เมกะโปรเจคจัดการน้ำ 2.2 ล้านล้าน ผันน้ำสาละวิน – แม่โขง เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 384 คน
เห็นด้วย 238ไม่เห็นด้วย 146

กรมชลประทานเตรียมเสนอรัฐบาลเดินหน้าโครงการผันน้ำจากแม่น้ำยวมเข้าเขื่อนภูมิพล และโครงการสูบน้ำแม่น้ำโขง – เลย – ชี – มูล วงเงินลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำระยะยาว ทั้งสองโครงการนี้ กรมชลฯ ได้เสนอมาหลายรัฐบาล โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศเผชิญกับภัยแล้ง และเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรและอุปโภคบริโภค แต่ที่ผ่านมาถูกคัดค้านจากองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและชาวบ้านในพื้นที่ ทำให้รัฐบาลไม่สามารถผลักดันได้ อีกทั้งโครงการดังกล่าวใช้เงินลงทุนค่อนข้างมาก รัฐบาลก่อนหน้านี้จึงไม่สามารถดำเนินโครงการได้ มีเพียงผลการศึกษาความเหมาะสมเท่านั้น

รัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ซึ่งมีพล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลป์ยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำอย่างเบ็ดเสร็จ เป้าหมายเพื่อสร้างโอกาสการเข้าถึงน้ำของทุกภาคส่วน และการใช้ประโยชน์จากน้ำตามศักยภาพของลุ่มน้ำ

โครงการเติมน้ำเขื่อนภูมิพล  และโครงการโขง – เลย – ชี – มูล มีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการ นายกฯ จึงสั่งให้เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องเกิดขึ้นภายในรัฐบาลนี้ หรือเป็นโครงการปีงบประมาณ 2558-2559 การดำเนินทั้ง 2 โครงการจะเป็นระบบการผันน้ำ โดยสูบน้ำมาเก็บไว้ในระบบท่อ และหมุนเวียนเหมือนระบบโลหิต 

โครงการเติมน้ำในเขื่อนภูมิพล จะเป็นการผันน้ำจากแม่น้ำยวมซึ่งเป็นลุ่มของแม่น้ำสาละวิน มีต้นน้ำจากเทือกเขาที่อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ปีละ 2,000 ล้านลูกบาสก์เมตร (ลบ.ม.) การผันน้ำจะดำเนินการที่อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ลงเขื่อนภูมิพล ที่อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ระยะทาง 61 กม. โดยมีภูมิประเทศและการไหลของน้ำที่ผ่านเขตประเทศไทย ไม่เกี่ยวข้องกับประเทศเพื่อนบ้าน

โครงการโขง – เลย – ชี – มูล จะมีการสูบน้ำจากจังหวัดเลยเข้ามาใช้ในภาคอีสาน ผ่านท่อขนาดใหญ่ 2 ขนาด คือกว้าง 10 ม. ยาว 50 กม. จำนวน 1 ท่อ และท่อกว้าง 10 ม. ยาว 80 กม. จำนวน 1 ท่อ เพิ่มน้ำเข้ามาประมาณ 40,000 ล้าน ลบ.ม. คาดว่าจะสามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานในภาคอีสานได้อีก 30 ล้านไร่ ให้มีน้ำเพียงพอ พัฒนาอุตสาหกรรม การบริการ การท่องเที่ยว และสร้างงาน เชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหาคนอีสานย้ายเข้ามาหางานทำในเมืองหลวงได้ โดยการดำเนินโครงการโขงฯ จะสูบน้ำจากจุดที่เป็นแหล่งน้ำของไทย ไม่เกี่ยวข้องกับน้ำนานาชาติ

ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 13 มิถุนายน 2558

ที่มาภาพ Asian Development Bank 

 

 

สถานะการเปิดให้โหวต: 
ปิดการโหวต

แสดงความเห็น

ประเด็นสนับสนุน

“จากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากการขยายของชุมชนเมืองทำให้มีการใช้น้ำมากขึ้นไปด้วย แต่การกักเก็บน้ำในเขื่อนต่างๆ ของไทยยังเท่าเดิม ดังนั้นหากไทยไม่สามารถจัดหาแหล่งน้ำกินน้ำใช้ได้เพิ่ม อีก ๑๐ ปีข้างหน้าไทยจะมีปัญหาการขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้อย่างแน่นอน”

นายสมเกียรติ ประจำวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน

Votes: ไม่มีคะแนน 0 ความเห็น

“ในปีนี้เกิดภาวะแล้งมากกว่าเมื่อเทียบกับ ๒ ปีก่อนหน้านี้ กระทรวงเกษตรฯ จึงต้องวางมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบดังกล่าวโดยเร่งด่วน ทั้งปัญหาคุณภาพน้ำ การขาดแคลนน้ำ ในขณะที่เมื่อถึงฤดูน้ำหลากอาจมีน้ำท่วมขังในบางพื้นที่ด้วย สิ่งที่อยากให้ทำคือการพัฒนาแหล่งเก็บน้ำในแต่ละพื้นที่ วางแผนจัดสรรน้ำให้กับพื้นที่เกษตรที่อยู่ในเขตชลประทาน และเพิ่มประสิทธิภาพแหล่งเก็บน้ำให้เพิ่มขึ้น”

นายปีติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Votes: ไม่มีคะแนน 1 ความเห็น

ประเด็นคัดค้าน

“บทเรียนการจัดการน้ำด้วยโครงการขนาดใหญ่ในอีสานกว่า ๔๐ ปี แทบจะเป็นบทสรุปความล้มเหลวในทุกโครงการ ได้แก่ โครงการโขง - ชี - มูล เขื่อนปากมูล โครงการชลประทานระบบท่อ โครงการน้ำแก้จน ฯลฯ ผลที่เกิดจากโครงการเหล่านี้ได้ทำให้ระบบนิเวศสำคัญของอีสานพังพินาศไปมากกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ การแพร่กระจายของดินเค็ม การสูญเสียที่ดินทำกิน การสูญเสียพันธุ์ปลาและความหลากหลายทางชีวภาพ ยังมีชาวบ้านอีกจำนวนมากที่ต้องประสบปัญหาและรอการแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการเหล่านี้มามากกว่า ๒๐ ปี และผ่านมาแล้วมากกว่า ๑๐ รัฐบาล แต่ก็ไม่ได้ทบทวนแนวทางรูปแบบโครงการแต่อย่างใด กลับจะเดินหน้าพัฒนาโครงการใหม่โดยละเลยกระบวนการแล

Votes: ไม่มีคะแนน 0 ความเห็น

“รัฐบาลควรให้ความสำคัญต่อการจัดการน้ำของชุมชนเป็นแนวทางหลักในการแก้ไขปัญหาน้ำของประเทศไทย เพื่อความยั่งยืน สมดุล และเป็นธรรมของทุกภาคส่วนในประเทศ ภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชนตามบริบทนิเวศวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น อาทิ การเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำตามลำน้ำสาขา ในแผนการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ซึ่งจัดทำโดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำได้โดยใช้งบประมาณเฉลี่ยหมู่บ้านละประมาณ ๓ ล้านบาทเท่านั้น และการกักเก็บน้ำระดับตำบล “หนึ่งตำบลหนึ่งแหล่งกักเก็บน้ำ” โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งแผนงานเหล่านี้จะกระทบกับสิ่งแวดล้อมและชุมชนไม่มากนัก แต่จะมีประโยชน์ต่อช

Votes: ไม่มีคะแนน 1 ความเห็น