รัฐธรรมนูญ

หน้าที่พลเมืองตามที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนด เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 2132 คน
เห็นด้วย 459ไม่เห็นด้วย 1673

ร่างรัฐธรรมนูญปัจจุบันเป็นครั้งแรกที่กำหนดเนื้อหาเกี่ยวกับ “หน้าที่” ขึ้นมาก่อน “สิทธิและเสรีภาพ” โดยบทบัญญัติ “หน้าที่พลเมือง” นี้ ทำให้เกิดทั้งเสียงสนับสนุน และคำถามโต้แย้งตามมามากมาย สำหรับเสียงสนับสนุนมองว่าเป็นการยกสถานะของประชาชนเป็นพลเมือง ทำให้พลเมืองรู้หน้าที่มากขึ้น ไม่ใช่เสรีภาพตามอำเภอใจ และจะช่วยทำให้ประชาธิปไตยเข้มแข็ง แต่ก็มีข้อโต้แย้งว่าการกำหนดหลายอย่างดูจะเป็นนามธรรม โดยเฉพาะค่านิยมที่พลเมืองต้องปฏิบัติตาม ซึ่งขัดกับความเป็นจริงที่ประชาชนมีความหลากหลายและยึดถือค่านิยมที่แตกต่างกัน

ที่มาของสมาชิกวุฒิสภาตามร่างรัฐธรรมนูญใหม่เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 2993 คน
เห็นด้วย 475ไม่เห็นด้วย 2518

รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่กำหนดให้วุฒิสภา (ส.ว.) มาจากการเลือกตั้ง ข้อดีของการที่ ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง คือให้อำนาจประชาชนในการตัดสินเลือกผู้แทนของตนเองในแต่ละพื้นที่ ไม่ผูกขาดอำนาจการเลือกไว้ให้กับคนไม่กี่กลุ่ม สำหรับที่มาของ ส.ว.ตามร่างรัฐธรรมนูญ 2558 จะมาจากคัดเลือกของกลุ่มต่างๆ เช่น ข้าราชการระดับสูง อดีตผู้บัญชาการเหล่าทัพ หรือผู้แทนองค์กรวิชาชีพ ซึ่งจะทำให้ได้ผู้แทนที่มีความหลากหลายทางวิชาชีพ และอาจจะช่วยลดข้อครหาเรื่องสภาผัวเมีย    

ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 2174 คน
เห็นด้วย 232ไม่เห็นด้วย 1942

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีการบัญญัติให้จัดตั้งองค์กรขึ้นมาหลายองค์กร และหนึ่งในนั้นคือ 'สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ' โดยแนวคิดริเริ่มขององค์กรดังกล่าวเกิดขึ้นจากสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ด้านการปฏิรูปคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล ได้เสนอให้มีการตราพระราชบัญญัติ สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ.... เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในทุกภาคส่วน อย่างไรก็ดี เนื้อสาระสำคัญเกี่ยวกับองค์กรดังกล่าวถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่จะมีการตราเป็นพระราชบัญญัติ กับ ส่วนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 3316 คน
เห็นด้วย 408ไม่เห็นด้วย 2908

นายกฯ ต้องมาจาก ส.ส.หรือไม่เป็นประเด็นถกเถียงสำคัญในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สำหรับผู้ที่เห็นด้วยว่านายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส. เห็นว่าวิกฤตการเมืองรอบหลายปีที่ผ่านมานายกฯ ที่มาจาก ส.ส.ไม่สามารถแก้ไขวิกฤตของประเทศได้การเปิดช่องให้มีนายกฯ คนกลางอาจช่วยป้องกันการรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญได้ ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วย มองว่าอาจเป็นช่องทางการแทรกแซงการเมืองของทหารโดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากประชาชน ซึ่งประเทศไทยก็ผ่านบทเรียนที่เลวร้ายจากเรื่องนี้ในเหตุการณ์พฤษภาประชาธรรม ปี 2535 

ข้อเขียนเพื่อทำความเข้าใจร่างรัฐธรรมนูญ 2558 และข้อสังเกตบางประการ

สิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ตั้งข้อสังเกตเพื่อทำความเข้าใร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 5 ประเด็น คือ 1.นายกรัฐมนตรี 2. สภาผู้แทนราษฎร 3. วุฒิสภา 4. คณะกรรมการ สภา สมัชชา ที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ และ 5. เรื่องโดยรวม

รัฐธรรมนูญใหม่ต้องผ่านการทำประชามติ เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 3135 คน
เห็นด้วย 2941ไม่เห็นด้วย 194

รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ไม่ได้กำหนดว่าหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรเสร็จจะต้องมีการทำประชามติเพื่อขอความเห็นชอบจากประชาชน อย่างไรก็ดี มีเสียงสนับสนุนให้ร่างรัฐธรรมนูญถาวรควรต้องทำประชามติ เพราะจะช่วยสร้างความชอบธรรมให้รัฐธรรมนูญเป็นที่ยอมรับ ช่วยลดความขัดแย้ง ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ขณะที่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย ให้เหตุผลว่าหากมีประชามติจะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ ไม่สามารถสะท้อนเสียงของประชาชนได้จริง และอาจทำให้การเลือกตั้งล่าช้าออกไป

Pages

Subscribe to RSS - รัฐธรรมนูญ