ที่มาของสมาชิกวุฒิสภาตามร่างรัฐธรรมนูญใหม่เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 2993 คน
เห็นด้วย 475ไม่เห็นด้วย 2518

รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่กำหนดให้วุฒิสภา (ส.ว.) มาจากการเลือกตั้ง ข้อดีของการที่ ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง คือให้อำนาจประชาชนในการตัดสินเลือกผู้แทนของตนเองในแต่ละพื้นที่ ไม่ผูกขาดอำนาจการเลือกไว้ให้กับคนไม่กี่กลุ่ม สำหรับที่มาของ ส.ว.ตามร่างรัฐธรรมนูญ 2558 จะมาจากคัดเลือกของกลุ่มต่างๆ เช่น ข้าราชการระดับสูง อดีตผู้บัญชาการเหล่าทัพ หรือผู้แทนองค์กรวิชาชีพ ซึ่งจะทำให้ได้ผู้แทนที่มีความหลากหลายทางวิชาชีพ และอาจจะช่วยลดข้อครหาเรื่องสภาผัวเมีย    

 

 

สำหรับที่มาของ ส.ว. ตามร่างรัฐธรรมนูญ 2558 มาตรา 121 บัญญัตให้มี ส.ว.จำนวนไม่เกิน 200 คน โดยมีที่มาดังนี้ 

"(1) ผู้ซึ่งเคยเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่าซึ่งเป็นตำแหน่งบริหาร และข้าราชการฝ่ายทหารซึ่งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หรือผู้บัญชาการเหล่าทัพ ซึ่งเลือกกันเองในแต่ละประเภท ประเภทละไม่เกิน 10 คน

(2) ผู้แทนสภาวิชาชีพ องค์กรวิชาชีพ หรืออาชีพที่มีกฎหมายจัดตั้ง ซึ่งเลือกกันเอง จำนวนไม่เกิน 50 คน

(3) ผู้แทนองค์กรด้านเกษตรกรรม ด้านแรงงาน ด้านวิชาการ ด้านชุมชน และด้านท้องถิ่น ซึ่งเลือกกันเอง จำนวนไม่เกิน 30 คน

(4) ผู้ทรงคุณวุฒิและคุณธรรมด้านการเมือง ความมั่นคง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การปกครองท้องถิ่น การศึกษา การเศรษฐกิจ การสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ผังเมือง ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคม ชาติพันธุ์ ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม คุ้มครองผู้บริโภค ด้านเด็กเยาวชน สตรี ด้านผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ และด้านอื่น ซึ่งมาจากการสรรหา จำนวน 58 คน

(5) ผู้ซึ่งมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละ 1 คน โดยให้เลือกตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิและคุณธรรมตามด้านต่าง ๆ ซึ่งได้รับการคัดกรองจังหวัดละไม่เกิน 10 คน ในกรณีที่มีจังหวัดเพิ่มขึ้น ให้ลดจำนวนที่พึงมีตาม (4) เมื่อถึงคราวที่มีการสรรหา และเพิ่มจำนวนตาม (5) ให้ได้เท่าจำนวนจังหวัดที่เพิ่มขึ้น"

สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิและคุณธรรมด้านต่างๆ ตาม (4) จะมีคณะกรรมการสรรหา โดยผู้ที่สมัครเข้ารับการสรรหามีสิทธิสมัครเข้ารับการเลือกตั้งตาม (5)

ขณะที่ผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งตาม (5) ต้องผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการกลั่นกรอง โดยคณะกรรมการชุดนี้จะคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิและคุณธรรมในแต่ละจังหวัด ให้เหลือจำนวนไม่เกิน 10 คน เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดนั้นๆ ได้ออกเสียงคะแนนเลือกตั้ง  

สถานะการเปิดให้โหวต: 
เปิดให้โหวต

แสดงความเห็น

ประเด็นสนับสนุน

ผู้แทนปวงชนไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้งเสมอไปจึงจะเป็นประชาธิปไตย เพราะการเลือกตั้งมักจะได้ตัวแทนในเชิงพื้นที่เท่านั้น ทำให้ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งมาจากกลุ่มนักการเมืองเดิมที่มีฐานเสียงอยู่ในเขตจังหวัด หากมีการสรรหาผู้แทนด้วยวิธีนี้จะทำให้ได้ผู้แทนประชาชนอีกกลุ่มที่เคยมีบทบาททางการเมือง เช่น กลุ่มนักวิชาการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ข้าราชการทหาร พลเรือน และภาคประชาสังคม ซึ่งมีหลายประเทศที่ ส.ว.ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เช่น สหราชอาณาจักร และประเทศแคนาดา

