ทำให้ราคา “สินค้าบาป” เพิ่มสูงขึ้น โดยไม่ได้ช่วยให้คนไทยลดการบริโภคสินค้าบาปเหล่านั้น

การที่ราคา “สินค้าบาป” ปรับตัวสูงขึ้น กระทบกับผู้มีรายได้ต่ำมากกว่าผู้มีรายได้สูง นอกจากนั้น ข้อเท็จจริงคือราคาสินค้าบาปที่เพิ่มขึ้นก็ไม่ได้ทำให้คนไทยลดการบริโภคสินค้าบาปเหล่านั้นลง ตัวอย่างเช่น อัตราการสูบบุหรี่ของคนไทย ในปี พ.ศ. 2544 มีสัดส่วนร้อยละ 25.5 จากจำนวนประชากรทั้งหมด ขณะที่ในปี พ.ศ. 2554 มีสัดส่วนร้อยละ 21.4 จากจำนวนประชากรทั้งหมด แต่อายุเฉลี่ยของผู้เริ่มต้นสูบบุหรี่ลดลงจาก 18.5 ปี ในปี พ.ศ. 2544 มาเป็นอายุเฉลี่ย 17.9 ปี ในปี พ.ศ. 2554 ส่วนอัตราการดื่มสุราของคนไทย เมื่อปี พ.ศ. 2544 มีสัดส่วนร้อยละ 32.6 จากจำนวนประชากรทั้งหมด ในขณะที่ในปี พ.ศ. 2554 มีสัดส่วนร้อยละ 31.5 ซึ่งจะเห็นว่าปรับตัวลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (ข้อมูลจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2554)

แสดงความเห็น