รัฐธรรมนูญใหม่ต้องผ่านการทำประชามติ เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 3135 คน
เห็นด้วย 2941ไม่เห็นด้วย 194

รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 กำหนดให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ขึ้นคณะหนึ่งมีทั้งหมด 36 คน มาจากการคัดเลือกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เมื่อยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วต้องผ่านความเห็นชอบจาก สปช.จึงจะสามารถประกาศใช้รัฐธรรมนูญได้อย่างเป็นทางการ

ตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญชั่วคราวไม่ได้กำหนดว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรจะต้องผ่านการทำประชามติโดยประชาชนทั้งประเทศก่อน แต่ขณะเดียวกันก็มีเสียงเรียกร้องจากหลายภาคส่วนว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรจะต้องทำประชามติ เหมือนอย่างที่เคยมีการทำประชามติรับรองรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2550 

สำหรับเหตุผลของฝ่ายที่เห็นด้วยให้มีการออกเลียงประชามติ เช่น จะช่วยสร้างความชอบธรรมและให้รัฐธรรมนูญเป็นที่ยอมรับ จะช่วยลดความขัดแย้ง จะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ขณะเหตุผลของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย เห็นว่าหากมีการออกเสียงประชามติจะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ ไม่สามารถสะท้อนเสียงของประชาชนได้จริง และอาจทำให้การเลือกตั้งที่น่าจะมีในช่วงต้นปี 2559 ล่าช้าออกไปอีกอย่างน้อย 3 เดือน

สถานะการเปิดให้โหวต: 
ปิดการโหวต

แสดงความเห็น

ประเด็นสนับสนุน

ที่มาของรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารมีข้อจำกัดในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ เนื่องจากหลายประเทศในโลกมีแนวปฏิบัติที่เป็นกฎกติกาที่ทำให้ไม่สามารถดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศไทยได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ที่กดดันไทยอย่างหนักให้เร่งกลับสู่ระบอบประชาธิปไตย มีการเลือกตั้ง และมีรัฐบาลพลเรือนโดยเร็ว

Votes: ชอบ 34 ไม่ชอบ 0 30 ความเห็น

เป็นที่เห็นตรงกันว่าข้อดีของการทำประชามติจะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในรัฐธรรมนูญมากขึ้น ประชาชนจะมีส่วนร่วมในการเป็นผู้ตัดสินใจในขั้นสุดท้ายว่าจะรับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญ เป็นการยืนยันหลักการว่าอำนาจการตัดสินใจอยู่ที่ประชาชน หากกำหนดไว้ว่าให้ร่างรัฐธรรมนูญต้องผ่านการทำประชามติ ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดจะให้ความสำคัญกับการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและจะต้องนำเอาความเห็นเหล่านั้นไปพิจารณาอย่างจริงจัง เพราะถ้าหากไม่รับฟังความเห็นประชาชนอย่างเพียงพอร่างที่ทำเสร็จย่อมจะไม่ผ่านความเห็นชอบของประชาชน

Votes: ชอบ 25 ไม่ชอบ 1 5 ความเห็น

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่นำการร่างโดยบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากหลายกลุ่มในสังคม ไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชน นักวิชาการ นักการเมือง แม้กระทั่งสมาชิก สปช. เป็นต้น สำหรับประเด็นที่ถูกวิพากษ์อย่างหนัก เช่น นายกรัฐมนตรีคนนอก ระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม การให้มีกลุ่มการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้งได้ หรือที่มาและอำนาจของวุฒิสภา เป็นต้น

Votes: ชอบ 14 ไม่ชอบ 0 5 ความเห็น

การทำประชามติจะเป็นกระบวนการสร้างความชอบธรรม การยอมรับรัฐธรรมนูญ และลดปัญหาในอนาคต รัฐธรรมนูญที่ไม่ผ่านกระบวนการลงประชามตินั้นจะขาดภูมิคุ้มกัน เมื่อทำออกมาแล้ว ถ้าประชาชนไม่พอใจ ไม่เห็นด้วยสุดท้ายนำมาสู่ความขัดแย้ง และนำมาสู่การฉีกรัฐธรรมนูญกันอีกรอบ

