ข่าว
วันที่ 30 สิงหาคม 2558 เวลา เว็บไซต์ prachamati.org ร่วมกับองค์กรเครือข่าย จัดงานเสวนา “ความหวังของระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่” ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างความตื่นตัวให้กับสังคมต่อประเด็นต่างๆ ในร่างรัฐธรรมนูญที่สปช.กำลังจะลงมติรับหรือไม่รับ
โคทมชี้ “หลายอย่างซ่อนอยู่ภายใต้ภูเขาน้ำแข็ง”
เลขานุการ วิป สปช. เผย มี 5 เรื่องต้องทำก่อนพ้นวาระ ชี้คำถามในประชามติจะดำเนินการหลัง ร่าง รธน. ผ่าน สปช. ด้านสมบัติ ไม่เข้าฟังการชี้แจงจาก กมธ.ยกร่างฯ ย้ำไม่เกิดประโยชน์ ข้อเสนอที่ให้ไปไม่ได้ถูกแก้ไข
กมธ.ยกร่างรับ รธน. ไม่เป็นประชาธิปไตย แต่จำเป็นช่วง'เปลี่ยนผ่าน' ประภาส ปิ่นตบแต่ง ท้ากล้าเขียนหรือไม่ รธน. สร้างรัฐบาลซ้อนรัฐบาล ให้ประชาชนลงประชามติ
เทียนฉาย กีระนันท์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวในหัวข้อ "ประธาน สปช. เปิดใจจะปฏิรูปอะไร" ถึงการทำงานตลอด 1 ปีที่ผ่านมาของ สปช. และยังกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง สปช. กับกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญว่ามีความลึกซึ้ง ยากจะอธิบาย เผย "เรื่องคานงัด" ที่ต้องปฏิรูปใหญ่มี 2 เรื่อง คือ การบริหารราชการแผ่นดินและการศึกษา
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เผย กมธ.รัฐธรรมนูญกำหนดให้มี "คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง" สมาชิก 23 คน มีอำนาจพิเศษ 5 ปีหลัง รธน.ประกาศใช้ หากมีความขัดแย้งจนคุมไม่ได้ให้มีอำนาจจัดการได้ สามารถสั่งและยับยั้งฝ่ายนิติบัญญัติ-บริหาร และยังเตรียมประชามติถาม ปชช. ว่าต้องการรัฐบาลปรองดองแห่งชาติหรือไม่
สิระ เจนจาคะ สปช.ด้านสังคม ยืนยันมีกระบวนการรวบรวมรายชื่อเพื่อให้สมาชิก สปช.ลงมติคว่ำร่างรัฐธรรมนูญแลกกับการเข้าดำรงตำแหน่งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศจริง ตอนนี้มีสมาชิก สปช.ลงชื่อแล้วจำนวน 100 คน ทั้งนี้ สิระ ย้ำว่า สปช.คนไหนที่คว่ำร่างรัฐธรรมนูญขอให้แสดงความรับผิดชอบด้วยการคืนเงินเดือนและสวัสดิการที่เป็นภาษีของประชาชน
กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ งดการประชุมวันที่ 3 และ 4 ส.ค. เพื่อเปิดทางให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ควบสมาชิกสภาปฏิรูปเข้าร่วมประชุม สปช. และจะกลับมาประชุมอีกครั้ง 5-7 ส.ค. คาดจะทวน รธน. ครบทุกมาตรา 14 ส.ค.
ขณะนี้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญกำลังปรับแก้ไขเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญในหลายๆ ประเด็น รวมถึงในส่วนที่ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ดูเหมือนว่าในหลักการและรายละเอียดนั้นจะมีการแก้ไขด้วยในหลายๆ ประการ ซึ่งเทียบกับ “ระบบการเลือกตั้งแบบเยอรมัน” ที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญใช้เป็นแรงบันดาลใจในการนำมาปรับใช้นั้น ระบบการเลือกตั้งแบบใหม่นี้กลายมาเป็นระบบการเลือกตั้งอีกแบบคือกลายมาเป็น “ระบบเลือกตั้งเยอรมันแบบไทยๆ”
สมฤทัย วิเคราะห์การรับไม่รับ 'ร่างรัฐธรรมนูญ' ว่า สุดท้าย สปช. จะโหวตรับแบบ 'ไม่สนใจเนื้อหา' เพราะ รธน.ชั่วคราวใหม่ ไม่ว่าทางไหนก็ตายตกตามกันอยู่ดี หากเห็นชอบ ก็จะทำให้กระบวนการปฏิรูปประเทศโดย คสช.ที่ยังคั่งค้างอยู่ไม่เสร็จเรียบร้อย แต่ถ้าโหวต “คว่ำ” ร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะสอดคล้องกับเสนอ “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง”
บวรศักดิ์ เผยภาพรวมการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญได้ข้อยุติหลายเรื่อง พร้อมยืนยันการตัดสิทธิ์ใบแดงของ กกต. พิจารณาดีแล้ว พร้อมชี้ควรขยายเวลาการทำงาน กมธ.ฯ อีก 30 วัน เพื่อความรอบคอบ