Error message

The specified file temporary://filesSmwBM could not be copied, because the destination directory is not properly configured. This may be caused by a problem with file or directory permissions. More information is available in the system log.

จอน อึ๊งภากรณ์

มติเอกฉันท์ “ผู้ตรวจการแผ่นดิน” ส่งศาล รธน. วินิจฉัย “พ.ร.บ.ประชามติ” มาตรา 61 วรรคสอง ขัดรัฐธรรมนูญ

ที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดิน มีมติ เอกฉันท์ให้ส่งเรื่อง พรบ. ประชามติ มาตรา 61 วรรคสอง โดยเครือข่ายนักวิชาการยื่นคำร้องนั้น ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ส่วน มาตรา 61 วรรค 4  เป็นดุลยพินิจของผู้ออกกฎหมาย ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ขอก้าวล่วง

ศาลปกครองสูงสุด “ไม่รับฟ้อง” คดีเกี่ยวกับออกเสียงประชามติ “ร่าง รธน. ฉบับมีชัย” 3 คดีรวด

เมื่อ 14 กรกฎาคม 2559 สำนักงานศาลปกครอง ได้เผยแพร่คำสั่งของศาลปกครองสูงสุด เกี่ยวกับการทำประชามติและร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. …. รวม 3 คดี โดยผลการพิจารณาขององค์คณะศาลปกครองสูงสุด คือมีมติ “ไม่รับคำฟ้อง” ทุกคดี

ภาคประชาสังคมฟ้องศาลปกครองสูงสุด ขอเพิกถอนประกาศ กกต. จำกัดเสรีภาพรณรงค์ประชามติ

iLaw ควง สสส. นักวิชาการ นักกิจกรรม ยื่นฟ้องศาลปกครองสูงสุด ขอเพิกถอนประกาศกกต. เนื่องจากจำกัดเสรีภาพในการแสดงความเห็นเรื่องประชามติเกินความจำเป็น ทำให้ทำกิจกรรมรณรงค์หรือขายเสื้อไม่ได้ พร้อมขอให้ระงับการออกอากาศรายการ “7 สิงหาประชาร่วมใจ” เพราะให้น้ำหนักข้างเดียว

iLaw เผยผลสำรวจ ร้อยละ 90 ไม่รู้เรื่อง 'คำถามพ่วง' และกว่าครึ่งไม่รู้วันลงประชามติ

ไอลอว์ทำการสุ่มสำรวจอย่างไม่เป็นทางการ อยากรู้ว่าคนในสังคมตื่นตัวเรื่องการทำประชามติขนาดไหนในบรรยากาศที่การรณรงค์เป็นไปได้ยาก พบร้อยละ  ร้อยละ 70 ไม่ทราบวันลงประชามติ ร้อยละ 90 ไม่รู้เรื่องคำถามพ่วง

จอน อึ๊งภากรณ์: เว็บประชามติเป็น “เวทีแสดงความเห็นในสังคมที่ถูกปิดกั้น”

เกือบจะครบหนึ่งปีแล้วที่เว็บไซต์ประชามติ (prachamati.org) เปิดตัวมา  “จอน อึ๊งภากรณ์” ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ผู้ผลักดันเว็บไซต์แห่งนี้ได้ย้อนทบทวนการทำงานของเว็บไซต์ประชามติที่ผ่านมาว่ามีส่วนสร้างการมีส่วนร่วมในสังคมได้แค่ไหน และมองไปข้างหน้าว่าในปี 2559 นี้ที่รัฐบาลบอกว่าจะมีการทำประชามติจริงนั้น ทิศทางของเว็บประชามติจะเป็นอย่างไร

 

“จอน อึ๊งภากรณ์” เปิดเวทีอภิปราย รธน.-จุดประเด็นประชามติ ให้ “พลเมืองเป็นใหญ่” ผ่านเว็บไซต์ Prachamati.org

สื่อมวลชนทางเลือกกลุ่มหนึ่ง นำโดย iLaw, ประชาไท, ไทยพับลิก้า และสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเปิด “เวที” ให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นที่มาของเว็บไซต์ Prachamati.org โดยมี “จอน อึ๊งภากรณ์” ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) เป็นผู้ผลักดัน ลองรับฟังเหตุผลว่า  Prachamati.org เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

สี่องค์กรจับมือเปิดตัวเว็บไซต์ประชามติ

ภาพจาก Thaipublica

 

 

เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม เวลา 15.30 น. สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักข่าวไทยพับลิก้า ประชาไท และโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) จัดงานเปิดตัวเว็บไซต์ Prachamati.org ที่ร้านบราวน์ชูการ์ เดอะ แจ๊ส บูทีค ใกล้แยกผ่านฟ้า ถ.พระสุเมรุ

Subscribe to RSS - จอน อึ๊งภากรณ์