Error message
The specified file temporary://file7yzPcw could not be copied, because the destination directory is not properly configured. This may be caused by a problem with file or directory permissions. More information is available in the system log.
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
แม้ว่าร่างรัฐธรรมนูญมีชัยจะผ่านการออกเสียงประชามติ ในเบื้องหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังจะอยู่กับเราอย่างน้อยก็ 15 เดือน และในเบื้องหลังบรรดาประกาศ/คำสั่ง และวุฒิสภาจากการแต่งตั้ง จากคสช.ยังอยู่หลังจากเลือกตั้ง
เปิดผลโหวตคำถามว่า “คุณจะไปออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญของ คสช.หรือไม่?” ชาวเน็ตส่วนใหญ่จำนวน 3,828 คน หรือ 85% จะ "ไป" ใช้สิทธิออกเสียงประชามติ ขณะที่ประชาชนจำนวนอีก 656 คน หรือ 15% จะ "ไม่ไป" ออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2559 ร่างแรกถูกเผยแพร่ให้สาธารณะชนได้รับทราบ จากนี้หากไม่เกิดอุบัติเหตุทางการเมืองแบบไม่คาดฝัน เส้นทางของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะจบลงที่การออกเสียงประชามติ นอกจากนี้ระหว่างทางเดินสู่ประชามติยังมีประเด็นสำคัญ คือ แรงกดดันให้แก้ไขหลักเกณฑ์การทำประชามติ และคำถามที่ว่าหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติจะทำอย่างไรต่อไป
เว็บไซต์ประชามติ (Prachamati.org) ได้เปิดให้คนร่วมโหวตผ่านทางเฟซบุ๊กว่า 'ภายใต้รัฐบาล คสช. คุณมีความสุขดีไหม?' โดยการกดไลค์รูปภาพหน้ายิ้มและหน้าบึ้งเพื่อแสดงความเห็นว่า มีความสุขหรือไม่ แล้วพบว่า มีผู้เข้าร่วมโหวต 5,787 คน แบ่งเป็น คนที่กดไลค์ที่รูปหน้าบึ้งจำนวน 5,266 คน คิดเป็น 91 เปอร์เซ็นจากทั้งหมด และมีคนที่กดไลค์ที่รูปหน้ายิ้ม เป็นจำนวน 521 คน คิดเป็น 9 เปอร์เซ็นจากทั้งหมด เท่ากับว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กส่วนใหญ่ไม่มีความสุขภายใต้รัฐบาล คสช.
เราพูดคุยกับ สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ 'บ.ก.ลายจุด' เพื่อให้เขาช่วยมองการทำงานของเว็บไซต์ประชามติ (prachamati.org) และสะท้อนภาพรวมของสังคมไทยปัจจุบัน นอกจากนี้เรายังชวนคุยถึงการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะเกิดขึ้นกลางปีนี้ ว่าจะเอายังไงดี?
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ เห็นว่าเฉพาะหน้านี้ ฝ่ายประชาชนคงจะต้องไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนี้ แต่จะไม่รับในลักษณะใดยังคงจะต้องเป็นประเด็นในการพิจารณา
หนึ่งในนโยบายจัดระเบียบสังคมของ คสช. คือการแก้ไขปัญหาผู้ค้าบนทางเท้าและบนพื้นผิวจราจร ซึ่ง กทม. โดยเริ่มต้นจากพื้นที่จุดใหญ่ๆ เช่น ปากคลองตลาด อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และหน้าห้างสยามพารากอน ทั้งนี้การจัดระเบียบนี้ก่อให้เกิดข้อสนับสนุนและข้อคัดค้าน จากกลุ่มต่างๆ ฝ่ายที่สนับสนุนเห็นว่าจะช่วยให้คนเดินเท้ามีความสะดวกปลอดภัยขึ้น ลดการเรียกสินบนจากเจ้าหน้าที่รัฐ ขณะที่ฝ่ายคัดค้านเห็นว่าจะเป็นการตัดเส้นทางทำมาหากินของผู้มีรายได้น้อย รวมทั้งอาจผลต่อการท่องเที่ยวเพราะการค้าขายข้างถนนเป็นจุดขายของการท่องเที่ยวไทยอย่างหนึ่ง
ตามปกติศาลทหารจะพิจารณาเฉพาะคดีที่จำเลยเป็นทหารเท่านั้น แต่เมื่อ 25 พฤษภาคม 2557 "พลเรือนขึ้นศาลทหาร" กลายเป็นกระแสที่ผู้คนสนใจ เมื่อ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกประกาศฉบับที่ 37/2557 เรื่อง กำหนดให้พลเรือนต้องขึ้นศาลทหารในคดีความต่อไปนี้ ได้แก่ ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่มาตรา 107 - 112 ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา 113 - 118 และความผิดฐานฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่ง คสช. ทั้งศาลทหารภายใต้กฎอัยการศึกไม่มีการอุทธรณ์หรือฎีกา ตัดสินอย่างไรให้ถือเป็นที่สุดทันที