน ว่าด้วยความยับยั้งชั่งใจของเสียงข้างมาก หรือความอดทนอดกลั้นของเสียงข้างน้อย

Pages