คสช. เลื่อน #roadmap2 เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 550 คน
เห็นด้วย 171ไม่เห็นด้วย 379

วันที่ 10 มิถุนายน 2558 ที่ประชุมร่วม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และ คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีข้อสรุปว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ด้วยกัน 7 ประเด็น โดยมีสองประเด็นที่เกี่ยวข้องกับร่างรัฐธรรมนูญและการทำประชามติ ซึ่งส่งผลให้ road map เดิมของ คสช.ต้องเปลี่ยนไป 

การแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ส่งผลให้เกิด #roadmap2 กล่าวคือ

ในขั้นแรก คสช. - ครม. เสนอขยายเวลาให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญร่างแรก จาก 60 วัน เป็น 90 วัน โดยกรรมาธิการยกร่างฯ จะขยายเพิ่มหรือไม่ก็ได้

ขั้นที่สอง สภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) จะเปิดประชุมเพื่อโหวตรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งคาดว่าอย่างช้าวันที่ 4 กันยายน 2558 สปช.จะมีมตินี้ ทั้งนี้หาก สปช.เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบก็ตาม สปช.จะถูกยุบโดยปริยาย และนายกรัฐมนตรีจะตั้งสภาขับเคลื่อนปฏิรูป 200 คน 

ขั้นที่สาม ในกรณี สปช.ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ คณะกรรมาธิการยกฯ จะถูกยุบ และนายกรัฐมนตรี จะตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญในระยะเวลา 180 วัน ซึ่งคาดว่าอย่างเร็วช่วงเดือนมีนาคม 2559 จะร่างแล้วเสร็จ เมื่อร่างเสร็จจะต้องนำร่างรัฐธรรมนูญไปทำประชามติ คาดว่าอย่างเร็วจะมีการทำประชามติช่วงเดือนกรกฎาคม 2559   

ขั้นที่สี่ ในกรณี สปช.เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ กรรมาธิการยกร่างฯ จะปฏิบัติหน้าที่ต่อไป โดย ศุภชัย สมเจริญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) กล่าวว่าหาก สปช.ลงมติตามโรดแมปที่กำหนด วันที่ 16 กันยายนนี้ ทาง สปช.จะต้องส่งต้นฉบับของร่างรัฐธรรมนูญมาให้ กกต. จากนั้นวันที่ 30 กันยายน กกต.จะต้องจัดหาโรงพิมพ์ที่มีศักยภาพและมีประสิทธิภาพเพียงพอจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 19 ล้านครัวเรือน  หรือร้อยละ 80 ครัวเรือนให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน คือภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน และแจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้ประชาชนได้ศึกษารายละเอียดภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน จากนั้นจะลงประชามติในวันที่ 10 มกราคม 2559

ในกรณีร่างรัฐธรรมนูญผ่านการทำประชามติ คณะกรรมาธิการยกร่างฯ จะทำหน้าที่ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเพื่อเตรียมไปสู่การเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญใหม่ แต่หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการทำประชามติ กรรมาธิการยกร่างฯ จะถูกยุบ และนายกรัฐมนตรีจะตั้ง 'คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ' จำนวน 21 คน ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ โดยคณะกรรมการชุดนี้จะมีเวลาร่างรัฐธรรมนูญใหม่จำนวน 180 วัน ซึ่งคาดว่าอย่างเร็วช่วงเดือนกรกฎาคม 2559 จะร่างแล้วเสร็จ เมื่อร่างเสร็จจะต้องนำร่างรัฐธรรมนูญไปทำประชามติ อย่างเร็วน่าจะอยู่ช่วงเดือนตุลาคม 2559 หากร่างรัฐธรรมนูญใหม่ไม่ผ่านประชามติ ก็อาจจะมีการหยิบยกรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งขึ้นมา

 

สถานะการเปิดให้โหวต: 
ปิดการโหวต

แสดงความเห็น

ประเด็นสนับสนุน

การขยายเวลาให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็น 90 วันจะทำให้ผู้ร่างรัฐธรรมนูญมีเวลารับฟังความคิดเห็นและแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญให้สมบูรณ์และน่าพอใจสำหรับทุกฝ่ายมากขึ้น

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 0 0 ความเห็น

การแก้ไขให้มีการทำประชามติ หรือการแจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญ จะช่วยให้ประชาชนสนใจและศึกษาาร่างรัฐธรรมนูญมากยิ่งขึ้น และเมื่อมีการทำประชามติก็จะเป็นการออกเสียงที่มีคุณภาพ

Votes: ไม่มีคะแนน 0 ความเห็น

ประเด็นคัดค้าน

ไม่ว่าร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านหรือไม่ผ่านความเห็นชอบของ สปช. ถือเป็นการปูทางเพื่อสืบทอดอำนาจอย่างชัดเจน เนื่องจากสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศเขียนไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ดังนั้น การตั้งองค์กรดังกล่าว โดยที่ไม่รอให้ประชาชนลงประชามติว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เท่ากับเป็นการมัดมือชก และไม่ฟังเสียงประชาชน

Votes: ชอบ 2 ไม่ชอบ 0 1 ความเห็น

road map #2 ของ คสช.จะทำให้เกิดการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทุกครั้งหากร่างรัฐธรรนูญไม่ผ่านการทำประชามติ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเสียเวลาและโอกาสไปมากหากวนเวียนอยู่กับเรื่องรัฐธรรมนูญเพียงเรื่องเดียว ซึ่งทางออกที่ดีหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านควรกับไม่ใช้รัฐธรรมนูญที่ดีอยู่แล้ว เช่น รัฐธรรมนูญปี 2540 เพื่อไม่ให้เสียเวลาและสิ้นเปลื้องโดยใช่เหตุ

Votes: ชอบ 1 ไม่ชอบ 0 0 ความเห็น

เห็นได้ว่าประชาชนมีทางเลือกแค่สองทาง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อประชาชนทั้งสองทาง และก็ไม่แฟร์กับประชาชน ในกรณีที่ถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่าน คณะผู้มีอำนาจที่ปกครองอยู่ในขณะนี้ก็ยังไม่ได้แสดงออกถึงท่าทีในการรับผิดชอบ มีแต่จะดันทุรังอยู่ต่อในอำนาจและก็จะตั้งคณะร่างขึ้นมาใหม่ แบบไม่รู้จบ โดยไม่มีเวลากำหนด ประชาชนก็ยังอยู่ภายใต้รัฐบาลทหารเผด็จการอยู่ดีไปอีกนานเท่านาน

Votes: ไม่มีคะแนน 0 ความเห็น

 การกำหนดให้ สปช.สิ้นสุดลง ไม่ว่าร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านความเห็นชอบหรือไม่ และตั้งสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศขึ้นแทน เป็นที่สังเกตว่า น่าจะเป็นการปูทางเพื่อต่ออายุให้กับรัฐบาล และ คสช.ต่อไป เพราะเป็นไปได้ที่ สปช. อาจโหวตไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อจะได้ตั้งกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ และนำร่างรัฐธรรมนูญไปให้ประชาชนลงประชามติ ซึ่งใช้เวลานาน

Votes: ไม่มีคะแนน 0 ความเห็น