ตั้งคณะกรรมการเสริมสร้างความปรองดอง เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 977 คน
เห็นด้วย 278ไม่เห็นด้วย 699

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีความแตกต่างที่เด่นชัดจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ คือ ในภาค 4 มีการเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศและการสร้างสร้างความปรองดองเข้ามา เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ข้อที่ 4 ของการร่างรัฐธรรมนูญคือการนำชาติสู่สันติสุข
โดยเนื้อหาในภาค 4 หมวด 3 กำหนดให้มีคณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติ ประกอบด้วยกรรมการไม่เกิน 15 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่เป็นฝักฝ่ายทางการเมืองหรือความขัดแย้ง และผู้ซึ่งเป็นผู้นำความขัดแย้ง ส่วนที่มา วาระการดำรงตำแหน่ง อำนาจหน้าที่ การดำเนินงาน หน่วยธุรการและการอื่นที่จำเป็นให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติบัญญัติ  (มาตตรา297)

คณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

1. ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อหาสาเหตุแห่งความขัดแย้ง ความเสียหายที่เกิดขึ้นและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขต่อคณะรัฐมนตรีหรือรัฐสภา ทั้งนี้ โดยพิจารณารายงานหรือผลการศึกษาที่องค์กรต่างๆ จัดทำขึ้น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

2. เสริมสร้าง ดำเนินการ และประสานงานให้เกิดสภาวะที่เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์และปรองดองในหมู่ประชาชนทั้งประเทศ ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้และใช้กระบวนการแก้ปัญหาความขัดแย้งร่วมกันและสร้างเครือข่ายในการสร้างความปรองดองในภาคส่วนต่างๆ ให้มีกระบวนการสร้างความปรองดองเกิดขึ้น

3. เป็นคนกลางในการประสานระหว่างผู้นำความขัดแย้งทุกกลุ่มเพื่อลดหรือยุติความขัดแย้งระหว่างกัน

4. รวบรวมข้อเท็จจริงและทำรายงานเกี่ยวกับความขัดแย้ง การละเมิดกฎหมาย การละเมิดสิทธิมนุษยชนและผู้ที่เกี่ยวข้องที่เป็นผู้กระทำ ทั้งนี้ การจะเปิดเผยชื่อผู้ที่เกี่ยวข้องหรือข้อมูลอื่นใดที่ทำให้ทราบได้ว่าเป็นผู้ใดไม่ได้ เว้นแต่จะเป็นการเปิดเผยตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติ

5. ให้การเยียวยาความเสียหายแก่ผู้เสียหายและครอบครัว รวมทั้งฟื้นฟูศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และจิตใจของผู้ได้รับผลกระทบ

6. เสนอให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษแก่บุคคลซึ่งให้ความจริงอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่การดำเนินงาน และผู้กระทำซึ่งได้แสดงความสำนึกผิดต่อคณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติแล้ว

7. ให้การศึกษาและเรียนรู้แก่สาธารณชนเพื่อให้ตระหนักถึงผลของความรุนแรง ความเกลียดชังรวมทั้งความจำเป็นและประโยชน์ของการใช้สันติวิธีแก้ปัญหาความรุนแรง ตลอดจนสร้างเครื่องเตือนใจให้สังคมรำลึกถึงผลร้ายและความเสียหายที่เกิดขึ้นเพื่อจะร่วมกันป้องกันมิให้เกิดเหตุดังกล่าวอีก

8. ส่งเสริมและเสนอแนะการปฏิรูปเพื่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคม โดยเฉพาะกระบวนการยุติธรรม โดยเคารพความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรมและเสนอร่างพระราชบัญญัติเพื่อการดังกล่าวต่อคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยเพื่อเสนอต่อรัฐสภา

9. ดำเนินการอื่นตามที่กฎหมายว่าด้วยการเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติบัญญัติ

