ข่าว
คำว่า "ปราบโกง" เปรียบเสมือนจุดขายหลักที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งนำโดย มีชัย ฤชุพันธุ์ พยายามจะนำเสนอ แต่ทว่า วิธีการคัดกรองตรวจสอบหรือเอาผิดคนทุจริตคอร์รัปชั่นกับจำกัดอยู่แค่ "นักการเมือง" และที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ กลไกบางอย่างกลับมุ่งเน้นไปที่การเอานักการเมืองออกจากตำแหน่งทางมากกว่าลงโทษคนผิดตามกฎหมาย โดยหน้าตาของกระบวนการปราบโกงมีหลายขั้นตอน คลิกอ่านเพิ่มเติม
ศศิน เฉลิมลาภ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชื่อดังที่คร่ำหวอดในวงการหลายสิบปี ภายใต้วาทะ " ผมทำงานให้พี่สืบ" เขาดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร นอกจากประเด็นทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ศศินโด่งดังเป็นที่รู้จักหลังเดินเท้า 300 กว่ากิโลเมตรประกาศเจตนารมณ์ต้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ในผืนป่าตะวันตก ไม่กี่สัปดาห์ก่อนลงประชามติ 2559 เรามีโอกาสพูดคุยกับเขา ถึงบรรยากาศก่อนหยั่งเสียงลงคะแนนโหวต ตลอดจนเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติที่กลุ่มคนทำงานเคลื่อนไหวสิ่งแวดล้อมของเขาคิดเห็นอย่างไร
ที่ผ่านมารัฐธรรมนูญของไทยรับรองสิทธิการศึกษาฟรี 12 ปี ป.1-ม.6 ร่างฉบับใหม่คงสิทธิ 12 ปีไว้เท่าเดิมแต่ให้ร่นมาเริ่มเร็วขึ้นตั้งแต่ก่อนวัยเรียน จึงจบเรียนฟรีที่ม.3 และให้มีกองทุนช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ แนวทางจัดการศึกษามุ่งให้เป็นคนดีมีวินัย ภูมิใจในชาติ
ประเด็นว่าด้วยคณะรัฐมนตรี(ครม.) หรือรัฐบาล ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประเด็นที่พรรคการเมืองโดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย และนักวิชาการบางส่วน วิจารณ์ว่าให้อำนาจกับองค์กรตุลาการ และองค์กรอิสระ ตรวจสอบฝ่ายรัฐบาลซึ่งมีที่มาจากประชาชนแต่งเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ซึ่งขัดแย้งกับหลักการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจระหว่างทุกฝ่าย
“เรื่องสิทธิเสรีภาพแทนที่จะเขียนลอยๆ ว่ามีสิทธิอะไรให้ไปเรียกร้องเอาเอง คราวนี้เขียนใหม่ให้เป็นหน้าที่ของรัฐ หน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐไปทำให้สิทธินั้นเกิดขึ้น อะไรที่คิดว่าทำให้เกิดการพัฒนาในทางที่ดีขึ้นถ้าประชาชนไปใช้สิทธินั้น เราก็เขียนให้เป็นหน้าที่ของรัฐ” มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)
เว็บไซต์ประชามติ เปิดให้ประชาชนทั่วไปในโลกออนไลน์ ลงคะแนนเสียงออนไลน์สองคำถามประชามติทางเพจเฟซบุ๊ก ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ร้อยละ 85 ไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ และร้อยละ 93 ไม่เห็นชอบคำถามพ่วง
'สิทธิชุมชน' เป็นอีกประเด็นที่มีความเห็นแตกต่างกันในสังคมว่า ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ จะช่วยคุ้มครองและทำให้สิทธิของชุมชนใช้ได้จริงในทางปฏิบัติมากขึ้นหรือน้อยลง เนื่องจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ‘ตัดสิทธิ’ การแสดงความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการของรัฐ ที่เคยเขียนไว้
ในช่วงเกือบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมาหากไม่นับรวมรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้วประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้อย่างเป็นทางการและกำลังอยู่ในกระบวนการประชามติรวม 3 ฉบับ น่าสนใจว่า การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญแต่ละครั้งมีพัฒนาการอะไรดีๆ เกิดขึ้นบ้างกับสิทธิและเสรีภาพในกฎหมายแม่บทสำคัญของไทย การจะทำความเข้าใจภาพการเปลี่ยนแปลงนี้ จึงอยากชวนกันอ่าน “สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย” ผ่านรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับ
ที่มา ส.ว. ในร่างรัฐธรรมนูญมีชัย แบ่งออกเป็นสองช่วงเวลา คือ หนึ่ง ช่วงระยะ 5 ปี นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ ที่ให้ ส.ว. มาจากการแต่งตั้งของ คสช. ทั้งหมด แล้วหลังจากนั้น ค่อยเปลี่ยนที่มาของ ส.ว. ใหม่ ให้มาจากการคัดเลือกกันเองของแต่ละกลุ่มอาชีพโดยไม่มีการเลือกตั้ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อำนาจของ ส.ว. ทั้งสองช่วงก็ยังเหมือนเดิม เช่น การตรวจสอบฝ่ายบริหาร การพิจารณากฎหมาย และการแต่งตั้งบุคคลในองค์กรอิสระ เป็นต้น
เว็บประชามติ ชวนทุกคนมาอ่านข้อมูลเกี่ยวกับสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับลงประชามติ) เพื่อเตรียมพร้อมก่อนกำหนดอนาคตประเทศร่วมกัน ในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ โดยทางเราได้รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ ที่เป็นประเด็นหรือสาระสำคัญหลังมีร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับลงประชามติ) ออกมาเมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา