ฉบับลงประชามติ

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: สร้างมาตรฐานจริยธรรม ควบคุมฝ่ายการเมือง

มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ให้ฉายาร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างมากับมือว่า “รัฐธรรมนูญ ฉบับปราบโกง” เหตุผลที่ทำให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องเน้นปราบโกง  เพราะที่ผ่านมา มีการโกงกันมากจนประเทศชาติเสียหาย ส่งผลกระทบทั้งต่อเศรษฐกิจและสังคม และนี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ผู้สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ใช้ในการเชิญชวนประชาชนให้ไปรับร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 สิงหาคม

สรุปสาระสำคัญร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ

หากใครไม่มีเวลาอ่านร่างรัฐธรรมนูญเต็ม ยาว 95 หน้า 297 มาตรา เราสรุปสั้นๆ มาให้ที่นี่ พร้อมลิงก์ไปยังรายละเอียดแต่ละประเด็นหากต้องการรู้ต่อ

รีบศึกษาก่อนลงประชามติ

เหลืออีกไม่กี่วันแล้ว!!

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: สิทธิแรงงานแบบกลับไม่ได้-ไปไม่ถึง

ทันทีที่ร่างรัฐธรรมนูญมีชัยเผยโฉมออกมา มันได้ส่งแรงกระเพื่อมไปยังกลุ่มคนหลายกลุ่มในสังคม ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ กลุ่มผู้ใช้แรงงาน เนื่องจากมีความกังวลกันว่าสิทธิที่เคยได้รับการคุ้มครองในอดีตจะหายไปหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าจ้างที่เป็นธรรม การจัดสวัสดิการโดยเสมอภาค และการรวมตัวกันเป็นสหภาพ

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: "หมวดปฏิรูป" และ "ยุทธศาสตร์ชาติ" ภาพฝันที่ คสช. เร่ขาย

"หมวดปฏิรูป" ถูกเขียนอย่างสวยงามไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ พร้อมกำหนดให้มี "แผนยุทธศาสตร์ชาติ" ร่างโดยรัฐบาลคสช. มีผลผูกพันรัฐบาลหน้าไปด้วย แต่หากย้อนดูผลงาน คสช. ที่เคยลั่นวาจาไว้ว่าจะปฏิรูปประเทศก็ยังไม่เห็นว่าภาพฝันอันนี้จะเป็นจริงอย่างไร

เห็นร่างรัฐธรรมนูญวันนี้ สิ้นปีหน้าได้เลือกตั้ง

หลังจากที่ได้เห็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติแล้ว คำถามต่อไปสำหรับหลายๆ คนที่อาจมองข้ามการทำประชามติไปเลยก็คือ แล้วเมื่อไหร่จะได้เลือกตั้ง? เรารวบรวมระยะเวลาที่ใช้ในระหว่างเดินไปสู่การเลือกตั้ง จนได้ข้อสรุปว่า กว่าจะได้เลือกตั้งต้องใช้เวลาถึง 480 วัน หรือ 16 เดือน นับจากวันลงประชามติ หรือให้ชัดกว่านั้นคือ ประมาณเดือนธันวาคม 2560

แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญมีชัย ง่ายซะที่ไหน

การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีการตั้งเงื่อนไขหลายข้อ เช่น การแก้ไขบททั่วไป หมวดพระมหากษัตริย์ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ อำนาจหน้าที่ของศาลหรือองค์กรอิสระจะต้องผ่านการทำประชามติก่อน ส่วนขั้นตอนในการพิจารณาวาระต่างๆ ก็ต้องใช้เสียงของสมาชิกวุฒิสภา 1 ใน 3 และความเห็นชอบจากพรรคการเมืองไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 

กรธ. ไม่เขียน "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ" แต่สั่งรัฐสนับสนุนเฉพาะพุทธเถรวาท

ร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ฉบับลงประชามติ ไม่เขียนให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ตัดเรื่องการเสริมสร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนาออก และเขียนนวัตกรรมใหม่ให้รัฐต้องส่งเสริมและเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท และเพิ่มข้อยกเว้นเสรีภาพในการนับถือศาสนาต้อง "ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ"

กรธ.ไม่ ‘ขัดใจ’ ยกให้ คสช. เลือก ส.ว. 250 คนเอง

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ ได้เพิ่มเติมบทเฉพาะกาล กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในวาระเริ่มแรกมี 250 คน มาจาการคัดลือกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเกือบทั้งหมด และมี ส.ว.โดยตำแหน่งที่เป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ 6 คน ด้วยเหตุว่าจะเข้ามาประคับประคองประเทศไทยในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี

Subscribe to RSS - ฉบับลงประชามติ