ประชามติ ที่สามารถโหวตได้

นิรโทษกรรมคณะรัฐประหาร เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 801 คน
เห็นด้วย 147ไม่เห็นด้วย 654

ภายหลังการยึดอำนาจ คณะรัฐประหารจะเขียนบทบัญญัติเพื่อยกเว้นความผิดของการรัฐประหารและรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายของประกาศหรือคำสั่งของคณะรัฐประหารด้วย การรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ก็เช่นกัน โดยมีการบัญญัติไว้ในมาตรา 285 ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด ที่เพิ่งเสนอสภาปฏิรูปแห่งชาติ อย่างไรก็ตาม ผู้คัดค้านเห็นว่า การนิรโทษกรรมคณะรัฐประหารเป็นเรื่องผิดหลักการประชาธิปไตย และจะเป็นตัวอย่างให้มีผู้ทำรัฐประหารอีกในอนาคต ขณะที่ผู้สนับสนุนเห็นว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะต้องป้องกันการถูกฟ้องร้องในภายหลัง

ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 1355 คน
เห็นด้วย 226ไม่เห็นด้วย 1129

ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นประเด็นหนึ่งซึ่งเป็นที่ถกเถียงในร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน โดยเฉพาะการให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสูงสุดในการวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่ามีเนื้อหาถูกต้องหรือไม่ ฝ่ายสนับสนุนเห็นว่าการเพิ่มอำนาจให้ศาลรัฐธรรมนูญมากจะเป็นการป้องการเผด็จการรัฐสภาที่มักจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้อง ส่วนฝ่ายคัดค้านเห็นว่าอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นอำนาจโดยชอบของรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนประชาชนโดยผ่านการเลือกตั้ง ซึ่งการให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญมากจะเป็นการขัดกับหลักการแบ่งแยกอำนาจ

ที่มาของสมาชิกวุฒิสภาตามร่างรัฐธรรมนูญใหม่เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 2993 คน
เห็นด้วย 475ไม่เห็นด้วย 2518

รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่กำหนดให้วุฒิสภา (ส.ว.) มาจากการเลือกตั้ง ข้อดีของการที่ ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง คือให้อำนาจประชาชนในการตัดสินเลือกผู้แทนของตนเองในแต่ละพื้นที่ ไม่ผูกขาดอำนาจการเลือกไว้ให้กับคนไม่กี่กลุ่ม สำหรับที่มาของ ส.ว.ตามร่างรัฐธรรมนูญ 2558 จะมาจากคัดเลือกของกลุ่มต่างๆ เช่น ข้าราชการระดับสูง อดีตผู้บัญชาการเหล่าทัพ หรือผู้แทนองค์กรวิชาชีพ ซึ่งจะทำให้ได้ผู้แทนที่มีความหลากหลายทางวิชาชีพ และอาจจะช่วยลดข้อครหาเรื่องสภาผัวเมีย    

นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เห็นด้วยหรือไม่?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 3316 คน
เห็นด้วย 408ไม่เห็นด้วย 2908

นายกฯ ต้องมาจาก ส.ส.หรือไม่เป็นประเด็นถกเถียงสำคัญในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สำหรับผู้ที่เห็นด้วยว่านายกฯ ไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส. เห็นว่าวิกฤตการเมืองรอบหลายปีที่ผ่านมานายกฯ ที่มาจาก ส.ส.ไม่สามารถแก้ไขวิกฤตของประเทศได้การเปิดช่องให้มีนายกฯ คนกลางอาจช่วยป้องกันการรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญได้ ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วย มองว่าอาจเป็นช่องทางการแทรกแซงการเมืองของทหารโดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากประชาชน ซึ่งประเทศไทยก็ผ่านบทเรียนที่เลวร้ายจากเรื่องนี้ในเหตุการณ์พฤษภาประชาธรรม ปี 2535