14 กรกฎาคม 2559 เว็บไซต์ประชามติ (www.prachamati.org) เปิดเผยข้อมูลปัญหาการของการลงประชามติในสองเรื่องคือปัญหาการลงทะเบียนออกเสียงประชามตินอกเขตจังหวัดและการแจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญและคำอธิบายสาระร่างรัฐธรรมนูญไม่ทั่วถึง เรื่องแรกปัญหาการลงทะเบียนออกเสียงประชามตินอกเขตจังหวัด วันที่ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมาสมชัย ศรีสุทธิยากร คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้เปิดเผยตัวเลขการลงทะเบียนใช้สิทธิออกเสียงประชามตินอกเขตจังหวัดตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม - 7 กรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมาว่า มียอดผู้ขอใช้สิทธิจำนวนทั้งสิ้น 325,229 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นมาจากการออกเสียงประชามติปี 2550 จำนวน 82,767 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 35 ของจำนวนผู้มาขอใช้สิทธิลงทะเบียนฯ ทั้งหมด
แม้ว่าตัวเลขผู้ลงทะเบียนฯ จะเพิ่มขึ้นแต่ทางเว็บไซต์ประชามติ กลับพบปัญหาในการลงทะเบียนฯ โดยนับตั้งแต่ที่ กกต.ได้เปิดให้ประชาชนลงทะเบียนจนกระทั่งวันนี้มีประชาชนจำนวนมากสะท้อนปัญหาผ่านเว็บไซต์ประชามติและเพจเฟซบุ๊กประชามติโดยปัญหาหลักคือ การประชาสัมพันธ์ที่ไม่เพียงพอของหน่วยงานรัฐทำให้ประชาชนจำนวนมากไม่ทราบว่าการลงทะเบียนฯ สิ้นสุดลงในวันใด ทำให้ต้องพลาดโอกาสการออกเสียงประชามติไปอย่างน่าเสียดาย เนื่องจากหลายคนติดงานไม่สามารถกลับภูมิลำเนาได้ ขณะที่บางส่วนพยายามจะลงทะเบียนออนไลน์แต่ในช่วงใกล้วันปิดลงทะเบียนปรากฏว่าเว็บไซต์ล่มไม่สามารถเข้าถึงได้ช่วงเวลาหนึ่ง ประชาชนจำนวนมากจึงเข้ามาสอบถามผ่านกล่องข้อความเพจเฟซบุ๊กประชามติ ซึ่งทางเพจฯ แนะนำว่าให้ติดต่อไปที่กกต. ตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ได้ประกาศไว้ในเว็บไซต์ของกกต. ซึ่งมีหลายคนสะท้อนกลับมาว่าหมายเลขที่ให้ไว้ไม่สามารถติดต่อได้
หลังจากที่ กกต.ได้ปิดการลงทะเบียนการออกเสียงนอกเขตจังหวัดแต่ยังคงมีประชาชนจำนวนมากทยอยส่งข้อความเข้ามาสอบถามเกี่ยวกับการลงทะเบียนฯ อย่างต่อเนื่องว่า ยังสามารถลงทะเบียนฯ และจะมีการขยายเวลาการลงทะเบียนฯ อีกหรือไม่ โดยหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่ามีคนจำนวนมากที่อยากลงทะเบียนใช้สิทธินอกเขตฯ แต่ไม่ทราบข่าวการลงทะเบียนฯ เลย และอยากให้มีการขยายเวลาลงทะเบียนฯ ออกไปอีก ที่น่าสนใจคือกรรมการประจำหน่วยออกเสียงประชามติเองก็เข้ามาถามว่าตนเองไม่ได้ลงทะเบียนฯ ไว้สามารถออกเสียงที่หน่วยที่ตนเองเป็นกรรมการได้หรือไม่ ประชาชนรายหนึ่งยังได้บอกเล่าปัญหาของการออกเสียงนอกเขตจังหวัดว่า สถานที่ที่กกต. จัดให้มีการออกเสียงนอกเขตจังหวัดมีอยู่เพียงจังหวัดละหนึ่งแห่งซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอเมืองส่งผลให้ประชาชนที่อยู่ต่างอำเภอมีความอยากลำบากจากการเดินทางไปออกเสียง นอกจากนี้ประชาชนที่อยู่ในจังหวัดเดียวกันซึ่งไม่สะดวกลงคะแนนที่อำเภอตัวเองเนื่องจากทำงานอยู่ต่างอำเภอก็ไม่สามารถลงทะเบียนได้ เพราะไม่ได้มีรายชื่ออยู่นอกเขตจังหวัด อย่างไรก็ดีการลงประชามติครั้งนี้ไม่ได้ให้สิทธิครอบคลุมไปถึงผู้ที่มีถิ่นพำนักในต่างประเทศ
เรื่องที่ 2 คือการแจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญและคำอธิบายสาระร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่ทั่วถึง โดยในวันที่ 9 กรกฎาคม 2559 เพจเฟซบุ๊คประชามติ โพสต์ถามว่า ได้รับร่างรัฐธรรมนูญและคำอธิบายสาระร่างรัฐธรรมนูญหรือยัง? โดยมีผู้ติดตามเพจให้ความสนใจในการตอบคำถามดังกล่าวกว่า 100 คนและประมาณ 80 คนตอบว่า ยังไม่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญและคำอธิบายสาระร่างรัฐธรรมนูญ โดยผู้ตอบคำถามส่วนใหญ่ ระบุว่า มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้กระจายตัวอยู่ในเขตปริมณฑลและจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ เช่น เชียงใหม่, สุพรรณบุรี, มุกดาหาร, หนองคาย, ศรีสะเกษ, ปราจีนบุรี, เพชรบุรี และนครศรีธรรมราช ขณะที่ผู้ร่วมตอบคำถามมีเพียง 5 คนที่ตอบว่า ได้รับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว โดยส่วนใหญ่ได้รับจากงานที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์ร่างรัฐธรรมนูญของหน่วยงานภาครัฐ โพสต์ดังกล่าวได้รับการแชร์ไปจำนวน 116 ครั้ง โดยส่วนใหญ่โพสต์ข้อความประกอบว่า ยังไม่ได้ร่างรัฐธรรมนูญและคำอธิบายสาระร่างรัฐธรรมนูญเช่น