จัดระเบียบทางเท้า เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 515 คน
เห็นด้วย 466ไม่เห็นด้วย 49

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีนโยบายจัดระเบียบสังคมในเรื่องการแก้ไขปัญหาผู้ค้าบนทางเท้าและบนพื้นผิวจราจร ซึ่งกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้รับสนองนโยบายและดำเนินการจัดระเบียบ โดยเริ่มต้นจากพื้นที่จุดใหญ่ๆ เช่น พื้นที่ถนนริมคลองหลอดใกล้สนามหลวง ปากคลองตลาด ตลาดโบ๊เบ๊ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และบริเวณหน้าห้างสยามพารากอน ทั้งนี้ได้เริ่มดำเนินการจัดระเบียบมาตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม 2557 นอกจากนั้น ทางกทม. เอง ยังมีนโยบายถนนสวย 10 สาย ได้แก่ ราชดำเนิน ศรีอยุธยา สุขุมวิท พระราม 4 พระราม 6 พญาไท สาทร ราชวิถี และหลานหลวง ซึ่ง กทม. จะพัฒนาให้เป็นถนนสวย เพื่อคืนความสุขให้คนกรุงเทพฯ โดยจะไม่มีหาบเร่แผงลอย และจะมีการนำต้นไม้ดอกไม้ไปตกแต่งให้สวยงาม

พื้นที่หลายแห่งข้างต้น เดิมเคยเป็นพื้นที่ที่ กทม. ผ่อนผันให้มีการตั้งแผงลอยบนทางเท้าได้ แต่ กทม. ยืนยันว่า จุดผ่อนผันเดิมย่อมสามารถถูกยกเลิกได้ หากมีผู้ร้องเรียน หรือหาก กทม.พิจารณาว่าสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้สัญจรบนทางเท้าและก่อให้เกิดปัญหาจราจร จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่ามี 700 กว่าจุด ที่มีผลกระทบกับการจราจรและประชาชนที่ใช้พื้นที่ผิวฟุตบาท ซึ่ง กทม. เองจะทยอยดำเนินการจัดระเบียบทั้งหมด คาดว่าการจัดระเบียบของ กทม. จะกระทบผู้ค้าแผงลอยมากกว่า 30,000 คน

ในต่างจังหวัดเอง ได้มีการดำเนินการจัดระเบียบทางเท้าตามพื้นที่ต่างๆ เพื่อสนองนโยบายของ คสช. เช่นเดียวกัน

รายงานข่าวที่เกี่ยวข้อง

วันที่ 29 มิถุนายน 2558 ทีมงาน sanook.com รายงานว่า กลุ่มผู้ค้าย่านตลาดห้วยขวาง ร้องขอผ่อนผันการจัดระเบียบทางเท้า ให้ยืดระยะเวลาการจัดระเบียบออกไป เนื่องจากผู้ค้าบางส่วนยังไม่สามารถขยับขยายออกไปได้ เนื่องจากตึกตลาดห้วยขวาง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่กรุงเทพมหานครจัดสรรให้ใหม่ ยังไม่ได้ดำเนินการปรับปรุง และอยู่ในจุดอับ ทำเลที่ตั้งทำการค้าขายไม่ได้

ขณะที่เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2558 หนังสือพิมพ์ Bangkok Post นำเสนอรายงานข่าวเรื่อง เราอยากเป็นเหมือนสิงคโปร์จริงๆ หรือ? (Do we really just want to be Singapore?) รายงานความเห็นกลุ่มผู้สนับสนุนการจัดระเบียบ สนับสนุนให้ทางการไทยดำเนินการตามแนวทางของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งประสบความสำเร็จในการจัดระเบียบทางเท้ามาแล้วในอดีต พร้อมทั้งรายงานความเห็นของผู้ค้าบนทางเท้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากนโยบายดังกล่าวด้วย 

วันที่ 22 กรกฎาคม 2558 สำนักข่าวโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 รายงานว่า กรุงเทพมหานครจะเริ่มจัดระเบียบบริเวณถนนมหาราช ท่าช้าง และท่าเตียน ตามนโยบายจัดระเบียบเกาะรัตนโกสินทร์ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพราะมีปัญหาการจราจร และเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ อีกทั้งมีผู้ค้าจากคลองหลอดที่ได้จัดระเบียบไปแล้วได้ย้ายมาตั้งแผงลอยในบริเวณนี้ด้วย

 

สถานะการเปิดให้โหวต: 
ปิดการโหวต

แสดงความเห็น

ประเด็นสนับสนุน

ในหลายพื้นที่ ผู้ค้าบนทางเท้าลุกล้ำเข้ามาในพื้นผิวจราจร ส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 0 3 ความเห็น

พื้นที่ทางเท้าเป็นพื้นที่สาธารณะ ไม่ใช่พื้นที่ทำมาหากินของบุคคลใดหรือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ควรมีการจัดระเบียบเพื่อให้ผู้เดินเท้าสามารถสัญจรบนทางเท้าได้อย่างสะดวก

Votes: ไม่มีคะแนน 1 ความเห็น

มีการร้องเรียนว่ามีมาเฟียเข้าคุมพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งมีเจ้าหน้าที่เทศกิจที่เรียกรับประโยชน์โดยมิชอบจากผู้ค้าบนทางเท้า

Votes: ไม่มีคะแนน 1 ความเห็น

ประเด็นคัดค้าน

ในขณะที่บางพื้นที่ เช่น ถนนสีลม ยังคงอนุญาตให้ค้าขายได้ ส่วนในบางพื้นที่ซึ่งเคยผ่อนผันให้ขายได้ เช่น บริเวณตลาดห้วยขวาง กลับเริ่มทำการจัดระเบียบตามนโยบายของ คสช.

Votes: ชอบ 0 ไม่ชอบ 1 0 ความเห็น

“อาหารข้างถนน” (street foods) นับเป็นความประทับใจอย่างหนึ่งของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของการรายได้เข้าสู่ประเทศ

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 0 0 ความเห็น

เป็นการตัดเส้นทางทำมาหากินของผู้มีรายได้น้อย และเป็นการซ้ำเติมความอยุติธรรมทางเศรษฐกิจอีกรูปแบบหนึ่ง

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 0 0 ความเห็น