สิ่งแวดล้อม

เครือข่ายประชาชนประกาศ “ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ”

24 ก.ค. 2559 ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการจัดงาน "ใส่ใจประชามติรัฐธรรมนูญ กับอนาคตประชาชน" ตัวแทนเครือข่ายเพื่อรัฐสวัสดิการ-สมัชชคนจน-ตัวแทนเครือข่ายสลัม 4 ภาค-เกษตรกรรมทางเลือก และการศึกษาทางเลือก ประกาศ “ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญ นำเสนอมุมมองปัญหาอันหลากหลายของแต่ละกลุ่ม พุ่งตรงปมปัญหาในร่างมีชัย

บทสัมภาษณ์ ศศิน เฉลิมลาภ : บรรยากาศประชามติจากฟากเอ็นจีโอสิ่งแวดล้อม

ศศิน เฉลิมลาภ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชื่อดังที่คร่ำหวอดในวงการหลายสิบปี  ภายใต้วาทะ " ผมทำงานให้พี่สืบ"   เขาดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร นอกจากประเด็นทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ศศินโด่งดังเป็นที่รู้จักหลังเดินเท้า 300 กว่ากิโลเมตรประกาศเจตนารมณ์ต้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ในผืนป่าตะวันตก    ไม่กี่สัปดาห์ก่อนลงประชามติ 2559  เรามีโอกาสพูดคุยกับเขา ถึงบรรยากาศก่อนหยั่งเสียงลงคะแนนโหวต ตลอดจนเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติที่กลุ่มคนทำงานเคลื่อนไหวสิ่งแวดล้อมของเขาคิดเห็นอย่างไร 

เครือข่ายประชาชนประกาศ “ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ”

ตัวแทนเครือข่ายสมัชชาคนจน-สลัมสี่ภาค-กลุ่มรัฐสวัสดิการ-เหมืองแร่-เกษตรทางเลือก-เครือข่ายพลเมืองเน็ต-เอฟทีเอวอทช์-เครือข่ายกระเหรี่ยง-ประชาชนเจ้าของแร่-การศึกษาทางเลือก ประกาศ “ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญ นำเสนอมุมมองปัญหาอันหลากหลายของแต่ละกลุ่ม พุ่งตรงปมปัญหาในร่างมีชัย

ชาวบ้าน 11 เครือข่ายประกาศชัด Vote NO ไม่รับร่าง รธน.

เก็บประเด็นเหตุผลชาวบ้าน 11 เครือข่าย ประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ชี้ผิดตั้งแต่ที่มา ริดรอนสิทธิเสรีภาพ ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทำลายความเข้มแข็งภาคประชาชน มองคนไม่เท่ากัน ยันชัดทำ 1 สิทธิ 1 เสียง ไร้ความหมาย

ประเทศไทยควรมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 626 คน
เห็นด้วย 382ไม่เห็นด้วย 244

พ.ศ. 2509 เป็นปีแรกที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เสนอโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ต่อรัฐบาล แต่จวบจนปัจจุบัน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็เป็นแค่เพียงแผนที่ยังไม่ได้ดำเนินการ โดยส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย 

จากสถิติสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงผลิตพลังงานไฟฟ้าสะสม เมื่อเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2558 ระบุว่าประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติร้อยละ 71 ถ่านหินร้อยละ 19 น้ำร้อยละ 6 พลังงานทดแทน เช่น แสงอาทิตย์ ลม และชีวมวล ร้อยละ 3 ส่วนที่เหลืออีกราวร้อยละ 1 มาจากเชื้อเพลิงน้ำมันเตา น้ำมันดีเซล และซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ 

เมกะโปรเจคจัดการน้ำ 2.2 ล้านล้าน ผันน้ำสาละวิน – แม่โขง เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 384 คน
เห็นด้วย 238ไม่เห็นด้วย 146

กรมชลประทานเตรียมเสนอรัฐบาลเดินหน้าโครงการผันน้ำจากแม่น้ำยวมเข้าเขื่อนภูมิพล และโครงการสูบน้ำแม่น้ำโขง – เลย – ชี – มูล วงเงินลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำระยะยาว ทั้งสองโครงการนี้ กรมชลฯ ได้เสนอมาหลายรัฐบาล โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศเผชิญกับภัยแล้ง และเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรและอุปโภคบริโภค แต่ที่ผ่านมาถูกคัดค้านจากองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและชาวบ้านในพื้นที่ ทำให้รัฐบาลไม่สามารถผลักดันได้ อีกทั้งโครงการดังกล่าวใช้เงินลงทุนค่อนข้างมาก รัฐบาลก่อนหน้านี้จึงไม่สามารถดำเนินโครงการได้ มีเพียงผลการศึกษาความเหมาะสมเท่านั้น

Subscribe to RSS - สิ่งแวดล้อม