การแก้ไขรัฐธรรมนูญ

จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์: ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ "เกินความจริง"

ประเทศไทยมีอะไร "เกินความจริง" อยู่เต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นนายกฯ ที่เสนอให้ไปขายยางพาราที่ดาวอังคาร หรือการเรียกมูลค่าความเสียหายที่เกิดจากรัฐซื้อของด้อยคุณภาพว่า ค่าซื้อความรู้ที่แพงไปหน่อย เป็นต้น ซึ่งก็น่าสนใจว่า แล้วร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยมีเรื่องเกินความจริงซุกซ่อนอยู่หรือไม่ มาคำตอบไปพร้อมกับ"จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์" เจ้าของหนังสือ "การเมือง เรื่องเซอร์เรียล" ได้ที่นี้

เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์: ร่างรัฐธรรมนูญนี้แค่มีข้อเสียข้อเดียวก็ต้องไม่รับเพราะมันแก้ไม่ได้

ชื่อของเจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คงจะคุ้นหูใครหลายคนอยู่ไม่น้อย เพราะนอกจากจะเป็นนักวิชาการที่ออกมาให้ความเห็นทางวิทยาศาสตร์อยู่บ่อยครั้ง เขายังเป็นคนที่ติดตามสถานการณ์บ้านเมืองเป็นอย่างดี ยกตัวอย่าง การเรียกร้องให้ตรวจสอบการจัดซื้อเครื่องมือ "จีที200" อันฉาวโฉ่ และในวาระที่ประเทศไทยกำลังจะมีการออกเสียงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ เราจึงตัดสินใจไปคุยกับเจษฎาถึงจุดยืนและประเด็นในร่างรัฐธรรมนูญ

ความคืบหน้า แก้ไขร่าง รธน.รายประเด็น

โฆษก กมธ.ยกร่างฯ เผยความคืบหน้าแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญรายประเด็น ไม่ยุบ กกต., ไม่ควบรวมผู้ตรวจการ-กสม., นายกฯ คนนอกต้องได้เสียง 2 ใน 3 ทุกกรณี, มีการปรับเพิ่มจำนวน ส.ส.เขต และอาจบรรจุระบบโอเพนลิสต์ไว้ในบทเฉพาะกาล สำหรับความคืบหน้าในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในรายประเด็นอื่นๆ มีความชัดเจนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไม่น้อยกว่า 10 ประเด็น

'บวรศักดิ์' ยอมถอย ทบทวนร่าง รธน.ใหม่

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ  ปาฐาถกฐาเรื่อง "รู้ลึก รู้ชัด กับอนาคตรัฐธรรมนูญ" กล่าว จะทบทวนร่างรัฐธรรมนูญใหม่ อาทิ การปรับจำนวน ส.ส. จากเดิม 250 คน อาจปรับเป็นส.ส.เขต 300 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 150 คน  และมีแนวโน้มว่าการคิด ส.ส.บัญชีรายชื่อ 6 ภาค อาจปรับเป็นแบบเดิมโดยใช้เป็นเขตประเทศ  เรื่องกลุ่มการเมืองก็มีแนวโน้มสูงที่จะเอาออก แต่จะให้มีการตั้งพรรคการเมืองง่ายขึ้น ส่วนหน้าที่ ส.ว.คิดว่าจะปรับในส่วนของการเสนอกฎหมายออกไป เป็นต้น

คสช. เลื่อน #roadmap2 เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 550 คน
เห็นด้วย 171ไม่เห็นด้วย 379

คสช. และ ครม. มีข้อสรุปว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ด้วยกัน 7 ประเด็น ซึ่งส่งผลให้ road map เดิมของ คสช.ต้องเปลี่ยนไป เช่น ขยายเวลาให้กรรมาธิการยกร่างฯแก้ไขเพิ่มแต่ไม่เกิน 30 วัน เมื่อ สปช.ได้ลงมติในร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ไม่ว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบก็ตาม ถือว่าภารกิจเสร็จสิ้นลงแล้ว และให้ตั้ง สภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศขึ้นมาแทนซึงอาจจะเป็นตัวแทนจากสภาปฎิรูป และไม่ว่า กมธ.ยกร่างฯจะสิ้นสุดด้วยกรณีใด (สปช.ไม่เห็นชอบ-ลงประชามติไม่ผ่าน) นายกรัฐมนตรีจะตั้ง 'คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ' จำนวน 21 คน ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ โดยคณะกรรมการชุดนี้จะมีเวลาร่างรัฐธรรมนูญใหม่จำนวน 180 วัน ก่อนไปลงประชามติใหม่

มติครม. แก้ รธน.ชั่วคราว เพื่อเปิดช่องทำประชามติได้

3 มิ.ย.2558 วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี( 2 มิ.ย.) มีมติให้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญแล้ว เนื่องจากรัฐบาลเห็นว่าเมื่อมีข้อเสนอจากหลายฝ่ายที่ต้องการให้ทำประชามติ รัฐบาลจึงเป็นผู้ตัดสินใจ เพื่อไม่ให้เป็นการโยนปัญหาว่าฝ่ายใดมีอำนาจในการตัดสินใจในอนาคต ทั้งนี้ จะบรรจุ 4 แนวทางแก้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ว่าหากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ จะมีทางออกอย่างไร ซึ่งขณะนี้ยังไม่แล้วเสร็จ เพราะอยู่ระหว่างการชั่งน้ำหนักข้อดี ข้อเสียและทางออก

'ไอร์แลนด์' แก้ รธน. ด้วยประชามติไฟเขียวแต่งงานคนรักเพศเดียวกัน

ในการลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญให้อนุญาตการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกันฝ่ายสนับสนุนได้รับชัยชนะจากคะแนนสนับสนุนร้อยละ 62.1 ต่อ 37.9 ท่ามกลางบรรยากาศของการเฉลิมฉลองให้กับ "ความเสมอภาค" จากกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน ขณะที่ฝ่ายรณรงค์คัดค้านกล่าวแสดงความยินดีต่อผู้ชนะ

"วิษณุ" คาดทำประชามติ ม.ค. 59 ได้เลือกตั้งไม่เกิน ส.ค. 59

วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี คาดเสนอแก้ไข รธน. ชั่วคราวได้ มิ.ย.นี้ เพื่อเปิดทางทำประชามติ และจะได้ทำประชามติไม่เกิน ม.ค. 59  ยอมรับการทำประชามติกระทบโรดแมป ขยับไป 3-4 เดือน ส่วนการจัดการเลือกตั้งน่าจะไม่เกิน ส.ค. 59

ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 1355 คน
เห็นด้วย 226ไม่เห็นด้วย 1129

ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นประเด็นหนึ่งซึ่งเป็นที่ถกเถียงในร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน โดยเฉพาะการให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสูงสุดในการวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่ามีเนื้อหาถูกต้องหรือไม่ ฝ่ายสนับสนุนเห็นว่าการเพิ่มอำนาจให้ศาลรัฐธรรมนูญมากจะเป็นการป้องการเผด็จการรัฐสภาที่มักจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้อง ส่วนฝ่ายคัดค้านเห็นว่าอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นอำนาจโดยชอบของรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนโดยผ่านการเลือกตั้ง ซึ่งการให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญมากจะเป็นการขัดกับหลักการแบ่งแยกอำนาจ

Subscribe to RSS - การแก้ไขรัฐธรรมนูญ