ร่างรัฐธรรมนูญ

แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญมีชัย ง่ายซะที่ไหน

การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีการตั้งเงื่อนไขหลายข้อ เช่น การแก้ไขบททั่วไป หมวดพระมหากษัตริย์ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ อำนาจหน้าที่ของศาลหรือองค์กรอิสระจะต้องผ่านการทำประชามติก่อน ส่วนขั้นตอนในการพิจารณาวาระต่างๆ ก็ต้องใช้เสียงของสมาชิกวุฒิสภา 1 ใน 3 และความเห็นชอบจากพรรคการเมืองไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 

กรธ. ไม่เขียน "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ" แต่สั่งรัฐสนับสนุนเฉพาะพุทธเถรวาท

ร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ฉบับลงประชามติ ไม่เขียนให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ตัดเรื่องการเสริมสร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนาออก และเขียนนวัตกรรมใหม่ให้รัฐต้องส่งเสริมและเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท และเพิ่มข้อยกเว้นเสรีภาพในการนับถือศาสนาต้อง "ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ"

กรธ.ไม่ ‘ขัดใจ’ ยกให้ คสช. เลือก ส.ว. 250 คนเอง

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ ได้เพิ่มเติมบทเฉพาะกาล กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในวาระเริ่มแรกมี 250 คน มาจาการคัดลือกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเกือบทั้งหมด และมี ส.ว.โดยตำแหน่งที่เป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ 6 คน ด้วยเหตุว่าจะเข้ามาประคับประคองประเทศไทยในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี

คำถามพ่วงประชามติ ประชาชนอยากรู้ถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่านจะทำอย่างไร

หลังการเว็บไซต์ประชามติสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผ่านเฟซบุ๊กประชามติ ว่าอยากจะตั้งคำถามอะไรเพิ่มเติม ในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ปรากฏว่าคำถามที่รับคะแนนโหวตมากที่สุดคือ ถ้าร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านให้รัฐบาล คสช.ลาออกทั้งหมดหรือไม่?

เปิดร่าง พ.ร.บ.ประชามติ โพสต์ปลุกระดม ติดคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับ 2 แสน

ร่าง พ.ร.บ.ประชามติที่จะกำหนดกติกาการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีข้อน่าสนใจ เช่น การกำหนดโทษหนักถึง 10 ปีสำหรับการโพสต์ปลุกระดมหรือผิดจากข้อเท็จจริง ก่อนการทำประชามติ 7 วัน ห้ามเปิดเผยโพลที่เกี่ยวกับการออกเสียง กำหนดอายุผู้มีสิทธิออกเสียงไว้ที่ 18 ปี ส่วนแสดงความคิดเห็นหรือการรณรงค์สามารถทำได้ แต่ต้องเป็นไปตาม กกต. กำหนด

ชาวเน็ต 85% จะไปลงประชามติร่างรธน. ระบุเป็นโอกาสแสดงพลังในการตัดสินอนาคตประเทศ

เปิดผลโหวตคำถามว่า “คุณจะไปออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญของ คสช.หรือไม่?” ชาวเน็ตส่วนใหญ่จำนวน 3,828 คน หรือ 85% จะ "ไป" ใช้สิทธิออกเสียงประชามติ ขณะที่ประชาชนจำนวนอีก 656 คน หรือ 15% จะ "ไม่ไป" ออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ

ประชามติร่างรัฐธรรมนูญวัดกันที่ คะแนน "เห็นชอบ" กับ "ไม่เห็นชอบ"

ผลของการลงประชามติครั้งนี้จะวัดกันที่จำนวนคนที่ลงคะแนน "เห็นชอบ" กับ "ไม่เห็นชอบ" ว่าฝั่งไหนเยอะกว่าเท่านั้น ส่วนคนที่กาช่อง "งดออกเสียง" หรือ ทำบัตรเสีย จะไม่นับรวมด้วย แม้ว่าเมื่อรวมจำนวนเสียงที่โหวต "ไม่เห็นชอบ" "งดออกเสียง" และ "บัตรเสีย" แล้วจะได้มากกว่าจำนวนเสียงที่ "เห็นชอบ" ก็ถือว่าเป็นการลงประชามติที่ "ผ่าน" อยู่ดี

ประชาสังคมจวก ร่างรธน.ลิดรอนสิทธิ เรียกร้องเปิดพื้นที่คนเห็นต่างแสดงความเห็น

แม้ว่ากิจกรรมเวทีเสวนาสาธารณะ "รัฐธรรมนูญใหม่เอายังไงดีจ๊ะ" จะไม่ได้จัด แต่ทางเว็บไซต์ประชามติก็ย้ายสถานที่และรูปแบบงานเป็นการบันทึกเทปรายการเวทีสาธารณะ ซึ่งเนื้อหาสาระก็เป็นความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญและบรรยากาศในการร่างรัฐธรรมนูญที่ยากต่อการจะมีส่วนร่วมและทั้งหมดทั้งมวลอาจจะมีผลต่อการลงประชามติ 

ผลโหวต “รัฐธรรมนูญยังจำเป็นหรือไม่?” 89% โหวตจำเป็น แต่ต้องทำให้ศักดิ์สิทธิ์

เว็บไซต์ประชามติ (prachamati.org) เปิดให้ผู้ใช้เฟซบุ๊กโหวตว่า “รัฐธรรมนูญยังจำเป็นหรือไม่?” ผลปรากฏว่า จากผู้ร่วมโหวตทั้งหมด 3,234 คน มีคนเห็นว่ารัฐธรรมนูญยังจำเป็นอยู่ 2,881 คน หรือ คิดเป็น 89% ของผู้โหวตทั้งหมด และมีผู้ที่เห็นว่าไม่จำเป็น 353 คน หรือ 11% จากทั้งหมด

"มึน จน โฮ" ชนะเลิศประกวดตั้งชื่อเล่นร่างรัฐธรรมนูญ 2559

ตามที่เฟซบุ๊กเฟจประชามติ จัดกิจกรรมให้ผู้ใช้เฟซบุ๊กช่วยกันตั้งชื่อเล่นร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 กติกาคือให้ส่งชื่อเล่นโดยการคอมเม้นต์ใต้ภาพกิจกรรมที่เฟซบุ๊กประชามติ กิจกรรมนี้มีผู้ร่วมกว่า 145 คอมเม้นต์ ยังไม่รวมส่วนที่ถูกแชร์ต่อกันไปและคอมเม้นต์กันตามเพจอื่นๆ อีกไม่น้อยชื่อเล่นที่คอมเม้นต์เข้ามาและได้ยอดไลค์สูงสุด คือ รัฐธรรมนูญฉบับ "มึน จน โฮ" 

Pages

Subscribe to RSS - ร่างรัฐธรรมนูญ