มติรัฐธรรมนูญ

ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 1355 คน
เห็นด้วย 226ไม่เห็นด้วย 1129

ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นประเด็นหนึ่งซึ่งเป็นที่ถกเถียงในร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน โดยเฉพาะการให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสูงสุดในการวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่ามีเนื้อหาถูกต้องหรือไม่ ฝ่ายสนับสนุนเห็นว่าการเพิ่มอำนาจให้ศาลรัฐธรรมนูญมากจะเป็นการป้องการเผด็จการรัฐสภาที่มักจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้อง ส่วนฝ่ายคัดค้านเห็นว่าอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นอำนาจโดยชอบของรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนโดยผ่านการเลือกตั้ง ซึ่งการให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญมากจะเป็นการขัดกับหลักการแบ่งแยกอำนาจ

ควบรวม “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ” กับ “ผู้ตรวจการแผ่นดิน” เห็นด้วยหรือไม่ ?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 895 คน
เห็นด้วย 325ไม่เห็นด้วย 570

ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2558  ได้มีการควบรวม “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” กับ “ผู้ตรวจการแผ่นดิน” เข้าด้วยกัน เกิดเป็นองค์กรใหม่คือ “ผู้ตรวจการแผ่นดินและพิทักษ์สิทธิมนุษยชน” ซึ่งมีทั้งเสียงที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ฝ่ายที่เห็นด้วยมองว่า การควบรวมจะช่วยประหยัดงบประมาณ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ทั้งสององค์กรและช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน ขณะที่ฝ่ายไม่เห็นด้วยเชื่อว่าการควบรวมจะไม่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพราะทั้งสององค์กรมีหน้าที่และกระบวนการทำงานต่างกัน และจะทำให้ประชาชนเหลือช่องทางร้องเรียนแค่ช่องเดียว

หน้าที่พลเมืองตามที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนด เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 2132 คน
เห็นด้วย 459ไม่เห็นด้วย 1673

ร่างรัฐธรรมนูญปัจจุบันเป็นครั้งแรกที่กำหนดเนื้อหาเกี่ยวกับ “หน้าที่” ขึ้นมาก่อน “สิทธิและเสรีภาพ” โดยบทบัญญัติ “หน้าที่พลเมือง” นี้ ทำให้เกิดทั้งเสียงสนับสนุน และคำถามโต้แย้งตามมามากมาย สำหรับเสียงสนับสนุนมองว่าเป็นการยกสถานะของประชาชนเป็นพลเมือง ทำให้พลเมืองรู้หน้าที่มากขึ้น ไม่ใช่เสรีภาพตามอำเภอใจ และจะช่วยทำให้ประชาธิปไตยเข้มแข็ง แต่ก็มีข้อโต้แย้งว่าการกำหนดหลายอย่างดูจะเป็นนามธรรม โดยเฉพาะค่านิยมที่พลเมืองต้องปฏิบัติตาม ซึ่งขัดกับความเป็นจริงที่ประชาชนมีความหลากหลายและยึดถือค่านิยมที่แตกต่างกัน

ที่มาของสมาชิกวุฒิสภาตามร่างรัฐธรรมนูญใหม่เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 2993 คน
เห็นด้วย 475ไม่เห็นด้วย 2518

รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่กำหนดให้วุฒิสภา (ส.ว.) มาจากการเลือกตั้ง ข้อดีของการที่ ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง คือให้อำนาจประชาชนในการตัดสินเลือกผู้แทนของตนเองในแต่ละพื้นที่ ไม่ผูกขาดอำนาจการเลือกไว้ให้กับคนไม่กี่กลุ่ม สำหรับที่มาของ ส.ว.ตามร่างรัฐธรรมนูญ 2558 จะมาจากคัดเลือกของกลุ่มต่างๆ เช่น ข้าราชการระดับสูง อดีตผู้บัญชาการเหล่าทัพ หรือผู้แทนองค์กรวิชาชีพ ซึ่งจะทำให้ได้ผู้แทนที่มีความหลากหลายทางวิชาชีพ และอาจจะช่วยลดข้อครหาเรื่องสภาผัวเมีย    

ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 2174 คน
เห็นด้วย 232ไม่เห็นด้วย 1942

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีการบัญญัติให้จัดตั้งองค์กรขึ้นมาหลายองค์กร และหนึ่งในนั้นคือ 'สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ' โดยแนวคิดริเริ่มขององค์กรดังกล่าวเกิดขึ้นจากสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านการปฏิรูปคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล ได้เสนอให้มีการตราพระราชบัญญัติ สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ.... เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในทุกภาคส่วน อย่างไรก็ดี เนื้อสาระสำคัญเกี่ยวกับองค์กรดังกล่าวถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่จะมีการตราเป็นพระราชบัญญัติ กับ ส่วนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 3316 คน
เห็นด้วย 408ไม่เห็นด้วย 2908

นายกฯ ต้องมาจาก ส.ส.หรือไม่เป็นประเด็นถกเถียงสำคัญในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สำหรับผู้ที่เห็นด้วยว่านายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส. เห็นว่าวิกฤตการเมืองรอบหลายปีที่ผ่านมานายกฯ ที่มาจาก ส.ส.ไม่สามารถแก้ไขวิกฤตของประเทศได้การเปิดช่องให้มีนายกฯ คนกลางอาจช่วยป้องกันการรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญได้ ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วย มองว่าอาจเป็นช่องทางการแทรกแซงการเมืองของทหารโดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากประชาชน ซึ่งประเทศไทยก็ผ่านบทเรียนที่เลวร้ายจากเรื่องนี้ในเหตุการณ์พฤษภาประชาธรรม ปี 2535 

รัฐธรรมนูญใหม่ต้องผ่านการทำประชามติ เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 3135 คน
เห็นด้วย 2941ไม่เห็นด้วย 194

รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ไม่ได้กำหนดว่าหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรเสร็จจะต้องมีการทำประชามติเพื่อขอความเห็นชอบจากประชาชน อย่างไรก็ดี มีเสียงสนับสนุนให้ร่างรัฐธรรมนูญถาวรควรต้องทำประชามติ เพราะจะช่วยสร้างความชอบธรรมให้รัฐธรรมนูญเป็นที่ยอมรับ ช่วยลดความขัดแย้ง ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ขณะที่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย ให้เหตุผลว่าหากมีประชามติจะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ ไม่สามารถสะท้อนเสียงของประชาชนได้จริง และอาจทำให้การเลือกตั้งล่าช้าออกไป

Pages