Votes: ชอบ 2 ไม่ชอบ 17 5 ความเห็น

สังคมไทยยังอยู่ในระบบอุปถัมภ์ทำให้เกิดรูปแบบการใช้อำนาจทางการเงินอุปถัมภ์นักการเมืองและประชาชน และอ้างความชอบธรรมจากความนิยมของประชาชนเพื่อขยายฐานอำนาจทางการเมืองให้เข้มแข็งจนกลายเป็นการผูกขาดหรือเผด็จการทางการเมือง ประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องประชาธิปไตย อาจถูกซื้อสิทธิขายเสียงได้ จึงต้องใช้วิธีการสรรหาเพื่อให้ได้มาซึ่ง ส.ว. ที่มีคุณธรรม ความรู้ และความสามารถ

Votes: ชอบ 3 ไม่ชอบ 12 0 ความเห็น

ประสบการณ์จากรัฐธรรมนูญ 2540 ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งอย่างเดียวทำให้เกิด “สภา ผัว-เมีย” ตัวอย่างในปี 2549 มี ส.ว.จากการเลือกตั้งทั้งหมด 200 คน มีจำนวนถึง 47 คน ที่เป็นเครือญาติของ ส.ส. จะทำให้การตรวจสอบกลั่นกรองอะไรทำได้ยาก เนื่องจาก ส.ส. และ ส.ว. มีฐานเสียงเดียวกัน

Votes: ชอบ 3 ไม่ชอบ 9 3 ความเห็น

ฐานที่มาของ ส.ว.ที่ต่างกัน 3 รูปแบบจะทำให้ได้ ส.ว.ซึ่งเป็นกลุ่มตัวแทนที่หลากหลาย ซึ่งจะต้องทำงานร่วมกัน และส่งผลให้คานอำนาจซึ่งกันและกัน 

Votes: ชอบ 2 ไม่ชอบ 6 1 ความเห็น

โครงสร้าง ส.ว.ใหม่ จะผนวกรวมทุกภาคส่วนในสังคม เช่น ให้อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตประธานรัฐสภา และ อดีตผู้นำเหล่าทัพ สามารถเข้ามาดำรงตำแหน่งได้เป็นการเปิดให้บุคคลเหล่านี้เข้ามา เพราะเป็นผู้มีอำนาจอย่างแท้จริง หากไม่เปิดโอกาสจะมีความขัดแย้งอีก

เปิดโอกาสให้ตัวแทนทุกอาชีพเข้ามา เอาคนซึ่งไม่มีเสียง คนตัวเล็กตัวน้อย คนที่ไม่มีเงิน คนชายขอบ คนที่เป็นตัวแทนชาติพันธุ์ คนที่เป็นผู้พิการทุพพลภพ คนที่เป็นตัวแทนเกษตรกร คนที่เป็นตัวแทนแรงงานเข้ามา คนเหล่านี้ถ้าลงเลือกตั้งอาจไม่มีโอกาสชนะ เพราะด้วยข้อจำกัดเรื่องทุน

Votes: ชอบ 0 ไม่ชอบ 6 2 ความเห็น

การให้อำนาจกับสมาชิกวุฒิสภามากขึ้น แต่ขาดความเชื่อมโยงกับประชาชน รวมถึงการมีองค์กรคัดเลือกผู้ที่จะมาให้ประชาชนเลือก โดยเน้นคำว่าคุณธรรมนั้น เป็นสิ่งที่ไม่สะท้อนถึงความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง รวมถึงเป็นการยัดเยียดนิยามของคำว่าคุณธรรมตามแบบของตนให้กับสังคม