คณะรัฐมนตรี รัฐสภา และหน่วยงานของรัฐ ต้องให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติ รวมทั้งต้องจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอแก่การดำเนินการของคณะกรรมการเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติ
ทั้งนี้ ความในภาค 4 ทั้งหมดรวมถึงคณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติจะมีอายุเพียง 5 ปี ยกเว้นพลเมืองผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน รัฐสภา หรือคณะรัฐมนตรีเสนอจัดให้มีการลงประชามติต่ออายุได้อีกไม่เกิน 5 ปี (มาตรา278)

สถานะการเปิดให้โหวต: 
ปิดการโหวต

แสดงความเห็น

ประเด็นสนับสนุน

คณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติเป็นกลุ่มบุคคลน่าเชื่อถือเพราะพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ฝักฝ่ายทางการเมืองหรือความขัดแย้ง และผู้ซึ่งเป็นผู้นำความขัดแย้ง จึงทั้งผู้ที่มีความเป็นกลางและตัวแทนของขั้วขัดแย้ง เหมาะสมที่จะเป็นผู้ประสาน แก้ไขปัญหาการเมืองสองขั้วขัดแย้ง อีกทั้งคณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติมีเวลาทำงานจำกัดเพียง 5 ปี แสดงถึงความบริสุทธิ์ใจที่จะเข้ามาทำงานแก้ปัญหา ไม่มีเป้าหมายซ่อนเร้นเพื่อสืบทอดอำนาจ

Votes: ชอบ 0 ไม่ชอบ 4 0 ความเห็น

คณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติมีหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์สาเหตุของความขัดแย้ง และเสนอแนะแนวทางแก้ไข ซึ่งจะช่วยให้ประเทศชาติสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่เคยเกิดขึ้นได้
นอกจากนี้ คณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติยังมีหน้าที่ให้การศึกษาและเรียนรู้แก่สาธารณชนเพื่อให้ตระหนักถึงผลของความรุนแรง ความเกลียดชัง รวมทั้งความจำเป็นและประโยชน์ของการใช้สันติวิธีแก้ปัญหาความรุนแรง ซึ่งจะช่วยให้คนในสังคมได้เรียนรู้บทเรียนจากเหตุการณ์ในอดีตและเลือกใช้สันติวิธีในการแก้ปัญหามากขึ้น

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 2 2 ความเห็น

ที่ผ่านมาประเทศไทยเผชิญกับวิกฤตทางการเมืองมาอย่างยาวนาน นำไปสู่การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก รวมถึงเกิดความแตกแยกในสังคม การมีคณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติซึ่งเป็นคนกลาง ไม่ฝักฝ่ายการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะช่วยสร้างบรรยากาศของความสมานฉันท์ เสริมสร้างความปรองดองระหว่างคนในชาติให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมประชาธิปไตยที่มีความแตกต่างหลากหลาย และสร้างแนวทางที่จะนำพาประเทศไปสู่ความมีเสถียรภาพและสันติสุขอย่างยั่งยืน

Votes: ชอบ 0 ไม่ชอบ 2 0 ความเห็น

หน้าที่หนึ่งของคณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติ คือการรวบรวมข้อเท็จจริงและทำรายงานเกี่ยวกับความขัดแย้ง การละเมิดกฎหมาย การละเมิดสิทธิมนุษยชนและผู้ที่เกี่ยวข้องที่เป็นผู้กระทำ ซึ่งการมีคนกลางที่น่าเชื่อถือมาค้นหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นและได้รับยอมรับจากสังคม ทำให้ผู้ได้รับผลกระทบทั้งสองฝ่ายรู้สึกว่าได้รับความยุติธรรมจากคนกลาง รวมถึงมีการเยียวยาความเสียหายแก่ผู้เสียหายและครอบครัวอย่างเป็นธรรม

Votes: ชอบ 0 ไม่ชอบ 1 0 ความเห็น

ประเด็นคัดค้าน

เนื่องจากที่มาของคณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติยังไม่มีความชัดเจน ระบุเพียงว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ฝักฝ่ายทางการเมืองหรือความขัดแย้ง และผู้ซึ่งเป็นผู้นำความขัดแย้ง ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบันที่สังคมแตกเป็นสองฝ่าย การหาคนที่เป็นกลางจริงๆ เป็นเรื่องยาก และไม่มีเกณฑ์ตายตัวที่จะตัดสินได้ว่าใครเป็นกลางหรือไม่ หากคณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม การดำเนินงานต่างๆ เพื่อแก้ปัญหา และลดความขัดแย้งของคณะกรรมการฯ ก็จะไร้ความหมาย มิหนำซ้ำอาจยิ่งทำให้ความขัดแย้งลุกลามบานปลายกว่าเดิม

