หัวหน้า คสช.ใช้ ม. 44 พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 390 คน

หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงยุทธศาสตร์ 9 ด้านเพื่อเป็นแนวทางการปฏิรูปและพัฒนาประเทศ โดยยุทธศาสตร์ที่ 5 การผลักดันให้เกิดเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่นโดยเฉพาะพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้เกิดผลโดยเร็ว เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2558 หัวหน้า คสช.จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 ออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 17/2558 เรื่อง การจัดหาที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติ ป่าไม้ถาวร ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) และที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินให้เป็นที่ราชพัสดุ  ก่อนเปิดให้เอกชนยื่นขอเช่าใช้ประโยชน์เพื่อการลงทุน

สำหรับที่ดินที่ถูกเพิกถอนสภาพเป็นที่ราชพัสดุ เพื่อให้ผู้ประกอบการ นักลงทุนเช่าใช้ประโยชน์ระยะยาว 50 ปี ตามคำสั่งดังกล่าว เนื้อที่รวมทั้งหมด 8,478 ไร่ ประกอบด้วย 1. ที่ดินในท้องที่ ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก เพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ 803 ไร่ ป่าไม้ถาวร 2,182 ไร่  และถอนสถาพที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน 13 ไร่  2. ที่ดินในท้องที่ ต.คำอาฮวน อ.เมืองมุกดาหาร จ.มุกดาหารและเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) ต.คำป่าหลาย ต.บ้านโคก ต.ดงมอน ต.กุดแข้ ต.โพนทราย ต.คำอาฮวน อ.เมืองมุกดาหาร ต.คำชะอี อ.คำชะอี และ ต.หนองแวง อ.นิคมคำสร้อย เพิกถอนป่าไม้ถาวร 187 ไร่ เขต ส.ป.ก. 877 ไร่ และที่สาธารณสมบัติแผ่นดิน 1,085 ไร่

3. ที่ดินในท้องที่ ต.ป่าไร่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เพิกถอนป่าสงวนฯ 1,066 ไร่ ที่สาธารณสมบัติ 660 ไร่ 4.ที่ดินในท้องที่ ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด เพิกถอนที่สาธารณสมบัติ 3 แปลง 887 ไร่ 5. ที่ดินในท้องที่ ต.สระใคร อ.สระใคร จ.หนองคาย เพิกถอนที่สาธารณสมบัติ 718 ไร่ โดยผู้เช่ามีสิทธิ์นำที่ดินไปให้เช่าช่วงหรือนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ได้ และแม้จะให้เช่าเกิน 100 ไร่ก็ไม่ต้องขออนุมัติจากอธิบดีกรมที่ดิน

อ้างอิงจาก ประชาชาติธุรกิจ  และ ประชาไท

 

สถานะการเปิดให้โหวต: 
ปิดการโหวต

แสดงความเห็น

ประเด็นสนับสนุน

อีกไม่นานก็จะมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ประเทศไทยจึงต้องเตรียมพร้อมรับมือ เร่งเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจ การใช้มาตรา 44 เข้ามาเร่งดำเนินการก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้ไทยมีความพร้อมเร็วขึ้น เป็นทางลัดในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยไม่จำเป็นต้องรอกลไกตามปกติ

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 0 3 ความเห็น

เป็นที่ทราบกันดีว่าสภาพเศรษฐกิจไทยปัจจุบันไม่ค่อยดีนัก ประเด็นการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนด้านเศรษฐกิจจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องทำอย่างไม่มีข้อสงสัย โดยเฉพาะพื้นที่ชายแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีการจับจ่ายคึกคักยิ่งควรส่งเสริมให้มากที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อประโยชน์ของคนในพื้นที่และเศรษฐกิจในภาพรวม

Votes: ไม่มีคะแนน 0 ความเห็น

หลังจากรัฐบาลประกาศนโยบายกำหนดพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน ทำให้ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น จึงแก้ปัญหาด้วยการนำที่สาธารณะมาใช้ ด้วยการออกคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ดังกล่าว

วีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)
 

Votes: ไม่มีคะแนน 0 ความเห็น

ประเด็นคัดค้าน

กลุ่มคนแม่สอดรักษ์ถิ่น ซึ่งเป็นกลุ่มชาวบ้านบ้านวังตะเคียนที่คัดค้านการเวนคืนที่ดินทำกิน ได้ถูกเจ้าหน้าที่รัฐติดตาม ข่มขู่ คุกคาม ทั้งจากหน่วยข่าวกรอง ตำรวจ และทหารหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา โดยวันที่ 17 ตุลาคม 2558 เจ้าหน้าที่ทหารพยายามเรียกชาวบ้านไปพูดคุยที่ อบต.ท่าสายลวด แต่ชาวบ้านไม่ได้เดินทางไป เพราะไม่ทราบวัตถุประสงค์แน่ชัด และไม่ได้มีการระบุว่าให้ใครเดินทางไป

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 1 0 ความเห็น

ในยุคที่ปกครองโดยทหารและระบบราชการ หลายเรื่องตกอยู่ในการตัดสินใจของคนเพียงคนเดียว และไม่เป็นประชาธิปไตยนั้น ไม่ควรเร่งรีบดำเนินการโครงการขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบต่อคนจำนวนมากเช่นนี้ เพราะภายใต้ระบอบการปกครองดังกล่าวไม่ได้รับฟังความคิดเห็นจากคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกกลุ่มอย่างแท้จริง ทำให้อาจมีผลเสียหายตามมามากกว่าผลดี ดังความเห็นของนักลงทุนเอกชนรายหนึ่งที่มองว่า ควรกระจายอุตสาหกรรมให้ทั่วพื้นที่ ไม่ควรใช้วิธียึดที่ดินเพื่อมาสร้างนิคมอุตสาหกรรมแบบกระจุกตัว ที่สำคัญคือผู้ประกอบการท้องถิ่นไม่ได้ประโยชน์ด้วย

Votes: ชอบ 2 ไม่ชอบ 0 3 ความเห็น

สำนักข่าวอิศรา รายงานว่า จากการลงพื้นที่ จ.ตาก เฉพาะที่บ้านวังตะเคียน หมู่ 4 และหมู่ 7 มีชาวบ้านจำนวน 950 ครัวเรือน หรือ 2,297 ราย ที่ประกอบอาชีพบนที่ดินที่ถูกเพิกถอนสิทธิ เช่น ทำนา เลี้ยงสัตว์ ทำสวน ทำไร่ ส่วนใหญ่เป็นที่ดินตกทอดมาแต่บรรพบุรุษ โดยที่ชาวบ้านไม่มีเอกสารสิทธิ์ซึ่งเป็นปัญหาหมักหมกมานาน แม้ว่าจะคร

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 0 0 ความเห็น

ชาวบ้านไม่เคยได้รับรู้ข้อมูลเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษมาก่อน จู่ๆ รัฐก็บอกว่าจะเอาที่ดินคืน ทั้งที่ชาวบ้านไม่มีโอกาสรับรู้ข้อมูลจากรัฐเลยว่าผลดีผลเสียมีอะไรบ้าง และถ้าประชาชนได้รับผลกระทบ จะเยียวยาอย่างไร และที่ดินที่จะเอาไปให้เอกชนเช่าถึง 50 ปี ต้องคิดดีๆ ทุกวันนี้ชาวบ้านได้รับข้อมูลน้อยมากแต่ก็มีความพยายามให้มีการทำประชาคม เมื่อชาวบ้านไม่มีข้อมูลแล้วจะตัดสินใจบนพื้นฐานใด

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 0 0 ความเห็น