(ความเห็นของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์)

Votes: ชอบ 13 ไม่ชอบ 0 3 ความเห็น

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีหลายมาตราที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะเป็นการสืบทอดอำนาจ เช่น มาตรา 172 ที่เปิดให้ผู้ที่ไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรสามารถเป็นนายกรัฐมนตรีได้ หรือ มาตรา 279 ที่มีการจัดตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศ เพื่อสืบสานงานปฏิรูปให้ต่อเนื่องจนสำเร็จ โดยในองค์กรใหม่มีที่นั่งให้สำหรับอดีต สปช. และ สนช.

Votes: ชอบ 6 ไม่ชอบ 0 3 ความเห็น

การทำประชามติจะเปิดโอกาสให้คู่ขัดขัดแย้งที่เห็นไม่ตรงกัน ได้แสดงความเห็น วิพากษ์วิจารณ์ พูดคุย แซว ซึ่งกันและกัน จะทำให้ความขัดแย้งลดลง ยอมรับเหตุผลของผู้ที่ไม่เห็นด้วยหรือเห็นด้วยมากขึ้น ใกล้ชิดกันมากขึ้น

Votes: ชอบ 11 ไม่ชอบ 0 15 ความเห็น

ควรให้มีการลงประชามติว่าต้องการใช้รัฐธรรมนูญฉบับใดหลังการเลือกตั้งระหว่าง

  • รัฐธรรมนูญ ปี 2540
  • รัฐธรรมนูญ ปี 2550
  • รัฐธรรมนูญ ปี 2558

ซึ่งการมีตัวเลือกที่มากขึ้น จะทำให้ประชาชนมีสิทธิ์ออกเสียงแสดงความต้องการของตนเองได้อย่างชัดเจน ช่วยลดความขัดแย้งทางการเมืองลงได้อีกทางหนึ่ง

Votes: ชอบ 7 ไม่ชอบ 0 1 ความเห็น

ประเด็นคัดค้าน

หากมีร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรไม่ควรทำประชามติ เมื่อเปรียบเทียบกับประสบการณ์จากการลงประชามติรัฐธรรมนูญปี 2550 ว่ามีประชาชนลงคะแนนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ แต่หลังจากนำมาใช้แล้ว ปรากฏว่าฝ่ายที่เสียอำนาจจากการรัฐประหาร ต่อต้านไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญปี 2550 อ้างว่าเป็นรัฐธรรมนูญไม่เป็นประชาธิปไตยมาจากรัฐประหาร และเหตุผลอื่นสารพัดที่จะไม่เอารัฐธรรมนูญ ทั้งที่มาจากการทำประชามติของประชาชนทั้งประเทศ 

(ความคิดเห็นของเสรี สุวรรณภานนท์ อดีตรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญปี 2550)

Votes: ชอบ 0 ไม่ชอบ 24 7 ความเห็น

การทำประชามติจะเปิดโอกาสที่จะนำไปสู่การเผชิญหน้า หรือความขัดแย้งของฝ่ายที่เห็นไม่ตรงกัน ยกตัวอย่างรัฐบาลที่ผ่านมาเคยมีการสอบถามว่าจะมีการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง หรือเลือกตั้งก่อนปฏิรูป และส่งผลให้เห็นชัดว่ามีคนที่เห็นต่างออกมาชุมนุมจนเกิดลุกลามบานปลาย ทำให้ คสช.ต้องเข้ามา ซึ่งประชาชนน่าจะไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเช่นนั้นอีก

(ความคิดเห็นของ พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกรัฐบาล)

