ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2558

ความเห็นทางกฎหมายของศูนย์ทนายฯ ต่อร่างรัฐธรรมนูญ: ตอนที่ 3 ร่างรัฐธรรมนูญไม่สอดคล้องกับอุดมการณ์ประชาธิปไตย

ศูนย์ทนายฯ เห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญ ประการที่ 1 ที่มาและขั้นตอนการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย และประการที่ 2 คือ ความบกพร่องทางเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ สำหรับตอนนี้จะกล่าวถึง ประการที่ 3 และประการที่ 4 ร่างรัฐธรรมนูญไม่สอดคล้องกับอุดมการณ์รัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตย และคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ

“นักวิชาการ” ซัดร่างรัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยแค่เสี้ยวใบ “คปป.” ไม่มีที่อยู่ในประชาธิปไตย ชี้ “กองทัพ ตำรวจ ศาลรธน.” หลุดพ้นการตรวจสอบ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคมร่วมกับหลายองค์กร จัดงานเสวนา วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ  2558 กับทิศทางการปฏิรูปการเมืองไทย: ทางออกหรือทางตัน โดยมีวิทยากรจากหลายฝ่าย อาทิ ลิขิต ธีระเวคิน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ นิกร จำนง แกนนำพรรคชาติไทยพัฒนา ไพโรจน์ พลเพชร นายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน มาร่วมให้ความเห็น

ความคืบหน้า แก้ไขร่าง รธน.รายประเด็น

โฆษก กมธ.ยกร่างฯ เผยความคืบหน้าแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญรายประเด็น ไม่ยุบ กกต., ไม่ควบรวมผู้ตรวจการ-กสม., นายกฯ คนนอกต้องได้เสียง 2 ใน 3 ทุกกรณี, มีการปรับเพิ่มจำนวน ส.ส.เขต และอาจบรรจุระบบโอเพนลิสต์ไว้ในบทเฉพาะกาล สำหรับความคืบหน้าในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในรายประเด็นอื่นๆ มีความชัดเจนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไม่น้อยกว่า 10 ประเด็น

ชาวเน็ตส่งเสียงประชามติไม่ผ่านนำรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาใช้

20 พ.ค. 2558 เว็บไซต์ prachamati.org เปิดโหวตในคำถาม “หากทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2558 ไม่ผ่าน ควรทำอย่างไร?” โดยมี 6 ตัวเลือกให้ชาวเน็ตเลือกว่า “เห็นด้วย” หรือ “ไม่เห็นด้วย” ซึ่งถึง 4 มิ.ย. ที่ผ่านมา ทุกคำตอบมีผู้โหวตเกิน 1,000 คน เป็นที่เรียบร้อย แต่ก่อนการเปิดผลว่าชาวเน็ตส่วนใหญ่เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบวิธีไหน เราจึงขอเรียกน้ำย่อยจากการสำรวจคอมเม้นท์ในเว็บไซต์และเพจเฟซบุ๊กประชามติ ว่าคิดเห็นกับประเด็นนี้อย่างไรบ้าง?

 

เปิดผลการโหวตสองประเด็นใน Prachamati.org

Prachamati.org ทำการเปิดผลโหวตสองประเด็นคือ เห็นด้วยหรือไม่กับการมีสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ จากผู้ลงคะแนนเสียงทั้งหมด 1867 คน เห็นด้วย  9.8 % และไม่เห็นด้วย 90.2 %  และ อีกประเด็นคือ เห็นด้วยหรือไม่กับหน้าที่พลเมืองตามที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนด จากผู้ลงคะแนนเสียงทั้งหมด 1812 คน เห็นด้วย 20.1 % และไม่เห็นด้วย 79.9 % ตัวเลขทั้งสองบันทึกไว้ตอนเที่ยงของวันที่ 31 พ.ค. 58 และยังเปิดการโหวตต่อให้ผู้ที่ยังไม่ได้ลงคะแนนสามารถใช้สิทธิ์ได้  อย่างไรก็ตาม ยังเปิดการโหวตต่อให้ผู้ที่ยังไม่ได้ลงคะแนนสามารถใช้สิทธิ์ได้อยู่

ร่างรัฐธรรมนูญสร้างกลไกกำกับนโยบายของรัฐบาล เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 516 คน
เห็นด้วย 151ไม่เห็นด้วย 365

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2558 ได้ออกแบบกลไกใหม่ๆ ขึ้นมากำกับหรือตีกรอบการกำหนดนโยบายของรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี โดยกำหนดห้ามใช้นโยบายประชานิยม กำหนดกรอบการปฏิรูป 15 ด้าน ไว้ในหมวด 4 และกำหนดให้รัฐบาลต้องทำตามข้อเสนอของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ ด้านหนึ่งก็เป็นป้องกันการใช้นโยบายประชานิยมที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศ และเป็นการสานต่อแนวทางการปฏิรูปประเทศให้มีความต่อเนื่อง อีกด้านหนึ่งอาจมองได้ว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะขาดอิสระในการดำเนินนโยบาย และองค์กรที่มากำกับนโยบายก็ไม่ยึดโยงกับประชาชน

มองร่างรัฐธรรมนูญไทยผ่านเยอรมัน

ดูเหมือนว่าร่างรัฐธรรมนูญไทย 2558 จะได้รับอิทธิพลจากรัฐธรรมนูญเยอรมันไม่น้อย เช่น ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมที่ไทยเราอ้างว่าอาจจะก้าวหน้ากว่าเยอรมัน หรือการเลือกนายกรัฐมนตรีและการที่นายกฯ สามารถขอมติไว้วางใจตนเองจากสภาผู้แทนราษฎรได้ ก็เป็นประเด็นที่มีความคล้ายคลึงกันที่น่าพิจารณาถึงความเหมือนต่างของรัฐธรรมนูญทั้งสองประเทศ

หากทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2558 ไม่ผ่าน ควรทำอย่างไร?

วันที่ 19 พฤษภาคม 2558 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงมติการประชุมร่วมระหว่างคณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 เพื่อให้มีการทำประชามติ อย่างไรก็ตามคำถามสำคัญของการลงประชามติครั้งนี้คือ ถ้าประชาชนไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ผลลัพธ์ที่จะเป็นที่ยอมรับคืออะไร?

Subscribe to RSS - ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2558