คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

ให้มี คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 791 คน
เห็นด้วย 186ไม่เห็นด้วย 605

กมธ.ยกร่างรธน.กำหนดให้มี "คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ" จำนวน 23 คน มีที่มา 3 ส่วน คือ หนึ่ง มาจากประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา นายกฯ ประธานศาลฎีกา และผู้บัญชาการทหารทุกเหล่าทัพ กับตำรวจ สอง มาจากผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา นายกฯ ประธานศาลฎีกา เลือกกันเอง สาม ผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน 11 คน จากมติรัฐสภา มีอำนาจพิเศษสั่งการ ระงับยับยั้ง หรือกระทำการใดๆ ได้ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติหรือในทางบริหาร ฝ่ายสนับสนุนมองนี้จะช่วยแก้ปัญหามาเกิดวิกฤตรัฐบาล ฝ่ายคัดค้านการแก้วิกฤตต้องให้ประชาชนตัดสิน

ใครร่างนั้นสำคัญไฉน?: เปรียบเทียบคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสามชุดในรอบ 20 ปี

ประวัติศาสตร์ฉบับย่อ เกี่ยวกับคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 3 ชุด และการร่างรัฐธรรมนูญในรอบ 20 ปี น่าจะช่วยเราตอบคำถามว่า ผู้ร่างรัฐธรรมนูญที่พึงปรารถนาควรมีที่มาอย่างไร? ประกอบด้วยกลุ่มบุคคลแบบใด? และเราจะยังวนเวียนอยู่กับนักร่างรัฐธรรมนูญหน้าเก่าต่อไปอีกหรือ?

สมบัติ ไม่เข้าฟังคำชี้แจง กมธ.ยกร่างฯ ชี้ไม่เกิดประโยชน์ ด้านอลงกรณ์เผย คำถามประชามติ คิดหลังร่างผ่านแล้ว

เลขานุการ วิป สปช. เผย มี 5 เรื่องต้องทำก่อนพ้นวาระ ชี้คำถามในประชามติจะดำเนินการหลัง ร่าง รธน. ผ่าน สปช. ด้านสมบัติ ไม่เข้าฟังการชี้แจงจาก กมธ.ยกร่างฯ ย้ำไม่เกิดประโยชน์ ข้อเสนอที่ให้ไปไม่ได้ถูกแก้ไข

เปิดวงถกเรื่องคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ ปรองดองบน 'ประชาธิปไตยเสี้ยวใบ' ?

กมธ.ยกร่างรับ รธน. ไม่เป็นประชาธิปไตย แต่จำเป็นช่วง'เปลี่ยนผ่าน' ประภาส ปิ่นตบแต่ง ท้ากล้าเขียนหรือไม่ รธน. สร้างรัฐบาลซ้อนรัฐบาล ให้ประชาชนลงประชามติ

ร่าง รธน.เพิ่ม 'องค์กรพิเศษ' เหนือนิติบัญญัติ-บริหาร มีอำนาจจัดการความขัดแย้ง

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เผย กมธ.รัฐธรรมนูญกำหนดให้มี "คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง" สมาชิก 23 คน มีอำนาจพิเศษ 5 ปีหลัง รธน.ประกาศใช้ หากมีความขัดแย้งจนคุมไม่ได้ให้มีอำนาจจัดการได้ สามารถสั่งและยับยั้งฝ่ายนิติบัญญัติ-บริหาร และยังเตรียมประชามติถาม ปชช. ว่าต้องการรัฐบาลปรองดองแห่งชาติหรือไม่

กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญงดประชุม 3-4 ส.ค. เพื่อให้ กมธ. ไปประชุม สปช.

กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ งดการประชุมวันที่ 3 และ 4 ส.ค. เพื่อเปิดทางให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ควบสมาชิกสภาปฏิรูปเข้าร่วมประชุม สปช. และจะกลับมาประชุมอีกครั้ง 5-7 ส.ค. คาดจะทวน รธน. ครบทุกมาตรา 14 ส.ค.

ยกร่าง รธน.เพิ่มฐานความผิดไม่ให้เอกสิทธิคุ้มครอง ส.ส.-ส.ว.

คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ข้อยุติเรื่องเอกสิทธิคุ้มครอง ส.ส. และ ส.ว.แล้ว ไม่อนุญาตให้จับกุม คุมขังหรือออกหมายเรียกในระหว่างสมัยประชุม เว้นแต่เจ้าตัวอนุญาต ถูกจับขณะทำความผิดซึ่งหน้า ทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือความผิดที่มีโทษ 10 ปีขึ้นไป 
 

ยกร่าง รธน. ตัดสิทธิผู้ถูกถอดถอนจากทุจริตสมัคร ส.ส.-ส.ว.ตลอดไป

ยกร่าง รธน. ยืนตัดสิทธิผู้ที่ถูกถอดถอนในคดีทุจริต หรือต้องคำพิพากษาฐานประพฤติมิชอบ หรือทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริต ไม่เที่ยงธรรม ลงเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว.ตลอดไป ตั้งคณะกรรมการประเมินผลหลังใช้รัฐธรรมนูญ 5 ปี

ประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1 - เพิ่มขั้นตอนทำประชามติ

ราชกิจจานุเบกษาตีพิมพ์รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เพิ่มขั้นตอนหลังยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้ทำประชามติ - ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติสิ้นสุดลงหากพิจารณาร่าง รธน.ไม่ทันเวลาที่กำหนด หรือ พิจารณาร่าง รธน.แล้วเสร็จ ไม่ว่าจะมีมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่าง รธน. - หลังจากนั้นจะต่อด้วย "สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ" ที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง

คำนูณ ระบุ การโหวตร่าง รธน. ต้องโหวตโดยเปิดเผย ยัน กมธ.ยกร่าง จะรักษาเจตนารมณ์เดิมของร่างฯไว้

โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ระบุ ข้อบังคับการประชุมและธรรมเนียมปฏิบัติ ชี้ชัดการลงมติโหวตร่างรัฐธรรมนูญต้องทำโดยเปิดเผย มั่นใจร่างสุดท้ายจะได้รับการยอมรับจาก สปช. พร้อมยืนยัน กรรมาธิการยกร่างฯ พยายามอย่างที่สุดที่จะรักษาเจตนารมณ์เดิมของร่างรัฐธรรมนูญไว้ให้ได้

Pages

Subscribe to RSS - คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