ข่าว
ประเทศไทยเคยผ่านการทำประชามตืหนึ่งครั้งคือการออกเสียงประชามติรัฐธรรมนูญ 2550 แม้ผลของการทำประชามติจะสรุปว่าคนไทยเกินครึ่งประเทศเห็นชอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่หากมองลึกลงในการทำประชามติครั้งนั้นจะพบข้อกังขาอยู่หลายประการ สฤณี อาชวานันทกุล สรุปบทเรียนจากการทำประชามติรัฐธรรมนูญ 2550 และชวนทุกคนเสนอประชามติที่แท้จริง
เครือข่ายพลเมืองเสวนา เปิดตัวเว็บไซต์ www.citizenforum.in.th เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ และสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน ทั้งในรูปแบบ “ออนไลน์” และ “ออฟไลน์” โดยในงานมีตัวแทนจากภาคหลายภาคส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นกระบวนการมีส่วนร่วมในร่างรัฐธรรมนูญ
ในการลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญให้อนุญาตการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกันฝ่ายสนับสนุนได้รับชัยชนะจากคะแนนสนับสนุนร้อยละ 62.1 ต่อ 37.9 ท่ามกลางบรรยากาศของการเฉลิมฉลองให้กับ "ความเสมอภาค" จากกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน ขณะที่ฝ่ายรณรงค์คัดค้านกล่าวแสดงความยินดีต่อผู้ชนะ
ดูเหมือนว่าร่างรัฐธรรมนูญไทย 2558 จะได้รับอิทธิพลจากรัฐธรรมนูญเยอรมันไม่น้อย เช่น ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมที่ไทยเราอ้างว่าอาจจะก้าวหน้ากว่าเยอรมัน หรือการเลือกนายกรัฐมนตรีและการที่นายกฯ สามารถขอมติไว้วางใจตนเองจากสภาผู้แทนราษฎรได้ ก็เป็นประเด็นที่มีความคล้ายคลึงกันที่น่าพิจารณาถึงความเหมือนต่างของรัฐธรรมนูญทั้งสองประเทศ
วันที่ 19 พฤษภาคม 2558 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงมติการประชุมร่วมระหว่างคณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 เพื่อให้มีการทำประชามติ อย่างไรก็ตามคำถามสำคัญของการลงประชามติครั้งนี้คือ ถ้าประชาชนไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ผลลัพธ์ที่จะเป็นที่ยอมรับคืออะไร?
วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี คาดเสนอแก้ไข รธน. ชั่วคราวได้ มิ.ย.นี้ เพื่อเปิดทางทำประชามติ และจะได้ทำประชามติไม่เกิน ม.ค. 59 ยอมรับการทำประชามติกระทบโรดแมป ขยับไป 3-4 เดือน ส่วนการจัดการเลือกตั้งน่าจะไม่เกิน ส.ค. 59
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมร่วมระหว่างคณะรัฐมนตรี (ครม.) และ คสช. มีมติเห็นชอบให้แก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพื่อทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยการทำประชามติก็จะใช้เวลา 3 เดือน
เว็บไซต์ Prachamati.org เปิดผลการออกเสียงในประเด็นร่างรัฐธรรมนูญ สามประเด็น เผยผู้ใช้เน็ต 93% อยากให้มีการทำประชามติ 87% ไม่เห็นด้วยกับการเขียนที่มา ส.ว. และ 90% ไม่เอานายกคนนอก
วันนี้ (18 พ.ค. 2558) เวลา 12.30 น. เว็บไซต์ประชามติเปิดผลโหวต 3 ประเด็นเพื่อสื่อสารต่อสาธารณะ ก่อน คสช.จะประชุมและตัดสินใจ ในวันอังคารที่ 19 พ.ค. 2558 ว่าจะประกาศให้มีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่
กลุ่มพลเมืองเสวนา หรือ citizenforum ชวนติดตามความเคลื่อนไหวการขับเคลื่อนงานปฏิรูป และรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ที่ www.citizenforum.in.th และ เฟซบุ๊ก "พลเมืองเสวนา Citizen Forum"
สื่อมวลชนทางเลือกกลุ่มหนึ่ง นำโดย iLaw, ประชาไท, ไทยพับลิก้า และสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเปิด “เวที” ให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นที่มาของเว็บไซต์ Prachamati.org โดยมี “จอน อึ๊งภากรณ์” ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) เป็นผู้ผลักดัน ลองรับฟังเหตุผลว่า Prachamati.org เกิดขึ้นมาได้อย่างไร