การเมือง

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: ตีกรอบนโยบายให้คณะรัฐมนตรีทำงานเหมือนข้าราชการประจำ

ประเด็นว่าด้วยคณะรัฐมนตรี(ครม.) หรือรัฐบาล ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประเด็นที่พรรคการเมืองโดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย และนักวิชาการบางส่วน วิจารณ์ว่าให้อำนาจกับองค์กรตุลาการ และองค์กรอิสระ ตรวจสอบฝ่ายรัฐบาลซึ่งมีที่มาจากประชาชนแต่งเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ซึ่งขัดแย้งกับหลักการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจระหว่างทุกฝ่าย 

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: ตัด 'สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี' โบกมือลา องค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม

'สิทธิชุมชน' เป็นอีกประเด็นที่มีความเห็นแตกต่างกันในสังคมว่า ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ จะช่วยคุ้มครองและทำให้สิทธิของชุมชนใช้ได้จริงในทางปฏิบัติมากขึ้นหรือน้อยลง เนื่องจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ‘ตัดสิทธิ’ การแสดงความคิดเห็นของประชาชนต่อโครงการของรัฐ ที่เคยเขียนไว้

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: ประชาชนมีสิทธิถ้ากฎหมายไม่ห้าม และไม่กระทบความมั่นคง

ในช่วงเกือบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมาหากไม่นับรวมรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้วประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้อย่างเป็นทางการและกำลังอยู่ในกระบวนการประชามติรวม 3 ฉบับ น่าสนใจว่า การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญแต่ละครั้งมีพัฒนาการอะไรดีๆ เกิดขึ้นบ้างกับสิทธิและเสรีภาพในกฎหมายแม่บทสำคัญของไทย การจะทำความเข้าใจภาพการเปลี่ยนแปลงนี้ จึงอยากชวนกันอ่าน “สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย” ผ่านรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับ 

เครือข่ายประชาชนประกาศ “ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ”

ตัวแทนเครือข่ายสมัชชาคนจน-สลัมสี่ภาค-กลุ่มรัฐสวัสดิการ-เหมืองแร่-เกษตรทางเลือก-เครือข่ายพลเมืองเน็ต-เอฟทีเอวอทช์-เครือข่ายกระเหรี่ยง-ประชาชนเจ้าของแร่-การศึกษาทางเลือก ประกาศ “ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญ นำเสนอมุมมองปัญหาอันหลากหลายของแต่ละกลุ่ม พุ่งตรงปมปัญหาในร่างมีชัย

ข้อสังเกตบางประการต่อร่างรัฐธรรมนูญ 2558

อรุณี สัณฐิติวณิชย์ และ ณรุจน์ วศินปิยมงคล ตั้งข้อสังเกตต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในหลายประเด็น อาทิ 'การเลือกตั้งบัญชีรายชื่อแบบระบบเปิด'  อาจเกิดการแข่งขันภายในพรรคและทำให้เกิดความอ่อนแอของพรรคได้ และส่งผลถึงอำนาจการบริหารของคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญยังให้กำเนิดองค์กรใหม่มากกว่า 10 องค์กร และมีความพยายามสร้าง 'วัฒนธรรมการเมืองใหม่' ที่มุ่งเน้นเรื่องการตรวจสอบเป็นอย่างมาก

Pages

Subscribe to RSS - การเมือง