ประชามติร่างรัฐธรรมนูญวัดกันที่ คะแนน "เห็นชอบ" กับ "ไม่เห็นชอบ"

มีความสับสนว่าในการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญจะนับคะแนน "โหวตโน" หรือ "โนโหวต" หรือไม่ 
 
ตอนนี้ไม่ต้องสับสน เพราะเราสองคำนี้เคยถูกใช้แตกต่างกันในวาระทางการเมืองของไทยในอดีต จึงอาจสับสนกันได้ง่าย อยากให้ทำความเข้าใจโดยลืมคำว่า "โหวตโน" หรือ "โนโหวต" ไปเลย
 
มาเริ่มกันอย่างนี้ว่า ผลของการลงประชามติครั้งนี้จะวัดกันที่จำนวนคนที่ลงคะแนน "เห็นชอบ" กับ "ไม่เห็นชอบ" ว่าฝั่งไหนเยอะกว่าเท่านั้น ส่วนคนที่กาช่อง "งดออกเสียง" หรือ ทำบัตรเสีย จะไม่นับรวมด้วย 
 
แม้ว่าเมื่อรวมจำนวนเสียงที่โหวต "ไม่เห็นชอบ" "งดออกเสียง" และ "บัตรเสีย" แล้วจะได้มากกว่าจำนวนเสียงที่ "เห็นชอบ" ก็ถือว่าเป็นการลงประชามติที่ "ผ่าน" อยู่ดี
 
 
ลองดูกรณีสมมุติถ้ามีผู้มาใช้สิทธิลงประชามติ 30 ล้านคน (ดูภาพประกอบ) 
 
+แถวแรก มีผู้เห็นชอบ 17 ล้านคน ไม่เห็นชอบ 10 ล้านคน ร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านการทำประชามติ เพราะเสียงข้างมาเห็นชอบชัดเจน
 
+แถวที่สอง มีผู้เห็นชอบ 12 ล้านคน ไม่เห็นชอบ 10 ล้านคน งดออกเสียง 5 ล้านคน ร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านประชามติ เพราะเราไม่นับคะแนนงดออกเสียงกับไม่เห็นชอบรวมกัน
 
+แถวสาม มีผู้เห็นชอบ 10 ล้านคน ไม่เห็นชอบ 7 ล้านคน งดออกเสียง 12 ล้านคน ร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านประชามติ แม้คะแนนงดออกเสียงจะมากกว่าเห็นชอบก็ตาม เพราะวัดกันที่คะแนนเห็นชอบกับไม่เห็นชอบ
 
+แถวสี่ มีผู้เห็นชอบ 10 ล้านคน ไม่เห็นชอบ 12 ล้านคน ร่างรัฐธรรมนูญจะไม่ผ่านการทำประชามติ เพราะคะแนนไม่เห็นชอบมากกว่า
 
จริงๆ การนับคะแนนเสียงข้างมากที่ลงประชามติก็ใช้หลักเกณฑ์เหมือนกับการนับคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต ในกรณีก็เหมือนกับเรามีผู้สมัครสองคน คือ นายเห็นชอบ กับ นายไม่เห็นชอบ ดังนั้นประชาชนลงคะแนนให้ใครมากสุดก็จะได้เป็น ส.ส.