ข่าว

เว็บไซต์ประชามติ จัดเสวนา “ทำประชามติอย่างไร ไม่ให้เสียของ” ผู้เสวนาได้แก่  ประภาส ปิ่นตบแต่ง, จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร, ปองขวัญ สวัสดิ์ภักดิ์ และสุนี ไชยรส เห็นตรงกันว่า การลงประชามติ ควรทำบรรยากาศให้เป็นประชาธิปไตยด้วย เช่น ให้รณรงค์อภิปรายเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญได้อย่างเสรี และเงื่อนไขในการประชามติต้องมีทิศทางที่ประชาชนจะได้รัฐธรรมนูญที่มาจากกระบวนการประชาธิปไตย
20 พ.ค. 2558 เว็บไซต์ prachamati.org เปิดโหวตในคำถาม “หากทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2558 ไม่ผ่าน ควรทำอย่างไร?” โดยมี 6 ตัวเลือกให้ชาวเน็ตเลือกว่า “เห็นด้วย” หรือ “ไม่เห็นด้วย” ซึ่งถึง 4 มิ.ย. ที่ผ่านมา ทุกคำตอบมีผู้โหวตเกิน 1,000 คน เป็นที่เรียบร้อย แต่ก่อนการเปิดผลว่าชาวเน็ตส่วนใหญ่เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบวิธีไหน เราจึงขอเรียกน้ำย่อยจากการสำรวจคอมเม้นท์ในเว็บไซต์และเพจเฟซบุ๊กประชามติ ว่าคิดเห็นกับประเด็นนี้อย่างไรบ้าง?  
สำนักข่าวไทยพับลิก้าประมวลข้อมูลจากคำขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญส่วนที่สอง โดยสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เสนอรวม 9 คำขอ มีอยู่สองประเด็น คือ มาตรา 121 เรื่องที่มาของ ส.ว. และ มาตรา 279 เรื่องการจัดตั้ง “สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ” และ “คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ” ที่ถูกยื่นแก้ไข “ครบ ทั้ง 9 คำขอ”
ประชาไท สัมภาษณ์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ภาคสองว่าด้วยหมวดคณะรัฐมนตรี นายกฯ คนนอก มาตรา 181,182 อำนาจแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ การให้ปลัดกระทรวงรักษาการ หมวดศาล ไปจนถึงการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและบทเฉพาะกาล นี่เป็นการวิจารณ์ด้วยองค์ความรู้ที่ลึกกว่านักการเมือง เช่น อำนาจนายกฯ ขอลงมติไม่ไว้วางใจตามมาตรา 181 เอามาจาก “ระบบเยอรมัน” ทั้งที่เยอรมันต่างจากเรา
ไทยพับลิก้า สรุปคำขอแก้ไขร่างรัญธรรมนูญ ซึ่งประกอบไปด้วย ครม.-คสช. และสมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) ทั้งนี้ ประเด็นที่มีการขอให้มีการแก้ไขเป็นส่วนใหญ่ อาทิ ที่มา ส.ว. และ สภาขับเคลื่อนการปฎิรูปฯ สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ การปฎิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน การปฎิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาให้เป็นพลเมืองดี และการจัดทำ EHIA เป็นต้น 
3 มิ.ย.2558 วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี( 2 มิ.ย.) มีมติให้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญแล้ว เนื่องจากรัฐบาลเห็นว่าเมื่อมีข้อเสนอจากหลายฝ่ายที่ต้องการให้ทำประชามติ รัฐบาลจึงเป็นผู้ตัดสินใจ เพื่อไม่ให้เป็นการโยนปัญหาว่าฝ่ายใดมีอำนาจในการตัดสินใจในอนาคต ทั้งนี้ จะบรรจุ 4 แนวทางแก้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ว่าหากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ จะมีทางออกอย่างไร ซึ่งขณะนี้ยังไม่แล้วเสร็จ เพราะอยู่ระหว่างการชั่งน้ำหนักข้อดี ข้อเสียและทางออก
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ นักวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์ แสดงความคิดเห็นต่อกระบวนการลงประชามติและการเลือกตั้งว่า ขบวนการประชาธิปไตยควรจะสนับสนุนการลงประชามติในครั้งนี้ ด้วยเป้าหมายอันชัดเจน คือ เปิดพื้นที่ทางการเมืองให้มากที่สุด สร้างกระแสให้ความรู้และแลกเปลี่ยนกับประชาชนในทุกเงื่อนไข เพื่อจะนำไปสู่การล้มหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นอกจากนี้ ต้องรณรงค์ให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว เพื่อทดแทนการเลือกตั้งที่ถูกลัก 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 โดยไม่ต้องคอยกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ
Prachamati.org ทำการเปิดผลโหวตสองประเด็นคือ เห็นด้วยหรือไม่กับการมีสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ จากผู้ลงคะแนนเสียงทั้งหมด 1867 คน เห็นด้วย  9.8 % และไม่เห็นด้วย 90.2 %  และ อีกประเด็นคือ เห็นด้วยหรือไม่กับหน้าที่พลเมืองตามที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนด จากผู้ลงคะแนนเสียงทั้งหมด 1812 คน เห็นด้วย 20.1 % และไม่เห็นด้วย 79.9 % ตัวเลขทั้งสองบันทึกไว้ตอนเที่ยงของวันที่ 31 พ.ค. 58 และยังเปิดการโหวตต่อให้ผู้ที่ยังไม่ได้ลงคะแนนสามารถใช้สิทธิ์ได้  อย่างไรก็ตาม ยังเปิดการโหวตต่อให้ผู้ที่ยังไม่ได้ลงคะแนนสามารถใช้สิทธิ์ได้อยู่
ดิเรก ถึงฝั่ง รองประธานกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สปช. ไม่เห็นด้วยกับการให้อำนาจคณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติ เพราะอาจเป็นการก้าวล่วงพระราชอำนาจ ขณะที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่ามีบางประเด็นที่ก็ยังติดใจว่ายังไม่มีการอธิบายที่ชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องการอภัยโทษ แต่ควรมีแค่การศึกษาแนวทาง หาวิธีปรองดอง และเรียกคู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่ายมาไกล่เกลี่ย ให้เกิดความปรองดองเท่านั้น
สุภัทรา นาคะผิว กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงปัญหา รพ.เอกชน เก็บค่ารักษาแพงเกินจริง  จึงมีความจำเป็นที่ต้องให้มีกฎหมายเข้าไปแทรกแซง เช่น วงเล็บ 4 ในมาตรา 294 ของร่างรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามตอนนี้อยู่ระหว่างการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ มีหลายฝ่ายเสนอความเห็นให้ตัดวงเล็บ 4 ออก

Pages