ร่างรัฐธรรมนูญ

บทสัมภาษณ์ ศศิน เฉลิมลาภ : บรรยากาศประชามติจากฟากเอ็นจีโอสิ่งแวดล้อม

ศศิน เฉลิมลาภ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชื่อดังที่คร่ำหวอดในวงการหลายสิบปี  ภายใต้วาทะ " ผมทำงานให้พี่สืบ"   เขาดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร นอกจากประเด็นทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ศศินโด่งดังเป็นที่รู้จักหลังเดินเท้า 300 กว่ากิโลเมตรประกาศเจตนารมณ์ต้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ในผืนป่าตะวันตก    ไม่กี่สัปดาห์ก่อนลงประชามติ 2559  เรามีโอกาสพูดคุยกับเขา ถึงบรรยากาศก่อนหยั่งเสียงลงคะแนนโหวต ตลอดจนเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติที่กลุ่มคนทำงานเคลื่อนไหวสิ่งแวดล้อมของเขาคิดเห็นอย่างไร 

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: เมื่อ "สิทธิเสรีภาพ" เขียนใหม่เป็น "หน้าที่ของรัฐ"

 “เรื่องสิทธิเสรีภาพแทนที่จะเขียนลอยๆ ว่ามีสิทธิอะไรให้ไปเรียกร้องเอาเอง คราวนี้เขียนใหม่ให้เป็นหน้าที่ของรัฐ หน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐไปทำให้สิทธินั้นเกิดขึ้น อะไรที่คิดว่าทำให้เกิดการพัฒนาในทางที่ดีขึ้นถ้าประชาชนไปใช้สิทธินั้น เราก็เขียนให้เป็นหน้าที่ของรัฐ” มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) 

เปิดโหวตออนไลน์ ประชาชน 85% ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญและ 93% ไม่รับคำถามพ่วง

เว็บไซต์ประชามติ เปิดให้ประชาชนทั่วไปในโลกออนไลน์ ลงคะแนนเสียงออนไลน์สองคำถามประชามติทางเพจเฟซบุ๊ก ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ร้อยละ 85 ไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ และร้อยละ 93 ไม่เห็นชอบคำถามพ่วง

สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: ที่มาและอำนาจของ ส.ว. แบบไม่ได้ง้อการเลือกตั้ง

ที่มา ส.ว. ในร่างรัฐธรรมนูญมีชัย แบ่งออกเป็นสองช่วงเวลา คือ หนึ่ง ช่วงระยะ 5 ปี นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ ที่ให้ ส.ว. มาจากการแต่งตั้งของ คสช. ทั้งหมด แล้วหลังจากนั้น ค่อยเปลี่ยนที่มาของ ส.ว. ใหม่ ให้มาจากการคัดเลือกกันเองของแต่ละกลุ่มอาชีพโดยไม่มีการเลือกตั้ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น อำนาจของ ส.ว. ทั้งสองช่วงก็ยังเหมือนเดิม เช่น การตรวจสอบฝ่ายบริหาร การพิจารณากฎหมาย และการแต่งตั้งบุคคลในองค์กรอิสระ เป็นต้น

รวมแหล่งข้อมูลร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับลงประชามติ)

เว็บประชามติ ชวนทุกคนมาอ่านข้อมูลเกี่ยวกับสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับลงประชามติ) เพื่อเตรียมพร้อมก่อนกำหนดอนาคตประเทศร่วมกัน ในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ โดยทางเราได้รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ ที่เป็นประเด็นหรือสาระสำคัญหลังมีร่างรัฐธรรมนูญ (ฉบับลงประชามติ) ออกมาเมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา

 

สุนี แจงเหตุไม่รับร่างฯ ชี้ การปราบโกงที่ดี ไม่ใช่เพิ่มโทษ-อำนาจให้องค์กรใด

นางสุนี ไชยรส ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ มองปัญหาใหญ่คือสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ด้อยกว่า รธน.40 และ 50 ที่ ปชช.สามารถใช้สิทธิของเขา ปกป้องตัวเขา และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐด้วยตนเอง รวมทั้งผ่านกลไกองค์กรอิสระ ศาลปกครอง รวมทั้งการเข้าชื่อเสนอ กม.โดย ปชช. เป็นร่างที่ “เพิ่มอำนาจรัฐ ลดอำนาจประชาชน"

นพ.สุภัทร โพสต์ชี้ เอกสารกกต.เข้าข่ายเป็นโฆษณาชวนเชื่อเรื่องบัตรทอง

นพ. สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา และแกนนำแพทย์ชนบทภาคใต้ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว ‘Supat Hasuwannakit’ แสดงความเห็นทางการเมืองเกี่ยวกับการลงประชามติว่า เอกสารที่กกต.เผยแพร่อาจทำให้คนเข้าใจผิด

จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์: ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ "เกินความจริง"

ประเทศไทยมีอะไร "เกินความจริง" อยู่เต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นนายกฯ ที่เสนอให้ไปขายยางพาราที่ดาวอังคาร หรือการเรียกมูลค่าความเสียหายที่เกิดจากรัฐซื้อของด้อยคุณภาพว่า ค่าซื้อความรู้ที่แพงไปหน่อย เป็นต้น ซึ่งก็น่าสนใจว่า แล้วร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยมีเรื่องเกินความจริงซุกซ่อนอยู่หรือไม่ มาคำตอบไปพร้อมกับ"จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์" เจ้าของหนังสือ "การเมือง เรื่องเซอร์เรียล" ได้ที่นี้

ถาม-ตอบ 20 ข้อสงสัย ก่อนประชามติ 7 สิงหาคม

หลังจากที่มีการถามปัญหาเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559 เข้ากันเข้ามาเยอะมาก วันนี้เพจประชามติจึงรวบรวมปัญหาที่สอบถามกันเข้ามาบ่อยๆไว้ที่โพสต์นี้เลย

 

เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์: ร่างรัฐธรรมนูญนี้แค่มีข้อเสียข้อเดียวก็ต้องไม่รับเพราะมันแก้ไม่ได้

ชื่อของเจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คงจะคุ้นหูใครหลายคนอยู่ไม่น้อย เพราะนอกจากจะเป็นนักวิชาการที่ออกมาให้ความเห็นทางวิทยาศาสตร์อยู่บ่อยครั้ง เขายังเป็นคนที่ติดตามสถานการณ์บ้านเมืองเป็นอย่างดี ยกตัวอย่าง การเรียกร้องให้ตรวจสอบการจัดซื้อเครื่องมือ "จีที200" อันฉาวโฉ่ และในวาระที่ประเทศไทยกำลังจะมีการออกเสียงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ เราจึงตัดสินใจไปคุยกับเจษฎาถึงจุดยืนและประเด็นในร่างรัฐธรรมนูญ

Pages

Subscribe to RSS - ร่างรัฐธรรมนูญ