ข่าว

คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ข้อยุติเรื่องเอกสิทธิคุ้มครอง ส.ส. และ ส.ว.แล้ว ไม่อนุญาตให้จับกุม คุมขังหรือออกหมายเรียกในระหว่างสมัยประชุม เว้นแต่เจ้าตัวอนุญาต ถูกจับขณะทำความผิดซึ่งหน้า ทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือความผิดที่มีโทษ 10 ปีขึ้นไป   
ยกร่าง รธน. ยืนตัดสิทธิผู้ที่ถูกถอดถอนในคดีทุจริต หรือต้องคำพิพากษาฐานประพฤติมิชอบ หรือทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริต ไม่เที่ยงธรรม ลงเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว.ตลอดไป ตั้งคณะกรรมการประเมินผลหลังใช้รัฐธรรมนูญ 5 ปี
ราชกิจจานุเบกษาตีพิมพ์รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เพิ่มขั้นตอนหลังยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้ทำประชามติ - ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุดลงหากพิจารณาร่าง รธน.ไม่ทันเวลาที่กำหนด หรือ พิจารณาร่าง รธน.แล้วเสร็จ ไม่ว่าจะมีมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่าง รธน. - หลังจากนั้นจะต่อด้วย "สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ" ที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง
เว็บไซต์ประชามติ prachamati.org เปิดผลโหวตต่อคำถามว่า กัญชาถูกกฎหมาย เห็นด้วยหรือไม่? เปิดโหวตตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน - 13 กรกฎาคม 2558 มีผู้ลงคะแนนทั้งหมด 1,940 คน โดยเสียงส่วนใหญ่ 1,837 คน หรือ 94.69% เห็นด้วย ขณะที่อีก 103 คน หรือ 5.31% ไม่เห็นด้วย
ความคืบหน้าในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ 6-10 ก.ค.2558 มีการแก้ไขการกำหนดให้มี ส.ว. ไม่เกิน 200 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจังหวัดละ 77 คน โดยไม่ต้องผ่านการคัดกรอง ส่วนอีก 123 คนยังคงมาจากการเลือกกันเองและการสรรหา พร้อมตัดอำนาจ ส.ว. ในเรื่องการเสนอกฎหมาย และการถอดถอนนักการเมืองออก ขณะที่เลือกตั้ง ส.ส. กำหนดให้ตัดการเลือกตั้งแบบ Open list และจัดทำระบบบัญชีรายชื่อเขตเดียวทั้งประเทศ จำนวน ส.ส. 450-470 คน
สุเจน กรรพฤทธิ์ นักเขียนสารคดี เขียนเรื่องประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในคอลัมน์อ่านเอาเรื่องนิตยสารสารคดี ฉบับที่ 364 โดยข้อเขียนนี้สุเจนพูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้เพือให้ข้อมูลเหล่านี้น่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านชาวไทยที่จะเป็นผู้ตัดสินอนาคตของประเทศในการลงประชามติ
โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ระบุ ข้อบังคับการประชุมและธรรมเนียมปฏิบัติ ชี้ชัดการลงมติโหวตร่างรัฐธรรมนูญต้องทำโดยเปิดเผย มั่นใจร่างสุดท้ายจะได้รับการยอมรับจาก สปช. พร้อมยืนยัน กรรมาธิการยกร่างฯ พยายามอย่างที่สุดที่จะรักษาเจตนารมณ์เดิมของร่างรัฐธรรมนูญไว้ให้ได้
การประชุมแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มีการแก้ไขโดยมีประเด็นที่สำคัญ คือ สิทธิของบุคคลในการสมรสและในครอบครัว ย่อมได้รับความคุ้มครอง กมธ.ยกร่างฯ ได้ตัด “สิทธิในการสมรสออก” ประเด็นสมัชชาคุณธรรม สมัชชาพลเมืององค์กรตรวจสอบภาคประชาชน และองค์กรอื่นที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ ที่กมธ.ยกร่างฯได้ตัดและปรับถ้อยคำใหม่ ประเด็นสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนและการอุดหนุนกิจการสื่อมวลชนโดยรัฐ มีการบัญญัติเพิ่มเติมให้มีการเปิดเผยงบประมาณของรัฐที่ใช้ในการอุดหนุน
เว็บไซต์ประชามติ เปิดผลโหวต 4 ประเด็น เสียงผู้ใช้เน็ตส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย กับการตั้งศาลปกครองแผนกคดีวินัยการคลังฯ และไม่เห็นด้วยที่จะให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจชี้ขาดกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และการก่อตั้งคณะกรรมการเสริมสร้างความปรองดอง เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง รวมถึงการควบรวมคณะกรรมการสิทธิฯ กับผู้ตรวจการแผ่นดิน 
โฆษก กมธ.ยกร่างฯ เผยความคืบหน้าแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญรายประเด็น ไม่ยุบ กกต., ไม่ควบรวมผู้ตรวจการ-กสม., นายกฯ คนนอกต้องได้เสียง 2 ใน 3 ทุกกรณี, มีการปรับเพิ่มจำนวน ส.ส.เขต และอาจบรรจุระบบโอเพนลิสต์ไว้ในบทเฉพาะกาล สำหรับความคืบหน้าในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในรายประเด็นอื่นๆ มีความชัดเจนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไม่น้อยกว่า 10 ประเด็น

Pages