สรุปร่างรัฐธรรมนูญ และคำถามพ่วง เพื่อเตรียมพร้อมก่อนลงประชามติ
สรุปรวมเนื้อหาสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ ในหลากหลายประเด็น รวมทั้งคำถามพ่วง เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงประชามติ ในวันที่ 7
สรุปรวมเนื้อหาสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ ในหลากหลายประเด็น รวมทั้งคำถามพ่วง เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงประชามติ ในวันที่ 7
ilaw และผู้เกี่ยวข้องกับ พรบ. ประชามติ ยืนยันในทางเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องเลื่อนการออกเสียงประชามติ เพราะมาตรา 61 วรรคสอง บังคับใช้ไม่ได้
รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เรียนฟรี 15 ปี ครอบคลุมทั้งสายสามัญและอาชีวศึกษา ขณะที่ ร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับลงประชามติ) เรียนฟรี 12 ปี เพื่อรองรับคนจน ทำให้เยาวชนออกมาทวงสิทธิเรียนฟรี ม.ปลายทันที
เมื่อ 14 กรกฎาคม 2559 สำนักงานศาลปกครอง ได้เผยแพร่คำสั่งของศาลปกครองสูงสุด เกี่ยวกับการทำประชามติและร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. …. รวม 3 คดี โดยผลการพิจารณาขององค์คณะศาลปกครองสูงสุด คือมีมติ “ไม่รับคำฟ้อง” ทุกคดี
"จัดสรรปันส่วนผสม" โดยบัตรเลือกตั้ง ใบเดียว แทน 2 ใบ นักวิชาการมองประชาชนหมดอำนาจการมีส่วนร่วมทางการเมือง ขณะที่ มีชัย มองคะแนนประชาชนไม่เปล่าประโยชน์
7 สิงหาคม 2559 จะเป็นประชามติครั้งที่สองของประเทศไทย หลังจากที่ครั้งแรกเกิดขึ้นเมือเดือนสิงหาคม ปี 2550 การออกเสียงประชามติทั้งสองครั้งเกิดขึ้นภายใต้การควบคุมของรัฐบาลทหาร แต่บรรยากกาศการแสดงความเห็นคิดการรณรงค์ก็มีความแตกต่างกันในระดับหนึ่ง อะไรคือความเหมือนอะไรคือความต่าง
การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีการตั้งเงื่อนไขหลายข้อ เช่น การแก้ไขบททั่วไป หมวดพระมหากษัตริย์ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ อำนาจหน้าที่ของศาลหรือองค์กรอิสระจะต้องผ่านการทำประชามติก่อน ส่วนขั้นตอนในการพิจารณาวาระต่างๆ ก็ต้องใช้เสียงของสมาชิกวุฒิสภา 1 ใน 3 และความเห็นชอบจากพรรคการเมืองไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติของมีชัย ฤชุพันธ์ ยังยืนยันในรูปแบบที่คิดค้นขึ้นใหม่ คือระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม หรือ MMA โดยเชื่อมั่นว่าจะช่วยให้เสียงทุกเสียงมีความหมาย ขณะที่นักวิชาการพรรคการเมืองสะท้อนว่าจะส่งผลให้พรรคการเมืองอ่อนแอ เกิดรัฐบาลผสมที่ไร้เสถียรภาพ มีโอกาสที่จะซื้อเสียงมากขึ้น และไม่สะท้อนเจตนารมณ์ของผู้ออกเสียง ฯลฯ
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ ได้เพิ่มเติมบทเฉพาะกาล กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในวาระเริ่มแรกมี 250 คน มาจาการคัดลือกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเกือบทั้งหมด และมี ส.ว.โดยตำแหน่งที่เป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ 6 คน ด้วยเหตุว่าจะเข้ามาประคับประคองประเทศไทยในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี