ปฎิรูปกองทัพไทย เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 681 คน

หากถามว่า "ทหาร" มีหน้าที่อะไรบ้าง? อาจจะดูเป็นคำถามที่หลายคนคงตอบอย่างง่ายดายว่า "ปกป้องประเทศ" แต่ทว่า หากมองให้ลึกลงไปกว่านั้นแล้วนิยามของคำว่า "ปกป้องประเทศ" นั้นสมควรจะประกอบไปด้วยอะไรบ้างคงยากที่จะตอบให้ครบถ้วนได้ในทันที

อย่างไรก็ดี ภายใต้คำขวัญของกองทัพที่จะทำหน้าที่เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน แต่ก็ยังมีหลายคน หลายกลุ่มที่ไม่พึงพอใจบทบาทของกองทัพที่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง การที่ไม่อยู่ภายใต้รัฐบาลพลเรือน หรือแม้แต่จำนวนนายพลที่มากเกินกว่าความจำเป็น รวมถึงภารกิจที่ทับซ้อนกับหน่วยงานอื่นๆ หรือการใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อซื้อยุทโธปกรณ์ อาทิ เรือดำน้ำ เป็นต้น

ทั้งนี้ ประเด็นและข้อเสนอในการปฎิรูปกองทัพเริ่มมีอย่างเด่นชัดที่สุดคือ ในรายงานของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย (คปร.) ชุดของอานันท์ ปันยารชุน โดย คปร. จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ศึกษาและสรุปแนวทางปฏิรูปประเทศไทย และส่วนหนึ่งของรายงานเล่มหนานี้ ได้กล่าวถึงแนวทางปฏิรูปกองทัพเพื่อสร้างกองทัพที่มีสมรรถนะสูงสุดสำหรับทำภารกิจป้องกันประเทศ โดยมีหลักการในการปฏิรูปสำคัญสามประการ ได้แก่ 

1. ทหารต้องยอมรับอำนาจสูงสุดในการกำหนดนโยบายแห่งชาติจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
2. ลดภารกิจที่ไม่ใช่กิจการโดยตรงของกองทัพ โดยเฉพาะการเข้ามามีบทบาททางการเมือง
3. ปรับลดขนาด ตำแหน่ง และยุทโธปกรณ์ ที่ไม่จำเป็น แล้วนำทรัพยากรไปทุ่มเทให้กับภารกิจหน้าที่หลักของกองทัพ

สถานะการเปิดให้โหวต: 
ปิดการโหวต

แสดงความเห็น

ประเด็นสนับสนุน

ต้องจัดการศึกษา และเปลี่ยนทัศนคติของกองทัพให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก และยึดโยงกับประชาชน มิใช่ให้ทหารเป็นคู่ขัดแย้งกับประชาชนเสียเอง

Votes: ชอบ 4 ไม่ชอบ 0 0 ความเห็น

ควรลดงบประมาณของกองทัพ เพราะประเทศไทยไม่ได้อยู่ในสภาวะสงคราม ดังนั้นไม่จำเป็นต้องนำงบประมาณจำนวนมากไปใช้สำหรับการส่งเสริมแสนยานุภาพของกองทัพ

Votes: ชอบ 4 ไม่ชอบ 0 1 ความเห็น

กองทัพจัดงบประมาณทับซ้อนกับกระทรวงมหาดไทย เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับงบประมาณแผ่นดิน ควรจัดสรรให้องค์กรภายใต้กำกับของกระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบอย่างเต็มที่

Votes: ชอบ 4 ไม่ชอบ 0 1 ความเห็น

ประเด็นคัดค้าน

การให้ทหารมีความเป็นอิสระจากรัฐบาลก็เพื่อว่าหากประชาชนขาดที่พึ่ง ก็ยังมีทหารที่เข้ามายุติความขัดแย้งได้ เหมือนอย่างการเข้ามาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพราะรัฐบาลไม่มีศักยภาพที่จะบริหารประเทศนี้ ไม่ว่าจะปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น หรือการแก้ปัญหาวิกฤติต่างๆ ถ้าหากให้รัฐบาลมากำกับดูแลหรือมีอำนาจในการควบคุมกองทัพแล้ว รัฐบาลพลเรือนก็จะใช้อำนาจของกองทัพในการจัดการกับประชาชนที่ต่อต้านรัฐบาล ดังนั้นการคงสภาพของกองทัพไว้เช่นนี้ดีอยู่แล้ว

Votes: ชอบ 0 ไม่ชอบ 3 1 ความเห็น

การที่ประเทศมีกองทัพขนาดใหญ่ มีคนระดับหัวกะทิมากมายอยู่ในกองทัพ มันสะท้อนว่าเรามีผู้เชี่ยวชาญในด้านการสงครามจำนวนมาก และมันคือแสนยานุภาพ แทนที่จะลดขนาดของนายพลให้สอดคล้องกับจำนวนกองทหาร ทำไมไม่เป็นการเพิ่มขนาดกองทหารให้สอดคล้องกับนายพลบ้าง หรืออย่างการซื้อเรือดำน้ำ ก็เป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างภาพความมั่นคงให้ประเทศว่า เรามีแสนยานุภาพไม่แพ้ประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกที่สงครามระหว่างประเทศเกิดขึ้นอย่างนับไม่ถ้วน หากไม่เตรียมตัวไว้แต่เนิ่นๆ ก็อาจจะสายเกินไป

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 2 0 ความเห็น