สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ

เปิดผลการโหวตสองประเด็นใน Prachamati.org

Prachamati.org ทำการเปิดผลโหวตสองประเด็นคือ เห็นด้วยหรือไม่กับการมีสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ จากผู้ลงคะแนนเสียงทั้งหมด 1867 คน เห็นด้วย  9.8 % และไม่เห็นด้วย 90.2 %  และ อีกประเด็นคือ เห็นด้วยหรือไม่กับหน้าที่พลเมืองตามที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนด จากผู้ลงคะแนนเสียงทั้งหมด 1812 คน เห็นด้วย 20.1 % และไม่เห็นด้วย 79.9 % ตัวเลขทั้งสองบันทึกไว้ตอนเที่ยงของวันที่ 31 พ.ค. 58 และยังเปิดการโหวตต่อให้ผู้ที่ยังไม่ได้ลงคะแนนสามารถใช้สิทธิ์ได้  อย่างไรก็ตาม ยังเปิดการโหวตต่อให้ผู้ที่ยังไม่ได้ลงคะแนนสามารถใช้สิทธิ์ได้อยู่

มุมมอง-ข้อขัดแย้ง ตั้ง′สมัชชาคุณธรรม′

มติชนออนไลน์รวมความคิดเห็นต่อ แนวคิดการจัดตั้งสมัชชาคุณธรรม ตามร่างรัฐธรรมนูญใหม่ พนัส ชี้คล้ายลอกแบบพรรคคอมมิวนิสต์จีน สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ชี้ที่มาต้องยึดโยงกับประชาชน

"พลเดช ปิ่นประทีป" ชูสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ตีกรอบมาตรฐาน"นักการเมือง-ขรก."

พลเดช ปิ่นประทีป สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ให้สัมภาษณ์ "มติชน" ถึงโครงสร้างของ พ.ร.บ.สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ พร้อมเปิดเผยที่มาและการสรรหา ประกอบด้วย คณะมนตรี 5 คน สมาชิกอีก 55 คน มาจากสภาวิชาชีพ สภาองค์กรชุมชน ฯลฯ

ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 2174 คน
เห็นด้วย 232ไม่เห็นด้วย 1942

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีการบัญญัติให้จัดตั้งองค์กรขึ้นมาหลายองค์กร และหนึ่งในนั้นคือ 'สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ' โดยแนวคิดริเริ่มขององค์กรดังกล่าวเกิดขึ้นจากสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านการปฏิรูปคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล ได้เสนอให้มีการตราพระราชบัญญัติ สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ.... เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในทุกภาคส่วน อย่างไรก็ดี เนื้อสาระสำคัญเกี่ยวกับองค์กรดังกล่าวถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่จะมีการตราเป็นพระราชบัญญัติ กับ ส่วนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

วรเจตน์ ภาคีรัตน์ วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ (1) “หนักกว่า 2550”

ใบตองแห้ง และกองบก. ข่าวการเมืองประชาไท
สัมภาษณ์/เรียบเรียง

“รัฐธรรมนูญฉบับนี้พยายามที่จะสร้างระบอบการปกครองแบบใหม่ขึ้นมา คล้ายๆ กับย้อนไปปี พ.ศ. 2492 ที่เป็นการ Counter การอภิวัฒน์ 2475 รัฐธรรมนูญนี้มีทิศทางแบบนั้น แต่หนักกว่าปี 2492 และปี 2550 เข้าไปอีก”

องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ “ยุบ-ควบรวม-ตั้งใหม่” ใครจะอยู่ใครจะไป – จับตาหน่วยงานใหม่อุดปัญหาในอดีต

การที่ฝ่ายการเมืองพยายามแทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระ ทำให้องค์กรอิสระหลายแห่งถูกตั้งคำถาม ถึงความเป็นกลาง นั่นจึงกลายเป็นโจทย์สำคัญที่นำมาสู่การสังคายนาองค์กรอิสระของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างในหลายองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการ ยุบ ควบรวม ปรับอำนาจบทบาท และการตั้งองค์กรขึ้นใหม่ มีองค์กรอะไรบ้าง?

Subscribe to RSS - สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