Votes: ชอบ 3 ไม่ชอบ 0 0 ความเห็น

แม้ว่ากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะออกมาปฏิเสธว่าการอภัยโทษในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ใช่การนิรโทษกรรม โดยการอภัยโทษจะต้องยอมรับผิดก่อนถึงจะอภัยโทษได้ และแม้จะอภัยโทษแต่ความผิดยังคงอยู่ ต่างจากนิรโทษกรรมที่ยกโทษให้ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม มีเสียงจากทั้สองสองฝ่ายของคู่ขัดแย้งแสดงความกังวลว่าจะมีการนิรโทษกรรมให้กับนักการเมืองหรือผู้นำทางการเมืองที่มีความผิดร้ายแรงทั้งหมด โดยไม่ต้องรับโทษ

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 1 0 ความเห็น

ตามอำนาจหน้าที่ข้อ 6 คณะกรรมการฯ สามารถเสนอตราพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษแก่ผู้ที่ให้ความจริงที่เป็นประโยชน์ และผู้กระทำที่แสดงความสำนึกผิดต่อคณะกรรมการฯ นั้น เป็นเรื่องพิสูจน์ยากว่าการแสดงความสำนึกผิดเป็นไปด้วยความจริงใจหรือไม่ ยิ่งไปกว่านั้น คู่ขัดแย้งอาจมองว่าเพียงการสำนึกผิดอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะได้รับการอภัยโทษ เพราะเมื่อเทียบกับความสูญเสียที่ได้ผู้เสียหายได้รับแล้ว ผู้เสียหายอาจรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 1 0 ความเห็น

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอิสระเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติข้อที่ 6 กำหนดว่า คณะกรรมการฯ มีอำนาจหน้าที่เสนอให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษแก่บุคคลซึ่งให้ความจริงอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่การดำเนินงาน และผู้กระทำซึ่งได้แสดงความสำนึกผิดต่อคณะกรรมการฯ แล้วประเด็นนี้มีความกังวลจากหลายฝ่ายถึงความไม่ชัดเจนของเกณฑ์การอภัยโทษ เกรงว่าจะมีการเจรจาต่อรองกันเพื่อให้ได้รับการอภัยโทษ อาทิ วันชัย สอนศิริ โฆษกกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิป สปช.) เห็นว่า จะต้องเขียนให้ชัดเจนกว่านี้ หรือไม่ก็ตัดทิ้ง ถ้าคลุมเครือจะเปิดช่องให้รัฐบาลชั่วเข้ามาใช้ประโยชน์

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 0 0 ความเห็น

การตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งที่เชื่อว่ามีความเป็นกลางมาแก้ปัญหาความขัดแย้งแทนคนทั้งประเทศ และจะสร้างความปรองดองขึ้นในชาติไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่ายๆ เพราะปัญหามีความซับซ้อน ใหญ่โต ฝังลึก และเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก เพียงการหาสาเหตุของปัญหา แต่ละคนก็มองเห็นสาเหตุแตกต่างกันแล้ว บางคนอาจมองว่ารากของปัญหาเป็นเรื่องกระบวนการยุติธรรม บางคนมองว่าเป็นเรื่องการไม่ยอมรับว่าเสียงของทุกคนในประเทศเท่ากัน บ้างมองว่าเป็นเรื่องการให้ความหมายต่อประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน ดังนั้น คณะกรรมการฯ 15 คนย่อมมองเห็นปัญหาต่างกัน อีกทั้งคณะกรรมการฯ ก็ไม่สามารถเป็นตัวแทนของประชาชนที่จะมาแก้ปัญหาแทนได้ ยังไม่นับว่าสาเหตุของคว

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 0 0 ความเห็น