คำถามพ่วง

เกินตัวบท? ปัญหาการตีความคำถามพ่วงกับอำนาจเสนอชื่อนายกฯ

พอคำถามพ่วงผ่าน ปัญหาที่ตามมาคือ การตีความคำถามพ่วงโดยสนช. ว่า ท้ายที่สุดแล้ว คำว่าให้ความเห็นชอบนั้น จะถือว่า ส.ว. มีอำนาจเสนอชื่อนายกฯ ด้วยหรือไม่ หรือควรถูกจำกัดไว้แค่การพิจารณาให้ความเห็นชอบจากบุคคลที่ ส.ส. เป็นคนเลือกมา โดยก็มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยแตกต่างกันไป ซึ่งความชัดเจนในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญที่เพิ่งผ่านการออกเสียงประชามติของประชาชนยังต้องคอยดู

คำถามพ่วง: เห็นชอบให้ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้ง ร่วมกับ ส.ส.เลือกนายกฯ หรือไม่?

วันที่ 7 สิงหาคม 2559 เป็นวันออกเสียงประชามติ หลายคนคงรู้ว่าเรื่องที่เราต้องไปออกเสียงในวันนั้นคือคำถามว่า "เห็นชอบ หรือ ไม่เห็นชอบ กับร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ" แต่ไม่แน่ใจว่า ทุกคนรู้หรือยังว่าในบัตรออกเสียงใบเดียวกันยังมีคำถามที่สอง คือ  เห็นชอบให้ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้ง ร่วมกับ ส.ส.เลือกนายกฯ หรือไม่

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ และคำถามพ่วง เพื่อเตรียมพร้อมก่อนลงประชามติ

สรุปรวมเนื้อหาสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ ในหลากหลายประเด็น รวมทั้งคำถามพ่วง เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงประชามติ ในวันที่ 7

เปิดโหวตออนไลน์ ประชาชน 85% ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญและ 93% ไม่รับคำถามพ่วง

เว็บไซต์ประชามติ เปิดให้ประชาชนทั่วไปในโลกออนไลน์ ลงคะแนนเสียงออนไลน์สองคำถามประชามติทางเพจเฟซบุ๊ก ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ร้อยละ 85 ไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ และร้อยละ 93 ไม่เห็นชอบคำถามพ่วง

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: ที่มาและอำนาจของ ส.ว. แบบไม่ได้ง้อการเลือกตั้ง

ที่มา ส.ว. ในร่างรัฐธรรมนูญมีชัย แบ่งออกเป็นสองช่วงเวลา คือ หนึ่ง ช่วงระยะ 5 ปี นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ ที่ให้ ส.ว. มาจากการแต่งตั้งของ คสช. ทั้งหมด แล้วหลังจากนั้น ค่อยเปลี่ยนที่มาของ ส.ว. ใหม่ ให้มาจากการคัดเลือกกันเองของแต่ละกลุ่มอาชีพโดยไม่มีการเลือกตั้ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อำนาจของ ส.ว. ทั้งสองช่วงก็ยังเหมือนเดิม เช่น การตรวจสอบฝ่ายบริหาร การพิจารณากฎหมาย และการแต่งตั้งบุคคลในองค์กรอิสระ เป็นต้น

รวมแหล่งข้อมูลร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับลงประชามติ)

เว็บประชามติ ชวนทุกคนมาอ่านข้อมูลเกี่ยวกับสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับลงประชามติ) เพื่อเตรียมพร้อมก่อนกำหนดอนาคตประเทศร่วมกัน ในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ โดยทางเราได้รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ ที่เป็นประเด็นหรือสาระสำคัญหลังมีร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับลงประชามติ) ออกมาเมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา

 

ถาม-ตอบ 20 ข้อสงสัย ก่อนประชามติ 7 สิงหาคม

หลังจากที่มีการถามปัญหาเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559 เข้ากันเข้ามาเยอะมาก วันนี้เพจประชามติจึงรวบรวมปัญหาที่สอบถามกันเข้ามาบ่อยๆไว้ที่โพสต์นี้เลย

 

นับถอยหลังประชามติรธน. : ความสับสนการรณรงค์ประชามติ รธน. – แสดงจุดยืน “รับ-ไม่รับ” กกต. บอกทำได้ แต่ คสช. ห้าม

กกต. ออกประกาศกำหนดสิ่งที่ทำได้-ไม่ได้ในการรณรค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญ แต่พล.อ. ประยุทธ์ จันโทชา บอกการรณรงค์แสดงจุดยืนทำไม่ได้ ขณะที่ ด้านนักวิชาการ ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยพ.ร.บ.ประชามติฯ มาตรา 61 ละเมิดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนและขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

ทีมเว็บไซต์ประชามติ ประกาศรางวัลกิจกรรม แข่งกันเขียนคำถามพ่วงใหม่ เนื้อหาครบถ้วน และเข้าใจง่าย

เมื่อ 11 กรกฎาคม 2559 ทางทีมงานเพจประชามติ จัดกิจกรรมชวนทุกคนมาลองเขียนคำถามพ่วงใหม่ให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยเลือกคำถามที่เห็นว่า เนื้อหาครบถ้วนและเข้าใจง่ายสุด  คือ "เห็นชอบหรือไม่ ถ้าในช่วง 5 ปีแรก จะให้ สว.(ที่มาจากการคัดเลือกของ คสช.) ร่วมลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีด้วย" เสนอโดย ธนนริศร์ อ.เมือง รับไปเลยตั๋วหนัง SF สองใบ 

iLaw เผยผลสำรวจ ร้อยละ 90 ไม่รู้เรื่อง 'คำถามพ่วง' และกว่าครึ่งไม่รู้วันลงประชามติ

ไอลอว์ทำการสุ่มสำรวจอย่างไม่เป็นทางการ อยากรู้ว่าคนในสังคมตื่นตัวเรื่องการทำประชามติขนาดไหนในบรรยากาศที่การรณรงค์เป็นไปได้ยาก พบร้อยละ  ร้อยละ 70 ไม่ทราบวันลงประชามติ ร้อยละ 90 ไม่รู้เรื่องคำถามพ่วง

Pages

Subscribe to RSS - คำถามพ่วง