ข่าว
ภายหลังเว็บไซต์ประชามติ เปิดโหวตในคำถาม 7 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับร่างรัฐธรรมนูญ 2558 ซึ่งเริ่มเปิดให้ลงคะแนนตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคมเป็นต้นมา จากการนับคะแนนเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2558 พบว่า เสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับ นายกฯคนนอก / ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
ในที่สุด สภาปฏิรูปแห่งชาติ ก็ลงมติร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีผู้ที่เห็นชอบ 105 เสียง, ไม่เห็นชอบ 135 เสียง และ งดออกเสียง 7 เสียง เป็นผลให้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันตกไป และเริ่มกระบวนการร่างใหม่ที่กินเวลากว่า 540 วัน กว่าจะไปสู่การเลือกตั้ง
ชวนอ่าน 'ร่างรัฐธรรมนูญ' กับ 'วรเจตน์ ภาคีรัตน์' นักวิชาการด้านกฎหมายมหาชน จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตอนที่สองนี้จะย้อนไปตั้งแต่เริ่มต้นรายมาตรา ตั้งแต่หมวดสิทธิเสรีภาพถึงระบบเลือกตั้ง
ศูนย์ทนายฯ เห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญ ประการที่ 1 ที่มาและขั้นตอนการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย และประการที่ 2 คือ ความบกพร่องทางเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ สำหรับตอนนี้จะกล่าวถึง ประการที่ 3 และประการที่ 4 ร่างรัฐธรรมนูญไม่สอดคล้องกับอุดมการณ์รัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตย และคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคมร่วมกับหลายองค์กร จัดงานเสวนา วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ 2558 กับทิศทางการปฏิรูปการเมืองไทย: ทางออกหรือทางตัน โดยมีวิทยากรจากหลายฝ่าย อาทิ ลิขิต ธีระเวคิน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ นิกร จำนง แกนนำพรรคชาติไทยพัฒนา ไพโรจน์ พลเพชร นายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน มาร่วมให้ความเห็น
ชวนอ่าน 'ร่างรัฐธรรมนูญ' กับ 'วรเจตน์ ภาคีรัตน์' นักวิชาการด้านกฎหมายมหาชน จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตอนนี้ว่าด้วยคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติและบทเฉพาะกาล
รายการ "รัฐธรรมนูญ 101" กับ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ตอนแรก ตอบคำถามเรื่องสำคัญว่าทำไมจึงต้องเรียนรู้เรื่องรัฐธรรมนูญ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลง การฉีกรัฐธรรมนูญครั้งแล้วครั้งเล่า
‘สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล’ ประเมิน ประชามติ ไม่ผ่านถึงระดับ 23.5 ล้านแน่ ต่อให้คนทีเคยเลือก ปชป. ไปลงรับเป็นส่วนใหญ่ ก็ไม่มีทางได้ถึง หวั่น คสช.แก้ รธน. ให้ใช้เสียงข้างมากจากผู้มาใช้สิทธิแทน
ศูนย์ทนายฯ ทำความเห็นทางกฎหมาย ชี้ร่าง รธน. ลดทอนอำนาจประชาชน ผ่านเนื้อหาที่การกำหนดให้นายกฯ มาจากบุคคลที่ไม่เป็น ส.ส.ได้ เพิ่ม ส.ว.สรรหา มากกว่า ส.ว.เลือกตั้ง รวมถึงการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการโดยระบบคุณธรรม ลดอำนาจ ครม. ในการสั่งข้าราชการให้ปฏิบัติตามนโยบาย
โสภณ พรโชคชัย เสนอ 12 มาตรา รัฐธรรมนูญในอุดมคติ อยากเห็นประชาธิปไตยที่ดีตามนานาอารยประเทศ และเคารพในประชาชน โดยเฉพาะประชาชนคนเล็กคนน้อยที่เสียภาษีทางอ้อม เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่มและอื่นๆ