ผู้ตรวจการแผ่นดิน

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: เมื่อที่มาองค์กรอิสระไม่เน้น "ตัวแทนประชาชน"

มีชัย ฤชุพันธุ์ เคยออกมาย้ำกับสังคมในทำนองว่า การที่องค์กรอิสระไม่ยึดโยงกับประชาชนไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ตรวจสอบจึงต้องเป็นอิสระ พิจารณาผิดถูกตามหลักฐานวิชาการ ไม่ใช่เป็นเรื่องของการลงคะแนนเอาเสียงข้างมาก แต่ใครเลยจะรู้ว่า คณะกรรมการสรรหาผู้ที่จะมาทำหน้าที่ในองค์กรอิสระแท้จริงแล้วประกอบไปด้วยข้าราชการเป็นส่วนใหญ่ไม่ใช่คนที่มีฐานะเป็นตัวแทนประชาชน

มติเอกฉันท์ “ผู้ตรวจการแผ่นดิน” ส่งศาล รธน. วินิจฉัย “พ.ร.บ.ประชามติ” มาตรา 61 วรรคสอง ขัดรัฐธรรมนูญ

ที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดิน มีมติ เอกฉันท์ให้ส่งเรื่อง พรบ. ประชามติ มาตรา 61 วรรคสอง โดยเครือข่ายนักวิชาการยื่นคำร้องนั้น ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ส่วน มาตรา 61 วรรค 4  เป็นดุลยพินิจของผู้ออกกฎหมาย ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ขอก้าวล่วง

สรุปร่าง เหตุผลของศาลรัฐธรรมนูญว่าทำไม พ.ร.บ.ประชามติฯ ถึงไม่ขัดรัฐธรรมนูญ

หลังจากที่เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ พ.ร.บ.ประชามติฯ มาตรา 61 วรรคสอง ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ จนกระทั่ง วันที่ 4 กรกฎาคม ศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ ร่างคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๔/๒๕๕๙ (อย่างไม่เป็นทางการ) ออกมา ไอลอว์ สรุป เหตุผลของศาลรัฐธรรมนูญว่าทำไม พ.ร.บ.ประชามติฯ ถึงไม่ขัดรัฐธรรมนูญ 

โฆษกศาลรธน. ยันรีบเสนอคำร้องผู้ตรวจฯ ให้ตุลาการวินิจฉัย ปมพ.ร.บ.ประชามติโดยเร็ว

6 มิ.ย.2559 จากกรณีเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. ที่ผ่านมา ผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีมติเอกฉันท์เห็นว่า มาตรา 61 วรรคสอง ของ พ.ร.บ.ประชามติมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากมีความไม่ชัดเจนและคลุมเครือ นำไปสู่ความสับสนของประชาชน ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นจนทำให้กระทบสิทธิของประชาชนที่อาจนำไปสู่ความเสียหาย จึงเห็นควรส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ทั้งนี้คาดว่าจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญได้ภายในสัปดาห์นี้ 

ความเคลื่อนไหวก่อนผู้ตรวจการแผ่นดิน มีมติเอกฉันท์ พ.ร.บ.ประชามติ ขัดรัฐธรรมนูญ

iLaw นำรายชื่อภาคประชาชน เอ็นจีโอ และนักวิชาการ จำนวน 107 รายชื่อ ยื่นต่อผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้วินิจฉัยว่ามาตรา 61 ของพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ล่าสุดที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติเอกฉันท์ พ.ร.บ.ประชามติฯ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เตรียมยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

หนังสือ เรียนประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เรื่อง ขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ประชามติ 2559 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ

รายละเอียดหนังสือร้องเรียนผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559  มาตรา 61 วรรคสองและวรรคสี่ ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนและขัดต่อรัฐธรรมนูญ

ควบรวม “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ” กับ “ผู้ตรวจการแผ่นดิน” เห็นด้วยหรือไม่ ?

คะแนนเสียงของคุณจะถูกเก็บข้อมูลแบบนิรนาม ไม่สามารถระบุผู้ลงคะแนนได้ แต่สามารถยกเลิกการลงคะแนนได้ โดยใช้ข้อมูลรหัสที่ได้รับทางอีเมล  ไม่ต้องการรับอีเมล
ลงคะแนนแล้ว 895 คน
เห็นด้วย 325ไม่เห็นด้วย 570

ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2558  ได้มีการควบรวม “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” กับ “ผู้ตรวจการแผ่นดิน” เข้าด้วยกัน เกิดเป็นองค์กรใหม่คือ “ผู้ตรวจการแผ่นดินและพิทักษ์สิทธิมนุษยชน” ซึ่งมีทั้งเสียงที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ฝ่ายที่เห็นด้วยมองว่า การควบรวมจะช่วยประหยัดงบประมาณ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ทั้งสององค์กรและช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน ขณะที่ฝ่ายไม่เห็นด้วยเชื่อว่าการควบรวมจะไม่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพราะทั้งสององค์กรมีหน้าที่และกระบวนการทำงานต่างกัน และจะทำให้ประชาชนเหลือช่องทางร้องเรียนแค่ช่องเดียว

Subscribe to RSS - ผู้ตรวจการแผ่นดิน