Votes: ชอบ 0 ไม่ชอบ 17 7 ความเห็น

เพราะกลุ่มนักการเมืองที่สูญเสียอำนาจจากการรัฐประหารโดยคสช.ย่อมไม่ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้อยู่แล้ว และจะต้องออกมารณรงค์ให้ประชาชนลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ คล้ายกับที่เคยทำเมื่อการลงมติรัฐธรรมนูญ 2550 ประชาชนฝ่ายที่นิยมชมชอบกลุ่มอำนาจเก่าก็จะลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญโดยมีเจตนาแสดงออกว่าสนับสนุนกลุ่มอำนาจเก่าไม่ยอมรับอำนาจของคสช. โดยอาจจะไม่ได้แสดงเจตนาว่าเห็นด้วยหรือไม่กับหลักการในร่างรัฐธรรมนูญ

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 12 4 ความเห็น

ประมาณการกันว่าการทำประชามติแต่ละครั้งจะต้องใช้งบของรัฐประมาณ 3,000 ล้านบาท

ขั้นตอนของการยกร่างรัฐธรรมนูญประชาชนสามารถเขามามีส่วนร่วมได้อยู่แล้ว ดังนั้นการทำประชามติ ให้ประชาชนตัดสินรัฐธรรมนูญ ไม่เกิดประโยชน์ ใช้เวลานาน และเสียงบประมาณ 

(ความคิดเห็นของไพบูลย์ นิติตะวัน กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

ถ้าทำประชามติอาจเสียเงินหลายพันล้านบาท เป็นการซ้ำเติมประเทศในขณะที่เศรษฐกิจกำลังแย่ ควรนำเงินไปช่วยเหลือเกษตรกรจะดีกว่า

Votes: ชอบ 0 ไม่ชอบ 13 4 ความเห็น

รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 กำหนดไว้ว่า

มาตรา ๓๘ ในกรณีที่สภาปฏิรูปแห่งชาติพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในเวลา
ที่กําหนด หรือไม่ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ หรือร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไปตามมาตรา ๓๗
ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันสิ้นสุดลง และให้มีการดําเนินการ
เพื่อแต่งตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ขึ้น เพื่อดําเนินการแทน
ตามอํานาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ 

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 7 5 ความเห็น

วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เคยกล่าวไว้ว่าหากจะทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 เพราะรัฐธรรมชั่วคราวไม่ได้บัญญัติเรื่องการทำประชามติไว้ ซึ่งหากสรุปว่ามีการจัดทำประชามติ คาดว่าจะใช้เวลาต่อไปอีก 3 เดือน นับตั้งแต่การร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเสร็จ ทำให้คาดได้ว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม 2559

ไม่ควรมีการทำประชามติ เพราะต้องการเห็นการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด เพื่อให้สถานการณ์ในประเทศคลี่คลายไปทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งหากไม่ทำประชามติ คาดว่า ระหว่างเดือน มกราคม ถึง กุมภาพันธ์ 2559 จะสามารถจัดการเลือกตั้งได้ทันที

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 3 4 ความเห็น

การลงประชามติ ยังไงก็ผ่าน แต่นักการเมืองก็จะมาแก้ไขในภายหลังอยู่ดี

 

มีตัวอย่างมาแล้ว ที่รัฐธรรมนูณปี 50 จัดให้มีการลงประชามติ ซึ่งก็ผ่านมาได้  แต่สุดท้าย เมื่อนักการเมืองได้รับเลือกตั้งเข้ามา ก็หาเหตุในการแก้ไขบางมาตราตามที่ตนต้องการ มิหนำซ้ำบางคนยังนำไปเปรียบว่าไม่ดีเท่ารัฐธรรมนูญปี 40 ความเห็นผมคือ การทำประชามติไม่ได้ทำให้รัฐธรรมนูญเป็นที่ยอมรับโดยเฉพาะในสายตานักการเมือง 

Votes: ไม่มีคะแนน 1 ความเห็น