รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557

คสช. เลื่อน #roadmap2 เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 550 คน
เห็นด้วย 171ไม่เห็นด้วย 379

คสช. และ ครม. มีข้อสรุปว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ด้วยกัน 7 ประเด็น ซึ่งส่งผลให้ road map เดิมของ คสช.ต้องเปลี่ยนไป เช่น ขยายเวลาให้กรรมาธิการยกร่างฯแก้ไขเพิ่มแต่ไม่เกิน 30 วัน เมื่อ สปช.ได้ลงมติในร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ไม่ว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบก็ตาม ถือว่าภารกิจเสร็จสิ้นลงแล้ว และให้ตั้ง สภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศขึ้นมาแทนซึงอาจจะเป็นตัวแทนจากสภาปฎิรูป และไม่ว่า กมธ.ยกร่างฯจะสิ้นสุดด้วยกรณีใด (สปช.ไม่เห็นชอบ-ลงประชามติไม่ผ่าน) นายกรัฐมนตรีจะตั้ง 'คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ' จำนวน 21 คน ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ โดยคณะกรรมการชุดนี้จะมีเวลาร่างรัฐธรรมนูญใหม่จำนวน 180 วัน ก่อนไปลงประชามติใหม่

ที่ประชุมร่วม ‘ครม.-คสช.’ ได้ข้อสรุปเตรียมแก้ไขร่างรธน. 7 ประเด็น

9มิ.ย.58 วิษณุ เครืองาม แถลงหลังการประชุมร่วม ครม.และ คสช. ซึ่งที่ประชุมได้ข้อสรุปว่า จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ใน 7 ประเด็น ใช้ชื่อว่าร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2558 โดยแก้ไขประเด็นสำคัญ เช่น การขยายระยะเวลาแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการทำประชามติ ขณะที่ กกต.ระบุการลงประชาประชามติน่าจะเกิดขึ้นในวันที่ 10 มกราคม 2559

จับตาประชามติ หลัง ครม-คสช. มีมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2557

หลังจากที่กระแสให้มีการประชามติ 'ปฎิรูปก่อนเลือกตั้ง' ซึ่งอาจจะส่งผลให้รัฐบาลทหารอยู่ต่ออีก 2 ปี ก็มีทั้งฝ่ายเห็นด้วยและคัดค้าน อย่างไรก็ดี การประชุมระหว่าง คสช.-ครม. ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปในประเด็นดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าหลังจากนี้ ฝ่ายใดของรัฐบาลจะเป็นผู้เสนอเรื่องดังกล่าวให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่วนข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว ให้ขยายเวลากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ไม่เกิน 30 วัน และหากลงประชามติไม่ผ่านให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมาธิการยกร่างใหม่ 21 คน

มติครม. แก้ รธน.ชั่วคราว เพื่อเปิดช่องทำประชามติได้

3 มิ.ย.2558 วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี( 2 มิ.ย.) มีมติให้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญแล้ว เนื่องจากรัฐบาลเห็นว่าเมื่อมีข้อเสนอจากหลายฝ่ายที่ต้องการให้ทำประชามติ รัฐบาลจึงเป็นผู้ตัดสินใจ เพื่อไม่ให้เป็นการโยนปัญหาว่าฝ่ายใดมีอำนาจในการตัดสินใจในอนาคต ทั้งนี้ จะบรรจุ 4 แนวทางแก้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ว่าหากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ จะมีทางออกอย่างไร ซึ่งขณะนี้ยังไม่แล้วเสร็จ เพราะอยู่ระหว่างการชั่งน้ำหนักข้อดี ข้อเสียและทางออก

รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 จัดทัพฝ่ายบริหาร-นิติบัญญัติ วางดุลอำนาจ คสช. -นายกรัฐมนตรี เทียบจุดอ่อน-จุดแข็ง รัฐธรรมนูญหลังรัฐประหาร 3 ยุคนายพล “บิ๊กจ๊อด-บิ๊กบัง-บิ๊กตู่”

สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อเหมือนข้อต่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2534, 2549 และ 2557 พร้อมตั้งข้อสังเกตการร่างรัฐธรรมนูญหลังรัฐประหารในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา อยู่ในมือกลุ่มนักกฏหมายสาย ดร.มีชัย ฤชุพันธ์ุ, ดร.วิษณุ เครืองาม, ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ 

Subscribe to RSS - รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557