รัฐธรรมนูญ

สมบัติ บุญงามอนงค์: คสช.จะอยู่ยาก ถ้าประชามติไม่ผ่าน

เราพูดคุยกับ  สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ 'บ.ก.ลายจุด' เพื่อให้เขาช่วยมองการทำงานของเว็บไซต์ประชามติ (prachamati.org) และสะท้อนภาพรวมของสังคมไทยปัจจุบัน นอกจากนี้เรายังชวนคุยถึงการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะเกิดขึ้นกลางปีนี้ ว่าจะเอายังไงดี? 
 

โตมร ศุขปรีชา - เรื่องสิทธิขาดพลัง ในสังคมที่ "อำนาจนิยม" เป็นใหญ่

จากการทำงานมาเกือบหนึ่งปีของเว็บไซต์พบว่า มีความคิดเห็นมากมายที่หลบซ่อนอยู่ในสังคม เราจึงขอให้โตมร ศุขปรีชา คอลัมนิสต์ และพิธีกรรายการ "วัฒนธรรมชุบแป้งทอด" หนึ่งในผู้เฝ้ามองสังคมไทย เป็นผู้วิเคราะห์สิ่งที่ซ่อนอยู่ในผลการโหวตของเว็บไซต์ประชามติ

จอน อึ๊งภากรณ์: เว็บประชามติเป็น “เวทีแสดงความเห็นในสังคมที่ถูกปิดกั้น”

เกือบจะครบหนึ่งปีแล้วที่เว็บไซต์ประชามติ (prachamati.org) เปิดตัวมา  “จอน อึ๊งภากรณ์” ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ผู้ผลักดันเว็บไซต์แห่งนี้ได้ย้อนทบทวนการทำงานของเว็บไซต์ประชามติที่ผ่านมาว่ามีส่วนสร้างการมีส่วนร่วมในสังคมได้แค่ไหน และมองไปข้างหน้าว่าในปี 2559 นี้ที่รัฐบาลบอกว่าจะมีการทำประชามติจริงนั้น ทิศทางของเว็บประชามติจะเป็นอย่างไร

 

รัฐธรรมนูญที่ดี ต้องแก้ปัญหาฉวยอำนาจของเสียงข้างมาก โดยไม่ติดกับดักอำนาจนิยมของรัฐราชการ

21 ตุลาคม 2558 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเสวนาทางวิชาการ ในหัวข้อ “รัฐธรรมนูญไทย : มองไปข้างหน้า” โดยมีนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ด้านรัฐศาสตร์ และด้านกฎหมายเข้าร่วมเสวนา นักวิชาการชี้แก้ปัญหาอำนาจนิยมและคอร์รัปชั่นต้องทำให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น ขณะทีอดีตกรรมาธิการยกร่างแม้ที่มาคนร่างปัจจุบันไม่ชอบธรรมแต่มีประชามติ

ใครร่างนั้นสำคัญไฉน?: เปรียบเทียบคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสามชุดในรอบ 20 ปี

ประวัติศาสตร์ฉบับย่อ เกี่ยวกับคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ 3 ชุด และการร่างรัฐธรรมนูญในรอบ 20 ปี น่าจะช่วยเราตอบคำถามว่า ผู้ร่างรัฐธรรมนูญที่พึงปรารถนาควรมีที่มาอย่างไร? ประกอบด้วยกลุ่มบุคคลแบบใด? และเราจะยังวนเวียนอยู่กับนักร่างรัฐธรรมนูญหน้าเก่าต่อไปอีกหรือ?

รัฐธรรมนูญไทย 101: 2# ที่มารัฐธรรมนูญ-จากบริบทโลกถึงบริบทไทยๆ

รายการ "รัฐธรรมนูญไทย 101" กับ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ตอนสอง ที่มาของรัฐธรรมนูญจากบริบทโลกถึงบริบทไทยๆ โดยตอนที่ 1 ก่อนหน้านี้เป็นการตอบคำถามเรื่องสำคัญว่าทำไมจึงต้องเรียนรู้เรื่องรัฐ ธรรมนูญ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลง การฉีกรัฐธรรมนูญครั้งแล้วครั้งเล่า 

มีนักเลือกตั้ง ก็มีนักปฏิรูป คุยกับ ‘พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์’ ข้อถกเถียงเรื่องการ ‘ยึดโยงประชาชน’ และการ ‘ยับยั้งชั่งใจ’

พอดิบพอดีกับวาระ 9 ก่อน 10 ปี ของการครบรอบการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งเราขอใช้เป็นหมุดหมายเริ่มต้น ของข้อเรียกร้อง ‘การปฏิรูป’ ที่มีใจกลางปัญหาอยู่ที่ ‘คุณภาพ’ ของ ‘ประชาธิปไตย’ 'ประชาไท' สัมภาษณ์ 'ผศ.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์' แห่งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทบทวนการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ทบทวนการปฏิรูปในสังคมไทย ‘วาทกรรม’ หรือวาระที่จำเป็น? อะไรคือเงื่อนไขขั้นต่ำ พร้อมสรุปบทเรียน ว่าด้วยความยับยั้งชั่งใจของเสียงข้างมาก หรือความอดทนอดกลั้นของเสียงข้างน้อย

รัฐธรรมนูญไทย 101: #1 ทำไมต้องศึกษารัฐธรรมนูญ

รายการ "รัฐธรรมนูญ 101" กับ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ตอนแรก ตอบคำถามเรื่องสำคัญว่าทำไมจึงต้องเรียนรู้เรื่องรัฐธรรมนูญ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลง การฉีกรัฐธรรมนูญครั้งแล้วครั้งเล่า

ม.เที่ยงคืน แถลง 'รัฐธรรมนูญต้องอยู่ในกำมือของประชาชน'

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ออกแถลงการณ์ เรื่อง รัฐธรรมนูญต้องอยู่ในกำมือของประชาชน เรียกร้องให้ประชาชนทุกคนไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ต้องร่วมกันผลักดันให้รัฐธรรมนูญกลับมาอยู่ในกำมือของประชาชน และเพื่อร่วมกันแสดงความเห็นอย่างกว้างขวาง ก่อนที่จะตัดสินใจร่วมกันว่าจะยอมรับหรือไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญ

เสวนา “ความหวังของระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่” – โคทมชี้เป็น “รัฐธรรมนูญฉบับจับประชาธิปไตยใส่กรง”

 

วันที่ 30 สิงหาคม 2558 เวลา เว็บไซต์ prachamati.org ร่วมกับองค์กรเครือข่าย จัดงานเสวนา “ความหวังของระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่” ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างความตื่นตัวให้กับสังคมต่อประเด็นต่างๆ ในร่างรัฐธรรมนูญที่สปช.กำลังจะลงมติรับหรือไม่รับ

 

 

โคทมชี้ “หลายอย่างซ่อนอยู่ภายใต้ภูเขาน้ำแข็ง”

Pages

Subscribe to RSS - รัฐธรรมนูญ