เว็บไซต์ประชามติ

เปิดโหวตออนไลน์ ประชาชน 85% ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญและ 93% ไม่รับคำถามพ่วง

เว็บไซต์ประชามติ เปิดให้ประชาชนทั่วไปในโลกออนไลน์ ลงคะแนนเสียงออนไลน์สองคำถามประชามติทางเพจเฟซบุ๊ก ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ร้อยละ 85 ไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ และร้อยละ 93 ไม่เห็นชอบคำถามพ่วง

7 เรื่องน่ารู้ก่อนลงประชามติ 7 สิงหา

หลายคนยังคงสับสนและงุนงงในหลายประเด็นสำหรับการออกเสียงประชามติที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เพื่อการเตรียมความพร้อม เราข้อย้ำเตือน 7 ประเด็นก่อนเข้าคูหาลงประชามติ

ลำดับเหตุการณ์ความพยายามปิดกั้น - แทรกแซง กิจกรรมของเครือข่ายเว็บไซต์ประชามติ

ลำดับเหตุการณ์ความพยายามปิดกั้น - แทรกแซง กิจกรรมของเครือข่ายเว็บไซต์ประชามติ จนนำมาสู่การย้ายสถานที่จากหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สู่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์

เครือข่ายเว็บไซต์ประชามติแถลงการณ์ ขอยึดมั่นในหลักเสรีภาพการแสดงออก และการมีส่วนร่วมของประชาชน

แถลงการณ์เครือข่ายเว็บไซต์ประชามติ "ขอยึดมั่นในหลักเสรีภาพการแสดงออก และการมีส่วนร่วมของประชาชน" หลังทหารและตำรวจกดดันหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ให้ยกเลิกใช้พื้นที่จัดกิจกรรมเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญสองกิจกรรม ต้องย้ายสถานที่จัดงาน อย่างไรก็ดีเว็บไซต์ประชามติยืนยันจะเดินหน้าทำกิจกรรมเพื่อสร้างบทสนทนาเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญที่เปิดกว้างสำหรับทุกฝ่ายต่อไป 

สมบัติ บุญงามอนงค์: คสช.จะอยู่ยาก ถ้าประชามติไม่ผ่าน

เราพูดคุยกับ  สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ 'บ.ก.ลายจุด' เพื่อให้เขาช่วยมองการทำงานของเว็บไซต์ประชามติ (prachamati.org) และสะท้อนภาพรวมของสังคมไทยปัจจุบัน นอกจากนี้เรายังชวนคุยถึงการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะเกิดขึ้นกลางปีนี้ ว่าจะเอายังไงดี? 
 

ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข: เว็บไซต์ประชามติ = ภาคประชาชนที่นับได้

สถานการณ์ทางการเมืองตลอดปี 2558 มีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมไทย และการทำงานของเว็บไซต์ประชามติ ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข หนึ่งในผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ จะมาสรุปบทเรียนในปีที่ผ่านมา และมองเป้าหมายการทำงานในอนาคตของเว็บไซต์

จอน อึ๊งภากรณ์: เว็บประชามติเป็น “เวทีแสดงความเห็นในสังคมที่ถูกปิดกั้น”

เกือบจะครบหนึ่งปีแล้วที่เว็บไซต์ประชามติ (prachamati.org) เปิดตัวมา  “จอน อึ๊งภากรณ์” ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ผู้ผลักดันเว็บไซต์แห่งนี้ได้ย้อนทบทวนการทำงานของเว็บไซต์ประชามติที่ผ่านมาว่ามีส่วนสร้างการมีส่วนร่วมในสังคมได้แค่ไหน และมองไปข้างหน้าว่าในปี 2559 นี้ที่รัฐบาลบอกว่าจะมีการทำประชามติจริงนั้น ทิศทางของเว็บประชามติจะเป็นอย่างไร

 

แนะนำการใช้เว็บประชามติ

เว็บประชามติ prachamati.org เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นบนโลกออนไลน์ในประเด็นรัฐธรรมนูญและประเด็นทางสังคมต่างๆ ที่สามารถเข้ามาโหวตเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยในประเด็นที่สนใจได้ง่ายๆ ผ่านการล็อกอินบัญชีผู้ใช้ facebook  และมีวิธีเก็บข้อมูลที่มีความปลอดภัยสูง ผู้ใช้จึงมั่นใจได้ว่าข้อมูลของตนจะไม่รั่วไหล

Subscribe to RSS - เว็บไซต์ประชามติ