Votes: ชอบ 6 ไม่ชอบ 0 0 ความเห็น

ประเด็นคัดค้าน

การให้เหตุผลว่าควรจะมีตัวแทนของกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มวิชาชีพเพื่อความหลากหลายและสมดุลในโครงสร้างอำนาจนั้น แท้จริงแล้วมีเหตุผลไม่เพียงพอ เพราะในท้ายที่สุด เมื่อบุคคลนั้นเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ ส.ว.เขาก็จะได้รับฐานะเป็นผู้แทนปวงชนทั้งประเทศ ซึ่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อประชาชนอย่างเป็นธรรมและเสมอภาค 

ดังนั้นหากบุคคลนั้นผ่านการเลือกตั้ง เขาก็จะเป็นตัวแทนของคะแนนเสียงที่หลากหลายไม่ใช่จำกัดเฉพาะกลุ่มอาชีพ

Votes: ชอบ 16 ไม่ชอบ 0 6 ความเห็น

บทเรียนจากรัฐธรรมนูญ 2550 คือ คณะกรรมการสรรหา ส.ว. ส่วนใหญ่เป็นตัวแทนจากศาลซึ่งไม่มีความยึดโยงกับประชาชน ทำให้แนวโน้มของการได้ตัวแทนในแต่ละด้านไม่มีความหลากหลายจริง และคนที่เข้ามาเป็น ส.ว.สรรหา อาจไม่ได้เป็นตัวแทนของกลุ่มนั้นอย่างแท้จริง

อีกทั้งไม่มีหลักประกันที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าจะไม่มีอาชีพใดตกสำรวจ เช่น แม่บ้าน คนกวาดขยะ หรือ ช่างตัดผม จะสามารถมีตัวแทนได้หรือไม่ ถ้าไม่มีหลักประกัน อาชีพที่จะได้เป็น ส.ว.ก็มีเพียงไม่กี่อาชีพ เช่น แพทย์ ทนายความ วิศวกร สถาปนิก เป็นต้น ซึ่งเป็นอาชีพที่เป็นที่ยอมรับในสังคมเท่านั้น 

Votes: ชอบ 8 ไม่ชอบ 2 1 ความเห็น

การกำหนดให้ ส.ว.มาจากการคัดเลือกกันเองของอดีตข้าราชการระดับสูงและผู้บัญชาการเหล่าทัพ จะเป็นการเพิ่มอำนาจให้อดีตข้าราชการของรัฐ ทำให้พรรคข้าราชการมีขนาดใหญ่ มีอำนาจต่อรองสูง กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เป็นการลดอำนาจประชาชน 

Votes: ชอบ 9 ไม่ชอบ 0 1 ความเห็น

ส.ว.ไม่ได้มีที่มาจากการเลือกตั้งแต่มีจำนวนมากถึง 200 คน และมีอำนาจมากกว่า ส.ส. เช่น 

1. เสนอกฎหมายได้ 
2. ตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีได้ 
3. เปิดอภิปรายทั่วไป โดยไม่มีการลงมติได้ 
4. ตรวจสอบประวัติผู้ที่จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี 
5. เสนอให้สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติตรวจสอบจริยธรรมของนักการเมือง ข้าราชการ และองค์กรอิสระ 
6. เสนอถอดถอนนักการเมือง ข้าราชการออกจากตำแหน่งได้ 
7. เลือกบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งในองค์กรตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญ 

ดังนั้นหากไม่มีที่มาจากการเลือกตั้งก็ควรจำกัดอำนาจให้น้อยลง

Votes: ชอบ 7 ไม่ชอบ 1 3 ความเห็น

วันที่ 3 พฤษภาคม 2558 กรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน ประเด็นที่อยากให้แก้ไขมากที่สุดในร่างรัฐธรรมนูญ 5 อันดับแรก โดยหนึ่งในนั้นคือการแก้ไขที่มา ส.ว. ซึ่งพบว่าประชาชน ร้อยละ 25 อยากให้แก้ที่มาของ ส.ว.ให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด 

ทั้งนี้ มีการวิเคราะห์กันว่าการให้ ส.ว.มาจากการสรรหา ทำให้ระบอบประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้งถอยหลัง แล้วอาจส่งผลให้ประชาชนที่ศรัทธาในประชาธิปไตยออกมาต่อต้าน 

Votes: ชอบ 6 ไม่ชอบ 0 2 ความเห็น