ประเทศไทยควรมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 626 คน
เห็นด้วย 382ไม่เห็นด้วย 244

พ.ศ. 2509 เป็นปีแรกที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เสนอโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ต่อรัฐบาล แต่จวบจนปัจจุบัน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็เป็นแค่เพียงแผนที่ยังไม่ได้ดำเนินการ โดยส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย 

จากสถิติสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงผลิตพลังงานไฟฟ้าสะสม เมื่อเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2558 ระบุว่าประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติร้อยละ 71 ถ่านหินร้อยละ 19 น้ำร้อยละ 6 พลังงานทดแทน เช่น แสงอาทิตย์ ลม และชีวมวล ร้อยละ 3 ส่วนที่เหลืออีกราวร้อยละ 1 มาจากเชื้อเพลิงน้ำมันเตา น้ำมันดีเซล และซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ 

ในรอบ 10 ปีมานี้ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถูกกล่าวถึงหลายครั้งในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (Power Development Plan - PDP) โดยแผน PDP ฉบับล่าสุดซึ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลเมื่อกลางเดือนพฤษภาคม 2558 ระบุว่า ประเทศไทยจะก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2 แห่ง กำลังการผลิตแห่งละ 1,000 เมกะวัตต์ เพื่อลดการพึ่งพิงการใช้ก๊าซธรรมชาติ

ปัจจุบัน การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์คิดเป็นราวร้อยละ 10 ของกำลังการผลิตทั้งหมดของโลก โดยมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมด 439 แห่งใน 31 ประเทศ และมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีก 70 แห่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2558 

 

 

ที่มาภาพ Free Grunge Textures - www.freestock.ca 

 

สถานะการเปิดให้โหวต: 
ปิดการโหวต

แสดงความเห็น

ประเด็นสนับสนุน

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในปัจจุบันใช้เทคโนโลยีที่ค่อนข้างล้าสมัย เนื่องจากนวัตกรรมนิวเคลียร์หยุดพัฒนาหลังจากทศวรรษที่ 1970 แต่ตอนนี้มีการค้นพบเทคโนโลยีใหม่โดยใช้เตาปฏิกรณ์ Thorium ซึ่งสามารถหาได้ง่าย ยากที่จะนำไปใช้เป็นอาวุธ และมีสารพิษน้อยกว่าเทคโนโลยีปัจจุบัน โดยขยะนิวเคลียร์จากเตาปฏิกรณ์ Thorium สามารถย่อยสลายได้โดยใช้เวลาไม่กี่ร้อยปี

 

Votes: ชอบ 3 ไม่ชอบ 0 2 ความเห็น

ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าของประชากรทั่วโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และพลังงานนิวเคลียร์เป็นทางเลือกหนึ่งในการผลิตไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพ ในขณะเดียวกันก็ไม่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปซ้ำเติมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเหมือนการผลิตไฟฟ้าโดยพลังงานถ่านหิน น้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติ

 

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 0 0 ความเห็น

มีรายงานการศึกษาพบว่าการใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีอัตราผู้เสียชีวิตต่อ 1 หน่วยผลิตไฟฟ้าต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้ารูปแบบอื่น เพราะสารพิษจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นจะถูกนำไปเก็บไว้ใต้ดิน ในขณะที่มลภาวะมหาศาลจากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงปิโตรเลียม จะถูกปลดปล่อยสู่อากาศ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จึงถือเป็นทางเลือกที่แย่น้อยกว่าโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงปิโตรเลียม ในช่วงเวลาก่อนการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียน

 

Votes: ไม่มีคะแนน 0 ความเห็น

ประเด็นคัดค้าน

ตลอด 60 ปีของการผลิตไฟฟ้าโดยเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ มีอุบัติเหตุครั้งใหญ่ทั้งสิ้น 7 ครั้ง โดยมี 4 ครั้งที่ปลดปล่อยสารกัมมันตภาพรังสีเป็นวงกว้าง ทำให้พื้นที่ขนาดใหญ่บางส่วนในประเทศรัสเซีย ยูเครน และญี่ปุ่น ไม่สามารถอยู่อาศัยได้และมีผู้เสียชีวิตหลายพันราย

 

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 0 0 ความเห็น

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะก่อให้เกิดขยะพิษที่ต้องใช้เวลานับหมื่นปีเพื่อย่อยสลาย เช่นสารพลูโตเนียม อีกทั้งมีเพียงประเทศเดียวจาก 30 ประเทศที่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์คือฟินแลนด์ที่มีระบบจัดการขยะพิษเหล่านี้อย่างจริงจัง

 

Votes: ไม่มีคะแนน 0 ความเห็น

เนื่องจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และอาวุธนิวเคลียร์มีองค์ประกอบทางเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันคือการพัฒนาเทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์ และที่ผ่านมา สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Non-Proliferation Treaty) ก็ไม่ประสบความสำเร็จในการควบคุมอาวุธนิวเคลียร์มากเท่าที่ควร จึงมีความกังวลว่าการพัฒนาเทคโนโลยีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อาจนำไปสู่กรพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ได้

 

Votes: ไม่มีคะแนน 0 ความเห็น