ข่าว

เว็บไซต์ประชามติเข้าพูดคุยกับ บัณฑูร เศรษฐศิโรจน์ อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ถึงสถานการณ์การมีส่วนร่วมของประชาชนบนโลกออนไลน์ปี 2558 อนาคตของร่างรัฐธรรมนูญและการออกเสียงประชามติ รวมทั้งทางออกหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องคว่ำไปอีกรอบ
สถานการณ์ทางการเมืองตลอดปี 2558 มีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมไทย และการทำงานของเว็บไซต์ประชามติ ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข หนึ่งในผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ จะมาสรุปบทเรียนในปีที่ผ่านมา และมองเป้าหมายการทำงานในอนาคตของเว็บไซต์
จากการทำงานมาเกือบหนึ่งปีของเว็บไซต์พบว่า มีความคิดเห็นมากมายที่หลบซ่อนอยู่ในสังคม เราจึงขอให้โตมร ศุขปรีชา คอลัมนิสต์ และพิธีกรรายการ "วัฒนธรรมชุบแป้งทอด" หนึ่งในผู้เฝ้ามองสังคมไทย เป็นผู้วิเคราะห์สิ่งที่ซ่อนอยู่ในผลการโหวตของเว็บไซต์ประชามติ
เกือบจะครบหนึ่งปีแล้วที่เว็บไซต์ประชามติ (prachamati.org) เปิดตัวมา  “จอน อึ๊งภากรณ์” ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ผู้ผลักดันเว็บไซต์แห่งนี้ได้ย้อนทบทวนการทำงานของเว็บไซต์ประชามติที่ผ่านมาว่ามีส่วนสร้างการมีส่วนร่วมในสังคมได้แค่ไหน และมองไปข้างหน้าว่าในปี 2559 นี้ที่รัฐบาลบอกว่าจะมีการทำประชามติจริงนั้น ทิศทางของเว็บประชามติจะเป็นอย่างไร  
เว็บประชามติ prachamati.org เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นบนโลกออนไลน์ในประเด็นรัฐธรรมนูญและประเด็นทางสังคมต่างๆ ที่สามารถเข้ามาโหวตเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยในประเด็นที่สนใจได้ง่ายๆ ผ่านการล็อกอินบัญชีผู้ใช้ facebook  และมีวิธีเก็บข้อมูลที่มีความปลอดภัยสูง ผู้ใช้จึงมั่นใจได้ว่าข้อมูลของตนจะไม่รั่วไหล
ชาวเน็ตเห็นด้วย ให้ปฏิรูปโครงสร้างองค์กรปกครองท้องถิ่น อาทิ ยกระดับ อบต. เป็น เทศบาล การยุบเลิก อบจ. ให้ทำหน้าที่อำนวยการให้ อปท. ขนาดเล็ก แต่ทั้งนี้เห็นว่ายังต้องมีการเลือกตั้งทั้งหมด ไม่เอาแบบสัดส่วนครึ่งๆ กับข้าราชการ นอกจากนี้ ยังมีผู้เข้าใจผิดจำนวนมากว่า การปฎิรูปดังกล่าวให้ยกเลิกองค์กรปกครองท้องถิ่นไปเลย
เปิดผลโหวตเว็บประชามติ ชาวเน็ต 92 % ไม่เห็นด้วย การเรียกกำลังพลสำรอง เพราะกำลังพลปัจจุบันมีจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อนายจ้างที่ยังต้องจ่ายเงินเดือน เพิ่มภาระทางครอบครัวต่อคนทำงาน และอาจเปิดช่องให้มีการคอร์รัปชั่น แนะควรเพิ่มประสิทธิกองทัพด้วยเทคโนโลยีมากกว่าปริมาณกำลังพล หากต้องการกำลังพลสำรองจริงควรเป็นระบบสมัครใจ
16-17 พฤศจิกายน 2558 สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลจัดงาน "ถกแถลงร่างรัฐธรรมนูญ 2559" โดยมีผู้เข้าร่วมจากภาคส่วนต่างๆ อาทิ นักกฎหมาย นักการเมือง นักวิชาการ ภาคประชาสังคม รวมกว่า 60 คน เพื่อทำประเด็นสำคัญที่ควรจะบรรจุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ
3 ข้อดี กับ 6 เหตุผลที่ต่างประเทศไม่ยอมใช้กลไกของระบบเลือกตั้งใหม่ที่กรรมการร่างรัฐธรรมนูญเสนอ เพราะเป็นระบบเลือกตั้งที่ไม่สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน และไม่เอื้อให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขัน ดังนั้นการเปลี่ยนระบบเลือกตั้ง อาจไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา เท่ากับการยอมรับผลการเลือกตั้ง
หลัง กรธ. วางกรอบระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนนำคะแนนผู้ที่ไม่ได้รับเลือกเป็น ส.ส.ระบบเขต มารวมกับระบบบัญชีรายชื่อ ‘วรเจตน์’ เตือนออกแบบระบบเลือกตั้งให้ได้รัฐบาลผสม ไม่เป็นผลดีไร้เสถียรภาพ สภาไม่ฟังก์ชั่น แนะต้องคำนึงหลักความยุติธรรมของการนับคะแนนเสียงกับประสิทธิภาพในการทำงานของสภาฯ

Pages