ข่าว

'ดิอิโคโนมิสต์' วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญว่า ขณะที่อ้างไม่ให้เกิด "เผด็จการรัฐสภา" แต่ก็ให้อำนาจองค์กรอิสระและวุฒิสภาอย่างล้นเกินเสมือนการ "เร่ขาย" เผด็จการแบบอื่นเข้ามาแทน โดยให้องค์กรเหล่านี้ทำตัวเหมือน "พี่เลี้ยงเด็ก" สำหรับนักการเมือง
ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญย้ำว่าไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอขยายเวลาทำหน้าที่ของ กมธ.ยกร่าง รธน. และ สปช. ส่วนกระบวนการยกร่าง รธน. หากมีเวลาจะเชิญนักการเมืองให้ข้อเสนอแนะด้วย พร้อมทบทวนทุกประเด็นที่เห็นต่าง แต่อยากให้ทดลองใช้รัฐธรรมนูญไปก่อน 5 ปี ขณะเดียวกันพรรคการเมืองต้องปรับให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นด้วย
อรุณี สัณฐิติวณิชย์ และ ณรุจน์ วศินปิยมงคล ตั้งข้อสังเกตต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในหลายประเด็น อาทิ 'การเลือกตั้งบัญชีรายชื่อแบบระบบเปิด'  อาจเกิดการแข่งขันภายในพรรคและทำให้เกิดความอ่อนแอของพรรคได้ และส่งผลถึงอำนาจการบริหารของคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญยังให้กำเนิดองค์กรใหม่มากกว่า 10 องค์กร และมีความพยายามสร้าง 'วัฒนธรรมการเมืองใหม่' ที่มุ่งเน้นเรื่องการตรวจสอบเป็นอย่างมาก
ใบตองแห้ง และกองบก. ข่าวการเมืองประชาไท สัมภาษณ์/เรียบเรียง “รัฐธรรมนูญฉบับนี้พยายามที่จะสร้างระบอบการปกครองแบบใหม่ขึ้นมา คล้ายๆ กับย้อนไปปี พ.ศ. 2492 ที่เป็นการ Counter การอภิวัฒน์ 2475 รัฐธรรมนูญนี้มีทิศทางแบบนั้น แต่หนักกว่าปี 2492 และปี 2550 เข้าไปอีก”
ตัวแทนคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งประกอบด้วย พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา และ ศ.พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย พร้อมด้วย ศ.ดร.วิษณุ เครืองาม ออกมาชี้แจงรายละเอียดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 ซึ่งประกอบด้วยแม่น้ำ 5 สาย อาทิ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฎิรูปแห่งชาติ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมยัน มาตรา 44 ใช้เพื่อการปฎิรูปแก้ปัญหาที่รัฐบาลปกติทำไม่ได้
การที่ฝ่ายการเมืองพยายามแทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระ ทำให้องค์กรอิสระหลายแห่งถูกตั้งคำถาม ถึงความเป็นกลาง นั่นจึงกลายเป็นโจทย์สำคัญที่นำมาสู่การสังคายนาองค์กรอิสระของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างในหลายองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการ ยุบ ควบรวม ปรับอำนาจบทบาท และการตั้งองค์กรขึ้นใหม่ มีองค์กรอะไรบ้าง?
สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อเหมือนข้อต่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2534, 2549 และ 2557 พร้อมตั้งข้อสังเกตการร่างรัฐธรรมนูญหลังรัฐประหารในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา อยู่ในมือกลุ่มนักกฏหมายสาย ดร.มีชัย ฤชุพันธ์ุ, ดร.วิษณุ เครืองาม, ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ 
สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า ไปนั่งคุยกับ“ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์” ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ เพื่อหาคำตอบว่าอุปสรรคในการกำจัดคอร์รัปชัน แท้จริงแล้วคืออะไร? จะมีวิธีแก้ไขอย่างไร? และวิธีการที่ผู้มีอำนาจกำลังเดินหน้าทำอยู่ในเวลานี้ จะนำไปสู่สังคมปลอดคอร์รัปชันได้จริงหรือไม่?
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ เผยความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งผลจากการเร่งรัดโครงการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2557 ทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ ในไตรมาสแรกมีแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ 3 ตัว การลงทุนภาครัฐ การลงทุนภาคเอกชน ภาคการท่องเที่ยว แต่ภาคส่งออกติดลบ
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย  ส่งสัญญาณไปในทิศทางเดียวกันว่า การเลือกตั้งทั่วไป อาจจะไม่เกิดขึ้นภายใน พ.ศ. 2558 นอกจากนี้วิษณุคาดว่าการเมืองหลังรัฐธรรมนูญใหม่ความขัดแย้งน่าจะมีอยู่ และอาจปฏิรูปทุกด้านไม่ทัน จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลใหม่ ที่จะต้องดำเนินการต่อรัฐบาลจากปัจจุบัน และรัฐธรรมนูญใหม่จะสร้างสภาปฏิรูปใหม่มาเพื่อทำงานไปพร้อมกับรัฐสภา

Pages